เวอร์ชั่นใหม่ของโค้ดสำหรับ Casper (เป็นสิ่งที่จะมาเปลี่ยนวิธีการหาข้อสรุปในเครือข่าย Ethereum)ได้ถูกเผยแพร่เป็นที่เรียบร้อยสำหรับผู้ตรวจสอบและนักพัฒนาต่าง ๆ
วันอังคารที่ผ่านมา นาย Danny Ryan นักพัฒนาผู้อยู่เบื้องหลัง Casper FFG ได้โพสต์เผยแพร่โค้ดเวอร์ชั่นแรก หรือ 0.1.0 ลงที่ Github โดย “เวอร์ชั่น 0.1.0 จะช่วยให้ผู้ใช้และผู้ตรวจสอบภายนอกสามารถติดตามสัญญาและการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายยิ่งขึ้น”
นาย Ryan อธิบายเพิ่มเติมในโพสต์ Reddit ว่า :
“ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานสัญญามากกว่าทีมวิจัย เช่น ผู้ตรวจสอบ (Auditors), นักพัฒนา และอื่น ๆ อีกมาก เราเลยอยากที่จะเริ่มเผยแพร่การกำหนดเวอร์ชั่นและ Changelogs ที่ชัดเจนขึ้นเพื่อหวังว่าทุก ๆ คนจะมีความเข้าใจแบบเดียวกับเรา”
นาย Vitalik Buterin ผู้สร้าง Ethereum กล่าวถึง การอัพเดทของ Casper ที่งานประชุมในโทรอนโทในอาทิตย์ที่ผ่านมา “หวังว่ามันจะเป็นประสบการณ์ที่ดีของ Ethereum”
เมื่อ Casper ถูกใช้งานจริง ๆ Casper FFG จะปรับโปรแกรมของ Ethereum ให้อัพเดท Blockchain ของมันเพื่อให้เกิดการรวมกันของระบบ Proof-of-work (ใช้การขุดเป็นการยืนยันธุรกรรม) และ Proof-of-stake (การถือเหรียญไว้เฉย ๆ ก็สามารถทำการยืนยันธุรกรรมได้)
ในช่วงแรก Casper จะยังคงมีระบบ Proof-of-work เดิมอยู่เพื่อช่วยในการยืนยันธุรกรรมส่วนใหญ่ในเครือข่าย และใช้ระบบ Proof-of-stake เข้ามาช่วยเป็นครั้งคราว เนื่องจากในปัจจุบัน ต้องมีขั้นต่ำ 1,500 ETH หรือประมาณ 1.1 ล้านดอลลาร์ ในการสร้าง Nodes เพื่อยืนยันธุรกรรม
แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น เมื่อเครือข่าย Ethereum ย้ายไปใช้ระบบ Proof-of-stake แบบเต็มตัว มันจะลดจำนวนขั้นต่ำ ETH ในการสร้าง Nodes ลง และ Ethereum จะไม่สามารถถุกขุดได้อีกต่อไป และก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการย้ายดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นในช่วงไหน
ในตอนนี้ ขั้นแรกของ Casper คือการถูกตรวจสอบ และจะยังไม่นำไปใช้จริงจนกว่าจะมีโค้ดสำหรับ Client ของ Ethereum (โปรแกรมสำหรับรัน Protocol ของ Cryptocurrencies) จะถูกเขียนเพิ่มลงไปมากกว่านี้ และในปัจจุบัน Casper จะยังไม่สามารถนำไปใช้งานกับเวอร์ชั่นในปัจจุบันของเครือข่าย Ethereum ได้ เครือข่ายจำเป็นต้องทำการ Hard Fork
นาย Ryan กล่าวในงาน Meeting ของผู้พัฒนาในเดือนที่ผ่านมาว่า :
“จิ๊กซอว์ในภาพกำลังค่อย ๆ ถูกประกอบ ตอนนี้มันกำลังจะเสร็จแล้ว ผมจะบอกไว้เลยว่าตอนนี้ เป็นเวลาที่ควรพูดถึงประเด็นว่าจะ Fork ที่ Block ที่เท่าไรดี”
ที่มาภาพ Trustnodes
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น