<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

กลุ่มสุดยอดผู้นำ G7 เริ่มตื่นตัวด้านคริปโตมากขึ้น มองเหรียญ Libra ของ Facebook เป็นตัวปัญหา

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในสัปดาห์นี้ ผู้นำประเทศต่าง ๆ ของกลุ่ม G7 ได้มารวมตัวกันเพื่อประจำ โดยประเด็นที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ Cryptocurrency ของ Facebook อย่าง Libra พวกเขาตกลงที่จะตอบโต้มันด้วยนโยบายด้านคริปโตหลายอย่าง ซึ่งเป็นการวางมาตรฐานด้านกฎหมายการเงินให้สูงที่สุด

ต้องรับมือ Libra กันอย่างเร่งด่วน

การประชุมดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 และ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา มันถูกจัดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส เมือง Chantilly กลุ่ม G7 นั้นประกอบไปด้วยประเทศแคนาดา, เยอรมัน, อิตาลี, ญี่ปุ่น, อังกฤษ, สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป โดยหลังการประชุม ได้มีการตัดสินใจด้วยนโยบายตามมาทันที

อ้างอิงจากประกาศ ได้มีการพูดถึงนวัตกรรมการเงินว่า มีทั้งข้อดีและข้อเสีย:“รัฐมนตรีและผู้ว่าการต่างก็ยอมรับว่า ในขณะที่นวัตกรรมในอุตสาหกรรมการเงินนั้นสามารถสร้างผลประโยชน์ได้มากมาย แต่ในทางกลับกัน มันก็สามารถสร้างความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาเช่นกัน”

ในประกาศได้มีการเจาะจงไปที่ Libra ซึ่งเป็น Stablecoin:

“พวกเขามีความเห็นตรงกันว่า Stablecoin และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่กำลังถูกพัฒนาอยู่ รวมทั้งโปรเจกต์ระดับโลกอย่าง Libra นั้นจะสร้างความกังวลด้านกฎหมาย, นโยบาย และระบบเป็นอย่างมาก ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องได้รับตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนก่อนที่โปรเจกต์เหล่านั้นจะใช้งานจริงได้”

ต่อมา ในประกาศได้มีการพูดถึงความกังวลในด้านกฎหมายและระบบเกี่ยวกับโปรเจกต์ที่กล่าวมา:

“เกี่ยวกับความกังวลด้านกฎหมายนั้น รัฐมนตรีและผู้ว่าการ เห็นตรงกันว่า Stablecoin ที่กำลังจะถูกสร้างขึ้นนี้ และผู้ดำเนินการของมันจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานสูงสุดในด้านกฎหมายการเงิน และในส่วนของความกังวลด้านระบบนั้น รัฐมนตรีและผู้ว่าการ เห็นตรงกันว่า โปรเจกต์เช่น Libra นั้นอาจกระทบต่อส่งผลกระทบต่ออธิปไตยทางการเงินและการทำงานของระบบการเงินระหว่างประเทศได้”

ตัวแทนจากฝรั่งเศสได้กล่าวกับสำนักข่าว AFP เกี่ยวกับ Libra ว่า:“สำหรับ Libra นั้น เราได้ทำการพูดคุยกันอย่างละเอียดและสร้างสรรค์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แล้วที่พวกเขาต้องจัดการ อำนาจอธิปไตยของชาตินั้นไม่สามารถถูกทำลายได้ แต่เป็นบรรยากาศโดยรวมของประเทศต่าง ๆ ต่างหากที่เป็นเรื่องที่น่ากังวลในตอนนี้ เนื่องจากการประกาศเปิดตัวของ Libra ทำให้พวกเรามีมุมมองที่เห็นตรงกันว่า ต้องมีการรับมือมันอย่างเร่งด่วน”

ในฝั่งของ นาย Olaf Scholz รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเยอรมันก็ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับ Libra ว่า:

“การที่จะสร้างสกุลเงินขึ้นมานั้นไม่ใช่หน้าที่ของบริษัทกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เนื่องจากมันเป็นคุณสมบัติหลักของรัฐอธิปไตย แผนการของ Facebook นั้นยังไม่ได้รับการไตร่ตรองมาอย่างถี่ถ้วน ผมเชื่อว่า Libra ไม่สามารถที่จะเดินหน้าต่อได้ ถ้าเกิดคำถามด้านกฎหมายเหล่านั้นยังคงไม่ได้รับคำตอบ”

ตัวแทนของกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นในที่ประชุมก็ได้เปิดเผย ตอนนี้สมาชิก G7 คิดว่า Libra เป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวมาก:

“ในมุมมองของการปกป้องข้อมูลผู้บริโภคและผลกระทบด้านนโยบายการเงิน สมาชิก G7 ส่วนใหญ่มองว่า Libra เป็นตัวปัญหาที่น่ากลัวมาก ๆ”

ล่าสุด ทาง Facebook เองก็เผยด้วยว่า พวกเขามีแผนที่จะสร้าง Calibra ที่เป็นบริการลูกย่อยข้างในเครือข่าย Libra เพื่อที่จให้บิรการด้านการเงินกับผู้ใช้งานในเครือข่าย เช่น Wallet แบบดิจิทัลสำหรับ Libra

G7 จัดตั้งกลุ่มเพื่อจัดการ Stablecoins โดยเฉพาะ

ด้วยปัญหาเรื่อง Stablecoin ที่จะส่งผลต่อประเทศต่าง ๆ ในหลากหลายแง่นี้เอง ทำให้กลุ่ม G7 จัดตั้งกลุ่มสำหรับประเด็น Stablecoin โดยเฉพาะ ซึ่งมีผู้จัดการหลักเป็นนาย Nenoit Coeure ประธานคณะกรรมการการชำระเงินและโครงสร้างพื้นฐานทางการตลาด (CPMI)

ในเบื้องต้น กลุ่มนี้จะประกอบไปด้วยตัวแทนอาวุโสจากธนาคารกลางของกลุ่ม G7 นอกจากนี้ ยังได้มีการเผยด้วยว่า จะทำงานร่วมกกับกลุ่ม G20 เพื่อสร้างมาตรฐานที่แข็งแกร่งและรัดกุมยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีรายงานสรุปมาให้ดูกันอีกครั้งในการประชุมรายปีของ IMF-World Bank ในเดือนตุลาคมนี้

นาย Haruhiko Kuroda ผู้บริหารของธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่น เชื่อว่า Libra นั้นมีศักยภาพที่จะกระทบเศรษฐกิจระดับโลกได้เลย ทำให้กลุ่ม Stablecoin ของ G7 นั้นต้องพัฒนาตัวเองและร่วมมือกับผู้ออกกฎหมายในหลาย ๆ ประเทศกว่านี้:

“ถ้า Libra นั้นถูกสามารถใช้งานได้ทั่วทั้งโลก ประเทศต่าง ๆ จำเป็นที่จะต้องหาทางร่วมมือกัน… นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะพูดคุยกันแค่ธนาคารต่าง ๆ ในสมาชิกของ G7 เท่านั้น”

เขาได้เน้นย้ำด้วยว่า Facebook นั้นจำเป็นต้องมีสิทธิบัตรของธนาคารถ้าพวกเขาต้องการที่จะรับฝากเงิน และมีความกังวลนิดหน่อยเกี่ยวกับการที่ผู้คนจะทำธุรกรรมกันอย่างไร้ตัวตน

ประเทศญี่ปุ่นมีกลุ่มสำหรับจัดการเรื่องคริปโตในประเทศ

ในการที่จะรับมือกับเหรียญ Libra ของ Facebook นั้น ผู้ออกกฎหมายที่ญี่ปุ่นได้ทำการสร้างกลุ่มสำหรับการรับมือกับประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว ก่อนที่จะมีการประชุมของกลุ่ม G7 เพื่อที่จะหารือเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ทั้งในด้านของนโยบายการเงินและกฎหมายด้านการเงิน

กลุ่มดังกล่าวนั้นประกอบไปด้วยธนาคารกลาง, กระทรวงการคลัง และ FSA (Financial Services Agency) ของประเทศญี่ปุ่น วึ่งกลุ่มเหล่านี้เป็นผู้ที่ดูแลกฎหมายด้านการเงินและธนาคารในประเทศอยู่แล้ว นาย Taro Aso รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นได้กล่าวเกี่ยวกับกลุ่มสำหรับรับมือ Stablecoin ในประเทศของพวกเขาว่า:

“กลุ่มดังกล่าวนี้ได้เริ่มหารือแบบจริงจังเกี่ยวกับประเด็นในหลาย ๆ แง่ของ Stablecoins แล้ว และต้องการที่จะสร้างนโยบายร่วมกันเพื่อที่จะรับมือกับผลกระทบของ Libra ทั้งในด้านกฎหมาย, นโยบายการเงิน, ภาษี และการทำธุรกรรม”

นาย Aso ได้อธิบายต่อว่า ประเทศญี่ปุ่นนั้นหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากประเทศอื่น ๆ:

“ประเทศญี่ปุ่นหวังว่าจะสามารถได้รับความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ได้เพื่อที่จะขยายกลุ่มสำหรับการรับมือนี้ให้มีผู้ออกกฎหมายด้านการเงินและภาษีเข้าร่วมด้วย เนื่องจากนโยบายที่ครอบคลุมนั้นจะส่งผลกระทบต่อสกุลเงินดิจิทัลอย่างแน่นอน”

ในการประชุม G20 ของปีนี้ ญี่ปุ่นจะมองหาลู่ทางให้กลุ่ม G7 และ G20 ร่วมมือกันเพื่อที่จะรับมือกับการปรับใช้นโยบายสำหรับ Libra ให้ได้

ในงานประชุม G20 ที่ผ่านมาเมื่อเดือนก่อน G20 ได้ประกาศไปว่า:

“ในตอนนี้ สินทรัพย์คริปโตนั้นไม่ได้เป็นภัยคุกคามความมั่นคงด้านการเงินระดับโลกแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม พวกเขาจะคอยตรวจตราการพัฒนาของมันอย่างใกล้ชิด และจะคอยระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้”

หัวหน้าของ G20 ยังได้เปิดโอกาสอีกด้วยว่า ถ้าเกิด FSB และผู้ที่ดูแลมาตรฐานด้านการเงินเห็นว่ามีความจำเป็นก็สามารถใหคำแนะนำได้ และดูเหมือนว่า ตอนนี้จะมีความจำเป็นที่พวกเขาต้องร่วมมือกันแล้ว

ต่อต้านการฟอกเงิน

นอกจากความกังวลในเรื่องของนโยบายและผลกระทบต่าง ๆ แล้ว รัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นเองก็ได้จัดตั้ง ‘เครือข่ายในระดับประเทศสำหรับการทำธุรกรรมคริปโต’  คล้าย ๆ กับเครือข่าย SWIFT ของธนาคารต่าง ๆ โดยมีความตั้งใจที่จะให้ต่อต้านการฟอกเงิน

แผนดังกล่าวถูกนำเสนอโดยกระทรวงการคลัง และ FSA ภายในประเทศ ว่าเครือข่ายนี้จะสร้างเสร็จเรียบร้อยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยจะมี FATF (หน่วยปฏิบัติการทางการเงิน) ซึ่งเป็นผู้สร้างมาตรฐานที่ร่วมมือกันจากหลายรัฐบาลเพื่อต่อการกับการฟอกเงิน ทำการตรวจสอบการพัฒนาของระบบ และญี่ปุ่นเองก็จะร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งแผนนี้ก็ได้รับการอนุมัติแล้วในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั่นเอง

ต้องพัฒนากฎหมายในปัจจุบัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นได้ทำการชี้ให้กลุ่ม G7 เห็นด้วยว่า Libra นั้นเป็นความท้าทายใหม่ที่กฎหมายที่มีอยู่นั้นอาจไม่เพียงพอ:

“การใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วนั้นอาจไม่เพียงพอ มันจำเป็นต้องมีการวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อที่จะดูว่า Libra จะเป็นภัยคุกคามแบบใหม่ ซึ่งกฎหมายที่มีอยู่อาจไม่ได้ครอบคลุมก็เป็นได้ ในทางตรงกันข้าม หน่วยงานต่าง ๆ จำเป็นต้องรับมือด้วยความทันสมัย เพื่อที่จะให้ไม่ล้าหลังจนเกินไป”

Libra โดนผู้ออกกฎหมายสหรัฐฯ วิจารณ์หนัก

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นาย David Marcus CEO ของ Calibra และผู้บริหารระดับสูงของ Facebook ได้เข้าไปหารือกับคณะกรรมการการธนาคารวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกาและคณะกรรมการบริการด้านการเงินของสภา เกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของ Libra เช่น Libra จะส่งผลต่อนโยบายการเงินในระดับโลกหรือไม่ และข้อมูลของผู้ใช้งานจะถูกป้องกันอย่างไร

นาย Sherrod Brown วุฒิสมาชิกในสภา ได้กล่าวว่า พวกเขานั้นไม่ไว้วางใจ Facebook เนื่องจากประเด็นเหตุการณ์ในอดีต:

“Facebook ได้แสดงให้เห็นแล้วจากเหตุการณ์อื้อฉาวหลายเหตุการณ์ในอดีตว่า มันไม่ควรจะได้รับความเชื่อใจจากเรา… เราต้องบ้าไปแล้วแน่ ๆ ถ้าให้โอกาสพวกเขาทดลองกับบัญชีธนาคารของผู้คน”

นาย Andy Barr ก็ได้ทำการถามนาย Marcus เกี่ยวกับประเด็นของ Libra และธนาคารกลางว่า:

“ไหนลองบอกผมหน่อยว่า ทำไม Libra จะไม่ไปบ่อนทำลายสกุลเงินและธนาคารต่าง ๆ หรือไปถึงจุดที่บ่อนทำลายธนาคารกลางเลย และพยายามที่จะมีอิสรภาพเหนือธนาคารกลาง?”

ซึ่งนาย Marcus ก็ได้ตอบในประเด็นนั้นไปว่า พวกเขานั้นไม่มีความตั้งใจแต่อย่างใดที่จะมาแข่งขันหรือแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ:

“ผมอยากจะยืนยันให้ชัดเจนไปเลยว่า เราไม่มีความต้องการที่จะแข่งกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือค่าเงินสกุลเงินอื่น ๆ”

ประเด็นของ Libra นั้นดูเหมือนจะไม่ค่อยเป็นที่ชอบใจของผู้ออกกฎหมายในสหรัฐฯ เท่าไรนัก นาย Brad Sherman ได้ทำการเปรียบเทียบว่าโปรเจกต์ Libra อาจมีความร้ายแรงคล้ายกับการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ 9/11:

“เราเคยได้ยินคนบอกกันมาว่า นวัตกรรมนั้นเป็นเรื่องที่ดีเสมอ… นวัตกรรมที่ล้ำสมัยที่สุดที่เกิดขึ้นในรอบศตวรรษนี้ก็คือเมื่อ Osams bin Laden คิดไอเดียนวัตกรรมใหม่ได้ขึ้นมาว่า ให้ทำการขับเครื่องบิน 2 ลำไปชนตึก”

นาย Sherman ได้กล่าวว่า Libra นั้นอาจเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดที่เขาต้องพบในช่วงทศวรรษนี้เลย:

“ถ้าเกิด Libra เปิดตัวจริง ๆ ล่ะก็ มันอาจจะกลายเป็นหนึ่งในสิ่งใหญ่ที่สุดที่พวกเขาต้องจัดการกับมันในทศวรรษนี้เลยก็ได้”

ตัวแทนในสภาที่ประชุมในวันนั้นต่างมีความเห็นในแง่ลบเกี่ยวกับ Libra ทั้งสิ้น เช่น นาง Carolyn Maloney ได้กล่าว Facebook ควรล้มเลิกความคิดนี้:

“ดิฉันไม่คิดว่าคุณควรจะเปิดตัวโปรเจกต์นี้แม้แต่นิดเดียว”

นาย Mdeleine Dean ได้ชี้ไปว่า ให้ Facebook ทำการเก็บกวาดสิ่งที่พวกเขาทำมาในอดีตให้เรียบร้อยก่อนดีว่า:

“ผมคิดว่าก่อนที่คุณจะเริ่มโปรเจกต์ใหม่อย่าง Libra คุณควรที่จะไปจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ที่เคยก่อไว้ในอดีตก่อนนะ”

จากคอมเมนต์ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า ผู้ออกกฎหมายหรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลด้านการเงินของแต่ละประเทศล้วนไม่เห็นด้วยกับ Libra ทั้งสิ้น ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่ Facebook ต้องก้าวข้ามไปให้ได้ และนาย Marcus เองก็ได้กล่าวว่า พวกเขาจะจัดการความกังวลด้านกฎหมายนี้ให้หมดก่อน ถึงจะเปิดตัว Libra จริง ๆ:

“Facebook จะไม่เปิดตัว Libra จนกว่าพวกเขาจะจัดการความกังวลด้านกฎหมายและได้รับการอนุมัติที่เหมาะสม”

การที่ Libra นั้นจะกลายเป็นปัญหาระดับโลกก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะหากเปิดตัวจริง Libra จะเข้าถึงมือผู้ใช้งานนับพันล้านคนทั่วโลก ซึ่งแน่นอนว่า ถ้ามันไม่ได้รับการตรวจสอบแบบละเอียดถี่ถ้วนจริง ๆ เมื่อปัญหาเกิดขึ้นแล้ว มันย่อมแก้ไขยากกว่าตอนนี้แน่นอน

ที่มา: News.bitcoin

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น