<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

(T) เก็บภาษีเงินดิจิตอล 15% ส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่ออนาคตของประเทศไทยหรือไม่?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวที่ถูกเขียนขึ้นโดยนักเขียนกิตติมศักดิ์คุณ “ต้น” สกลกรย์ สระกวี อดีต CEO ของบริษัทด้านเกม Gareana และผู้ก่อตั้งกลุ่มชุมชนด้านคริปโตที่ใหญ่ที่สุดในไทย Bitcoin Thai Club โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

พึ่งจะมีเวลาว่าง เลยอยากจะขอพูดเรื่องภาษีกันซักหน่อย

สรุปง่ายๆ จาก พ.ร.ก กำกับดูแลทรัพย์สินดิจิตอล คือ

  1. บุคคลธรรมดาต้องเสียภาษี หัก ณ ที่จ่าย จากกำไร (Capital Gain) 15% ไม่โดน VAT รายได้ทั้งหมดของปี ต้องไปรวมคิดภาษีตอนปลายปี
  2. นิติบุคคล ต้องเสีย VAT7% แต่เคลมคืนได้แบบภาษีซื้อขาย พวกค่าใช้จ่ายต่างๆ

เมื่อฟังแล้ว หลายๆ คนอาจจะเริ่มกังวล และ เริ่มบ่นกันว่า มันแพงเก็บตั้ง 15% แต่อย่างที่เรารู้กันครับ ทุกคนมีหน้าที่จ่ายภาษี เมื่อก่อนอาจจะโดนแค่บางคนเพราะว่าสรรพากร มีบุคลากรไม่เพียงพอในการตรวจสอบทุกคน แต่พอมี พ.ร.ก นี้ขึ้นมาก็ทำให้สามารถเก็บภาษีได้ทันทีจากตัว Exchange (มาเร้วเร็วเรื่องพวกนี้)

เมื่อเรามีรายได้เราก็ต้องเสียภาษี โดยผมเองก็เคยผลักดันเรื่องภาษี Capital Gain ไปกับ สรรพากร เพราะถ้าหากสรรพากรไม่ได้มีการส่งเรื่อง พ.ร.ก ตัวนี้ เงินรายได้ที่เข้ามาทั้งหมดของคุณไม่ว่าคุณจะกำไรหรือขาดทุน คุณจะเสียภาษีเงินได้ทั้งหมดทันที !!!

ปัญหาที่ผมจะมาวิเคราะห์วันนี้คือ แล้ว สรรพากรจะรู้ว่าเรามีกำไรได้ยังไง ? เพราะมันมีตั้งหลายเหรียญแล้ว สรรพากรจะเอาอะไรมาวัด

จากประสบการณ์ที่ผมคุยกับสรรพากรกลาง เค้าเน้นดูที่แต่เงิน FIAT หรือเงินบาทเท่านั้นครับ ดังนั้น ให้วิเคราะห์ง่ายๆ เลยก็คือ

คุณฝากเงินไปเท่าไหร่ – คุณถอนเงิน = กำไร

ให้ EXCHANGE หัก 15% ไว้ส่งให้กับสรรพากร แต่ถ้า

คุณถอนเงินน้อยกว่า เงินฝาก = ขาดทุน ไม่ต้องหัก

เช่นเดียวกันหากคุณมีแต่ถอน ไม่มีฝาก ถือเสียว่าก้อนนั้นคือ กำไรทั้งก้อน!!! ต้องโดนหักเต็ม 15% (ใครที่คิดต่างจากนี้รบกวน comment ด้วยนะคับ)

ซึ่งหากคุณซื้อบิทคอยน์นอกตลาด แล้วไปถอนที่ Exchange คุณอาจจะต้องไปยื่นเรื่อง ยื่นหลักฐานขอคืนสิ้นปีหรือเปล่ายังไงผมไม่ทราบได้ว่าสรรพากรจะยอมหรือไม่

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว สังคม Crypto ของไทยเราจะเกิดอะไรขึ้น ?? แล้วปัญหาที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ?

  1. คนจะหาทาง Cash-out นอกตลาดมากขึ้น และเป็นช่องทางของเหล่ามิจฉาชีพที่จะเข้ามาทำให้เกิดปัญหาเช่น
    • ฟอกเงิน เหล่ามิจฉาชีพที่อยากจะฟอกเงินก็ยิ้มสิครับ ไม่ต้องไปสมัคร exchange ให้ ปปง สงสัย (exchange จะต้องรายงานให้ปปง. สำหรับธุรกรรมที่น่าสงสัย เช่นฝาก หรือถอนเยอะๆ) เมื่อมีคนออกมาขายนอกตลาดมากขึ้น ก็จะทำให้ตามปัญหานี้ยากขึ้น และอาจจะทำให้ผู้ซื้อขาย ที่ทำธุรกรรมกับคนที่ฟอกเงิน มีปัญหาตามมาอีก
    • หลอกโอนเงินซื้อสินค้า เช่น หลอกขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต แล้วให้คนที่โดนหลอกขายโอนเงินให้กับผู้ที่ขาย bitcoin แล้วก็ ไม่ให้สินค้า ชิ่งหนีไปพร้อม Bitcoin ส่วนผู้ขาย Bitcoin ก็ซวย Bitcoin ก็ขายไปแล้ว แต่โดนแจ้งตำรวจจับอีก เพราะมีชื่อเราเป็นผู้รับโอนเงิน
  2. ผลักดันให้คนไทยใจ Crypto เป็นสังคมไร้เงินสดไวขึ้น ??? เพราะใช้บัตรพวก tenx , ePayment น่าจะดีกว่าเสีย 15% และ ไม่ต้อง Declare tax สิ้นปี
  3. คนไทยหลายๆ คนที่ได้เงินจาก Crypto หลายล้าน อาจจะไปเปิดบัญชีที่ต่างประเทศ หลังจากนั้น 1 ปี พอข้ามปีภาษีแล้วค่อยเอาเงินเข้ามา แบบนี้ไม่ต้องเสียภาษี
  4. คนที่ได้กำไรเยอะๆ จากปีที่แล้ว และยังไม่ได้ Cash out เลย อาจจะโดนภาษีเต็มๆ เพราะ มีแต่ยอดถอนอย่างเดียว
  5. สายขุด อาจจะมีปัญหาเพราะไม่สามารถแสดงรายจ่าย และหักลดต้นทุนได้ แต่โดน หัก 15% ทันที ต้องไปยื่นแสดงต้นทุนเพื่อขอคืนตอนปลายปี

สุดท้ายแล้ว คงเป็นคำถามไปถึงภาครัฐว่าอยากจะควบคุมเงิน Digital มากน้อยแค่ไหน สิ่งที่รัฐกำลังจะทำเป็นสิ่งที่ดี และง่ายต่อการจัดเก็บเงินรายได้ แต่อาจจะเป็นการผลักให้คนออกนอกระบบ จนเกิดปัญหาในอนาคตหรือไม่?

ภาพจาก Shutterstock

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น