<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สตาร์ทอัพด้านฟินเทคสัญชาติไอร์แลนด์เปิดตัวสายรัดข้อมือไฮเทคใช้จ่ายเหรียญ Dash ได้

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

บริษัท Bitcard หรือผู้ให้บริการทางด้านระบบ gift card เปิดตัวสายรัดข้อมือ wristband ที่สนับสนุนการจ่ายเงินได้ด้วยเหรียญ Dash ผ่าน NFC และ QR code โดยมันมีชื่อว่า Festy ซึ่งผู้ใช้งานสามารถที่จะใส่ไปใช้จ่ายสินค้าที่ไหนก็ได้ โดยพวกเขาเคลมว่าผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องพกกระเป๋าสตางค์, บัตรเครดิต หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ก็สามารถที่จะจ่ายด้วยเหรียญ Dash ได้

Festy นั้นจะทำการเชื่อมต่อผู้ใช้งานเข้ากับแอคเคาท์ของเหรียญ Dash ซึ่งนั่นหมายความว่าเหรียญของผู้ใช้งานนั้นจะไม่ถูกเก็บอยู่บนระบบของ Festy โดยความเร็วของการทำธุรกรรมนั้นจะคิดเป็นระดับวินาที ที่สำคัญ เจ้าของร้านค้ายังสามารถที่จะเลือกรับเป็นเหรียญ Dash ได้ หรือแปลงเป็นเงินสดเข้าบัญชีธนาคารก็ได้เช่นกัน เหรียญ Dash หรือเหรียญอันดับ 6 ของโลกในตอนนี้มีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์ และเคลมว่าเป็นผู้นำทางด้านการใช้จ่ายแบบดิจิตอลที่ไฮเทคที่สุด

ข้อได้เปรียบของเหรียญ Dash

เทคโนโลยี InstantSend ของ Dash นั้นสามารถทำให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะส่งเหรียญดังกล่าวหากันได้แบบทันทีไม่ต้องรอ โดยในการอัพเดตตัวต่อไปของ Dash พวกเขาเคลมว่าจะสามารถรองรับธุรกรรมได้ราวๆ 500,000 ธุรกรรมโดยมีค่าธรรมเนียมเพียงแค่ 10 เซนต์ (ประมาณสามบาท) ต่อธุรกรรม

ด้วยการที่ไม่มี private key หรือหมายเลขบัตรเครดิตแสดงตอนทำธุรกรรม Festy นั้นช่วยให้ผู้ใช้งานมั่นใจถึงความเป็นส่วนตัว อีกทั้งผู้ใช้งานยังสามารถเติมเงินเข้าไปใน wristband ผ่านทางตู้ ATM ที่เข้าร่วมรายการ และทำการส่งเงินออนไลน์

Festy นั้นยังรองรับการทำงานของระบบ Visa Contactless หรือระบบจ่ายเงินของ Visa แบบไร้สายผ่าน NFC อีกด้วย

ค่าธรรมเนียมที่ถูกลง

“การเป็นหุ้นส่วนกับ Dash ทำให้เราสร้างระบบการจ่ายเงินในทุกวันนี้เป็นไปด้วยความสมบูรณ์แบบมากขึ้น” กล่าวโดย CEO ของ Bitcart นามว่า Graham de Barra “ไม่เหมือนกับค่าธรรมเนียมของธนาคารในปัจจุบันที่กินผู้ใช้งานไปราวๆ 2%-5% แต่การใช้ Dash นั้นมันแทบจะไม่มีค่าธรรมเนยีมเลย ผู้ประกอบการร้านที่รับเหรียญ Dash จะไม่มีการถูก chargeback (การคืนเงินสู่ผู้ซื้อหลังใช้งาน ซึ่งพบบ่อยในบัตรเครดิต) และมันก็ยังมีโอกาสดีๆในการประหยัดเงินอีกมาก หากเปรียบกับระบบจ่ายเงินที่โหดเหี้ยมในปัจจุบัน เราเชื่อว่านี่คือระบบจ่ายเงินแห่งอนาคต”

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น