<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Blockchain จะเพิ่มบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยยุคดิจิทัล กล่าวโดยสพธอ.

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือที่รู้จักกันดีในนาม ETDA ได้จัดประชุมในหัวข้อ “ Blockchain กับการพัฒนาการสู่ New Trust Economy” ที่พระรามเก้าเมื่อวานนี้ โดยถือเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการ Blockchain และ cryptocurrency ในประเทศไทยที่มีหน่วยงานระดับองค์การมหาชนเริ่มมองเห็นความสำคัญและศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าวนี้

โดยเฉพาะ EDTA ที่ต่างคนต่างก็เคยใจจดใจจ่อว่าจะมีการนำเอาเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาศึกษาเมื่อไร เนื่องจากองค์การดังกล่าวนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเลคทรอนิคส์ในประเทศไทย ดังนั้นหากพวกเขาพลาดเทคโนโลยีนี้ไปมันก็คงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย

โดยอ้างอิงจากอีเมล์ประกาศข่าวที่ทาง ETDA ส่งมาให้สยามบล็อกเชนนั้น การประชุมดังกล่าวถูกจัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจถึงศักยภาพของเทคโนโลยี Blockchain ว่ามันสามารถนำไปใช้ต่อยอดอะไรได้บ้าง รวมถึงการมีตัวตนของเหรียญ cryptocurrency ที่เริ่มเป็นที่นิยมในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ

นำโดยคุณสุรางคณา วายุภาพ หรือผู้อำนวยการของ ETDA ผู้ที่เชื่อว่าเทคโนโลยี Blockchain นั้นจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจ ประชาพิจารณ์ หรือการเก็บข้อมูล และแชร์ข้อมูลของหน่วยงานรัฐบาล เช่น ข้อมูลโฉนดที่ดินของกรมที่ดิน ทะเบียนการค้าของผู้ประกอบการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น

“เทคโนโลยี Blockchain นำมาสู่การปฏิวัติในหลายวงการ ที่พูดถึงกันมากที่สุดก็คือ การเกิดสกุลเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency ที่สามารถใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าเหมือนกับเป็นเงินจริง ๆ อย่าง Bitcoin ซึ่งด้วยความที่เป็นเทคโนโลยีที่ Decentralized จึงไม่มีคนกลางหรือหน่วยงานที่คอยอนุมัติธุรกรรมที่เกิดขึ้น การทำธุรกรรมระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายจึงเกิดขึ้นโดยตรง รวดเร็ว ไม่มีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ทั้งยังโปร่งใส เพราะข้อมูลถูกแชร์ออกไป ทุกคนจึงสามารถตรวจสอบได้ Blockchain ยังเป็นระบบที่ปลอดภัยที่สุดในโลกปัจจุบัน แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีวัน ถูกแฮกอีกด้วย”

กล่าวโดยคุณสุรางคณา

Milesone ใหม่ของเทคโนโลยี Blockchain ในประเทศไทย

ที่น่าสนใจคือ เธอได้อ้างอิงถึงหน่วยงานรัฐบาลในประเทศไทยในปัจจุบันอย่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ที่กำลังพัฒนาระบบ Blockchain ของตัวเองเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของกระบวนการเบิกจ่ายประกันสุขภาพจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ และช่วยทำให้โรงพยาบาลได้รับเงินคืนจาก สปสช. ได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ของวงการ Blockchain ในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าหากนำมาใช้จริงแล้วประสบความสำเร็จนั้น ก็จะมีอีกหลายๆหน่วยงานเริ่มตามมาแน่นอน แต่กระนั้น เธอไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดมากนักว่าเทคโนโลยี Blockchain ที่สองหน่วยงานดังกล่าวกำลังพัฒนานั้นเป็นแบบ public หรือ private

ภายหลังคุณสุรางคณาได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยแนวคิดที่เป็นบวก ถึงการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ในหน่วยงานต่างๆของประเทศไทย โดยจะสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เดินหน้าเร็วขึ้นกว่าเดิมและจะช่วยผลักดันให้ทางรัฐบาลและธนาคารกลางออกกฎหมายมารองรับการใช้เหรียญ cryptocurrency อย่าง Bitcoin และเหรียญอื่นๆอีกด้วยอีกด้วย

“Blockchain จะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นหากมีการนำมาใช้ทำเป็นเครือข่ายข้ามองค์กร ไม่ว่าจะเป็นระหว่างภาครัฐ หรือระหว่างองค์กรเอกชน เช่น กลุ่มธนาคาร หรือแม้แต่ระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน ซึ่ง Blockchain จะผลักดันให้รัฐบาลเร่งศึกษาและออกข้อบังคับที่ชัดเจน เพื่อกำกับและสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน ทั้งยังกระตุ้นให้เกิดนักพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ ๆ เกิดบริการใหม่ ๆ ขึ้นในสังคม และในที่สุดจะเปลี่ยนวิถีใช้ชีวิตและการทำงานของคนไทยอีกด้วย”

กล่าวโดยคุณสุรางคณา

หากจะว่าไปแล้วอัตราการปรับใช้เทคโนโลยี Blockchain ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยนั้นเริ่มมีสูงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยก่อนหน้านี้มีธนาคารไทยพาณิชย์ที่เริ่มนำเอาเทคโนโลยี Blockchain ของ Ripple มาช่วยอำนวยความสะดวกทางด้านการโอนเงินระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประกาศเปิดทดสอบเทคโนโลยี Blockchain บน Regulartory Sandbox อีกด้วย

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น