<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ทำไม IBM ถึงจับมือกับ Stellar Lumens ผู้สร้างเหรียญที่ปัจจุบันอยู่อันดับ 16 ของโลก

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

โลกของการเงินของ Crypto นั้นเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ปฎิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตจนถึงปัจจุบันนั้นถูกผลักดันด้วยการเก็งกำไรในเหรียญต่างๆ แต่ก็ไม่ใช่ทุกเหรียญจะเป็นแบบนั้น เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมาทาง Stellar Lumens หรือผู้สร้างเหรียญ XLM ที่ปัจจุบันกระโดดขึ้นมาอยู่อันดับที่ 16 ของโลกอ้างอิงจาก Coinmarketcap ได้ประกาศความร่วมมือกับ IBM และ Kickex เพื่อพัฒนาการชำระเงินข้ามพรมแดน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดค่าธรรมเนียมและเพิ่มความเร็วในการชำระเงิน

เป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่าทำไมบริษัทของ IBM ถึงสนใจ Stellar Lumens เพื่อที่จะเข้าใจได้มากขึ้น ต้องย้อนไปดูประวัติ Stellar Lumens กันก่อน

ประวัติผู้ก่อตั้ง

ก่อนที่จะพูดถึงประวัติบริษัทนั้น เรามาดูประวัติ Jed McCaleb ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทกันก่อน Jed McCaleb นั้นนับว่าเป็นนักสู้ผู้ไม่ยอมแพ้เพราะเค้าเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทชื่อดังมากมายดังนี้

  1. ปี 2544 ก่อตั้งบริษัท eDonkey2000
  2. ปี 2553 ก่อตั้งบริษัท Mt.GOX
  3. ปี 2555 ก่อตั้งบริษัท Ripple

จะเห็นว่าแต่ละบริษัทนั้นไม่ธรรมดา โดยจุดสำคัญของการเกิด Steller นั้นอยู่ที่ Ripple ซึ่งมีการดำเนินธุรกิจโดยมี Chris Larsen เป็นผู้ก่อตั้งอีกคนที่ออกหน้าติดต่อธุรกิจ โดย Jed McCaleb จะคอยอยู่เบื้องหลัง ในปี 2556 Ripple พยายามจะตกลงธุรกิจมูลค่า 13 ล้านเหรียฐดอลล่าร์สหรัฐ แต่ทว่าการตกลงรอบนั้นไม่สำเร็จ Jed McCaleb พยายามกดดัน Chris Larsen ให้ลาออก แต่ว่าคณะกรรมการของบริษัทกลับสนับสนุน Chris Larsen แล้วขับไล่ Jed McCaleb ออกไปแทน

ถ้าใครเคยอ่านประวัติ Steve Jobs ก็จะนึกถึงเหตุการณ์เดียวกันในทันที แน่นอนความคล้ายคลึงของเหตุการณ์ของ Jed McCeleb เหมือนกัน Steve Jobs มาก เพราะเค้าออกไปตั้งบริษัท Stellar เพื่อกลับมาต่อสู้กับ Ripple โดยมีไม้ตายคือ

  1. ใช้พื้นฐาน source code ของ Ripple มาพัฒนาต่อ
  2. มีโอกาสอย่างมากที่บริษัท Stripe จะเข้ามาลงทุน

ประวัติ Stellar Lumen

ในปี 2557 Stellar network ก็ได้ออกมาสู่ตลาด ด้วยความร่วมมือของ 2 ผุ้ก่อตั้งคือ Jed McCaleb และ Joyce Kim โดยมีเป้าหมายที่จะเป็น platform ที่เชื่อมต่อธนาคาร ระบบชำระเงินและผู้คนเข้าด้วยกัน โดยเน้นไปที่การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็วและค่าธรรมเนียมที่ต่ำสุดๆ อีกทั้งบริษัทก็ได้บรรลุความร่วมมือกับบริษัท Stripe โดยเข้ามาลงทุนด้วยจำนวนเงิน 3 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ โดยแลกกับเหรียญ Lumen จำนวน 2,000 ล้านเหรียญ ซึ่งทำให้มูลค่าบริษัท Stellar มีมูลค่าถึง 150 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐในทันที

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

บริการของ Stellar Lumen

  • การส่งเงิน (Remittances) สามารถส่งเงินข้ามพรมแดนอย่างรวดเร็วประมาณ 2 – 5 วินาที โดยเสียค่าธรรมเนียมที่ต่ำมาก รองรับการแปลงสกุลเงินระหว่างผู้ส่งกับผู้รับแบบอัตโนมัติ เช่น ผู้ส่งๆ เงินบาท แต่ผู้รับต้องการรับเงินเยน ระบบก็สามารถแลกให้ได้เลย โดยจะหาอัตราแลกเปลี่ยนที่ต่ำที่สุดให้อัตโนมัติ
  • การชำระเงินจำนวนน้อยๆ (Micropayments) รองรับการชำระเงินจำนวนน้อยๆ ได้เพราะมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำเพียง $0.01 เหรียฐดอลล่าร์สหรัฐ
  • การทำธุรกรรมบนมือถือ (Mobile Money) สามารถส่งเงินไปให้กับผู้ใช้บริการมือถือคนอื่นได้ๆ

Stellar ออกเหรียญมาจำนวน 100,000 ล้านเหรียญ โดยมีสัดส่วนในการกระจายเหรียญดังนี้

  • 50% ให้กับบุคคลทั่วไป
  • 25% ให้กับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
  • 20% ให้กับใครก็ตามที่ครอบครอง Bitcoin (เหมือน airdrop แจกไปแล้วเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2560)
  • 5% ใช้สำหรับเป็นค่าดำเนินการสำหรับ Stellar.org

ภายหลังมีการปรับปรุงระบบเครือข่ายและมีการเปลี่ยนชื่อเหรียญจาก Stellar ไปเป็น Lumen เพื่อให้ไม่เกิดการสับสนกับชื่อของเครือข่าย อีกทั้งได้เปิดตัว Stellar.org เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเครือข่าย Stellar

มาถึงตรงนี้ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ถ้า Stellar ถอดแบบมาจาก Ripple แล้วอะไรที่ต่างกันบ้าง

Stellar Lumens นั้นประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ นั่นก็คือ

  1. เหรียญ XLM ที่ใช้ในการชำระค่าธรรมเนียม
  2. ระบบเครือข่าย Stellar แบบ Blockchain ที่ทำงานได้รวมเร็วเหมือน Ripple โดยมีควมต้องการขึ้นต่ำดังนี้
    • ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำแค่ 0.00001 lumens ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำยังทำหน้าที่เป็นกลไกในการป้องกันการโจมตีระบบอีกด้วย
    • ยอดขั้นต่ำ 20 lumens ใน Wallet

โดยในขณะที่กำลังรายงานข่าวอยู่นี้ ราคาของเหรียญ Stellar (XLM) อยู่ที่ 0.038915 ดอลลาร์ ซึ่งขึ้นมาอย่างรุนแรงหลังจากการประกาศร่วมมือกันเมื่อวานนี้ และมีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 645 ล้านดอลลาร์

จากความสามารถต่างๆ ของ Stellar จะเห็นว่า IBM สามารถนำเอาระบบของ Stellar ไปทำงานร่วมกับกลุ่มลูกค้าองค์องต่าง เช่น ธนาคารหรือผู้ให้บริการมือถือ เพื่อให้บริการการโอนเงินระหว่างลูกค้าขององค์กรต่างๆ ได้ทันที โดยที่ลูกค้าเหล่านั้นจะไม่รู้ว่า เบื้องหลังการโอนเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้นทำงานผ่าน Blockchain ที่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินให้อัตโนมัติอีกด้วย

ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คิดว่าเหรียญ XLM ออกแบบมาให้มีการเปลี่ยนแปลงราคาแบบไม่รวดเร็วนัก เพราะผู้ถือเหรียญแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการถือเหรียญไว้ แต่การที่ราคาเหรียญมีเสถียรภาพจะเหมาะกับนำเอาใช้ในการอ้างอิงราคาเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนมากกว่าตามที่ลูกค้าองค์กรชอบใช้นั่นเอง ใครที่คิดจะเก็งกำไรเหรียญ XLM ก็พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนนะครับ ทั้งนี้อาจจะมีบางมุมที่ผมกล่าวไม่ครอบคลุมก็แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ครับ

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น