ในวันที่ 18 เมษายนเวลาบ่าย 14 นาฬิกา ทางคณะกรรมการสมาคมไทยบล็อกเชนได้เข้าพบ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง รวมถึงคณะทำงานจากกระทรวงการคลังและผู้บริหารจากกรมสรรพากร ที่ตึกสำนักปลัดกระทรวงการคลังเพื่อเสนอแนวทางเกี่ยวกับนโยบายทิศทางของ Blockchain และ Cryptocurrency ในประเทศไทยรวมถึงประเด็นเรื่องภาษีอากรที่นักลงทุนกำลังกังวล
โดยคณะกรรมการที่เข้าพบมีรายชื่อดังนี้
- ดร.ประเวทย์ ตันติสัจจธรรม
- คุณพิริยะ สัมพันธารักษ์
- คุณภัชภูมิ วิตติยากร วรรณพฤกษ์
- คุณพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว
- คุณศิวนัส ยามดี
- คุณณัฐพล พรชัยประติมา
- คุณกษมพัทธ์ วิธานวัฒนา
- คุณณัฏฐพล อัศวชมพูนุช
- คุณรัฐโรจน์ พณิชย์จุติ
- คุณอฐิฏชนก บุญบุตร
โดยรายละเอียดการเข้าพบครั้งนี้คือการนำเสนอทางออกในเรื่องภาษีไม่ว่าจะภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้ และประเด็นอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยน Face to Face KYC เป็น E-KYC โดยทางสมาคมมีความกังวลว่าปัจจุบัน ตลาดธุรกิจที่เกี่ยวกับ Blockchain ไม่ว่าจะ Cryptocurrency หรือ ICO นั้นยังอยู่ในสภาพที่ยังเติบโตได้อีกมาก หากมีการออกกฎระเบียบหรือภาษีที่ไม่เอื้ออำนวยแก่ภาคธุรกิจจะทำให้เม็ดเงินที่จะไหลเข้าสู่ภาคธุรกิจในด้านต่างๆรวมถึงการจ้างงานที่จะก่อให้เกิดรายได้แก่ประเทศนั้นไหลออกจากประเทศไทยไปอย่างน่าเสียดาย
ทั้งนี้ทางสมาคมจึงได้เสนอว่าหากทางภาครัฐได้หันมาสนับสนุนภาคธุรกิจอย่างเต็มที่ก็จะทำให้เกิด Ecosystem ที่เอื้ออำนวยแก่การลงทุน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยได้มีโอกาสเป็น Hub ของ ICO และ Blockchain รวมถึงก่อเกิดเม็ดเงินลงทุนมหาศาลที่จะมาลงทุนด้าน Blockchain และไหลลงสู่ภาคธุรกิจที่จะทำให้เกิดการจ้างงานและอาชีพในประเทศ เหมือนที่เคยเกิดกับสิงคโปร์ที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่ปัจจุบันติด Top 3 ของประเทศที่เป็นฐานในการระดมทุน ICO
แถลงการณ์ฉบับเต็มมีรายละเอียดดังนี้
ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน
จากแถลงการณ์ของสมาคมนั้นสิ่งที่น่าห่วงตอนนี้ไม่ใช่อัตราภาษีแล้ว แต่สิ่งที่น่าห่วงคือการเก็บภาษี เพราะหากมันไม่เหมาะกับเทคโนโลยีมันจะเป็นการหยุดยังเทคโนโลยี ประเด็นหลักตอนนี้อยู่ที่ เรื่องภาษีในการเทรดคริปโตต่อคริปโต เพราะมันไม่มีราคากลางเหมือน Forex เช่นหากเราซื้อ Ethereum ด้วย Bitcoin แล้วเสีย 15% จะกลายเป็นว่าเราต้องขาย Bitcoin ภาษีซึ่งเป็นไปได้ยากมากในทางปฎิบัติและจะทำให้นักเทรดหนีไปเทรดนอกประเทศหมด ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่น่าห่วงว่าทางหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องนั้นจะออกกฎระเบียบมาในรูปแบบใด
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น