ปัจจุบันมี Cryptocurrency ในตลาดมากกว่า 1,560 สกุล ให้ลงทุนเลือกเพิ่มเข้ามาใน Portfolio ของตน มีคำพูด หรือคำแนะนำจากที่ต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตว่า ให้กระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง แต่ว่าจริง ๆ แล้วการกระจายความเสี่ยงนั้น เป็นสิ่งที่ถูกหรือไม่? งานวิจัยของนาย Harry Markowitz อาจจะให้คำตอบกับคุณได้
นาย Harry Markowitz เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เคยได้รับรางวัลโนเบล และเป็นผู้แต่งหนังสือคลาสสิคนาม Porfolio Selection ในปี 1952 ซึ่งเป็นผู้คิดค้นทฤษฎี Modern Portfolio Theory หรือ MPT ที่เน้นย้ำว่าการกระจายความเสี่ยงนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยระบุว่า หากเราสามารถกระจายความเสี่ยงได้มากพอ ความเสี่ยงจะไม่ส่งผลอะไรกับคุณเลย และผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่า นักลงทุนสามารถสร้าง Portfolio ที่สมบูรณ์แบบได้
งานวิจัยจาก Bocconi Students Investment Club ที่มหาวิทยาลัย Bocconi University ที่ Milan ประเทศอิตาลี ยังเผยด้วยว่า หากนำทฤษฎีของ MPT มาใช้กับ Portfolio ของคริปโตแล้วจะมีประสิทธิภาพมากกว่า Portfolio อื่น ๆ เนื่องจากความผันผวนที่สูง
“พวกเราพบว่าหากนำ MPT มาใช้อย่างต่อเนื่อง Portfolio จะมีความผันผวนน้อยลงอย่างมาก เนื่องจากความเชื่อมโยงของแต่ละเหรียญนั้นไม่ค่อยส่งผลต่อกันมาก”
แนวคิดนั้นแนะนำว่า 50 หรือ 60 เปอร์เซ็นต์ของ Portfolio คริปโตควรมี Bitcoin และ Ethereum หลังจากนั้นค่อย ๆ เพิ่มเหรียญอื่นย่อย ๆ เข้ามาในภายหลัง
นาย Jeffrey Van de Leemput ผู้ร่วมก่อตั้งของ Cryptocampus ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความรู้ด้านคริปโต กล่าวว่า การกระจายการลงทุนของ Portfolio เราเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก นอกจากมันจะช่วยลดความเสี่ยงแล้ว มันยังสามรถเพิ่มกำไรให้กับเราได้อีกด้วย
“โดยส่วนตัวผมชอบที่จะมีเหรียญที่มีมูลค่าตลาดใหญ่ ๆ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และเหรียญเล็ก ๆ 20 เปอร์เซ็นต์ปะปนกันไป”
ดิ่งพร้อมกัน
แต่ดูเหมือนว่ากลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงนั้นจะใช้ได้ยากในวงการคริปโต เหมือนเช่นต้นปีที่ผ่านมา ที่ราคาของ Bitcoin นั้นร่วงลงอย่างหนัก และลากราคาของคริปโตตัวอื่นในตลาดลงไปด้วย
ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว บางคนเลยไม่ค่อยเห็นด้วยกับทฤษฎีของนาย Markowitz เท่าไรนัก
นาย Dejun Qian ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กร FUSION โปรเจกต์ Blockchain สาธารณะ กล่าวว่า การกระจายการลงทุนนั้นสามารถช่วยเพิ่มความน่าจะเป็นในการหาโปรเจกต์ดี ๆ ได้ โดยเขาเตือนว่า โปรเจกต์กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในตลาดจะล้มหายไปใปนอนาคต และการกระจายการลงทุนนั้นจะเพิ่มโอกาสที่เราจะเจอโปรเจกต์อีก 10 เปอร์เซ็นต์นั้นได้
แต่ก็ดูเหมือนว่าในตอนนี้การกระจายการลงทุนจะใช้ไม่ค่อยได้กับ Cryptocurrency เท่าไรนัก เนื่องจากราคาของมันขยับตาม ๆ กันหมด
นอกจากนี้ ยังไม่รวมถึงคนบางกลุ่มที่ถูกเรียกว่า Maximalists หรือพวกที่เชื่อแบบสุดโต่ง โดยคนกลุ่มนี้เคลมว่า จะมีเพียงโปรเจกต์เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้ออยู่รอดในโลกคริปโต เนื่องจากเงินนั้นต้องพึ่งพา Network Effect
Maximalists นั้นอาจจะเป็นพวกที่หยาบคายไปซักหน่อย โดยเฉพาะบน Twitter แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะผิด และถ้าพวกเขาถูกนั้น การกระจายการลงทุนก็เป็นเพียงการ Sparying and Praying หรือ การกระจายการลงทุนและเฝ้าอธิษฐานเท่านั้นเอง
การได้รับการยอมรับ
อย่างไรก็ตามการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้นั้นก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยง จริง ๆ แล้ว มีนักวิเคราะห์ใน Wall Street บางคนยังกล่าวด้วยซ้ำว่า คริปโตนั้นสามารถช่วยกระจายความเสี่ยงให้แก่นักลงทุนทั่วไปได้
นาย John Normand นักวิเคราะห์ของ JP Morgan ได้พูดถึงศักยภาพของ Cryptocurrency ในการกระจายความเสี่ยง เป็นวิจัยถึง 71 หน้าที่ตีพิมพ์ในเดือนกุมภาพันธ์
“อ้างอิงจากผลตอบแทนที่สูงลิบของคริปโตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และความเกี่ยวเนื่องที่ต่ำกับทรัพย์สินส่วนใหญ่ ถ้าหากผลตอบแทนของคริปโตยังเป็นเช่นนี้อยู่ในอนาคต ไม่แน่ว่ามันอาจจะถูกพิจารณาเป็นตัวเลือกในการกระจายความเสี่ยงของสถาบันรายใหญ่ ๆ ได้”
นาย Qian สังเกตว่าตลาดคริปโตนั้นมีมูลค่าโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 1 พันล้านดอลลาร์ในต้นปีที่แล้ว เป็น 7 แสนล้านดอลลาร์ในต้นปีนี้ ถึงแม้ว่ามันจะเหลือแค่ประมาณ 3.29 แสนล้านดอลลาร์ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาก็ตาม ทำให้ไม่มีใครสามารถปฎิเสธได้ว่าตลาดคริปโตเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ถึงแม้ว่ามันจะเล็กหากเทียบกับมูลค่าของตลาดสกุลเงินปกติก็ตาม
“นอกเหนือจากการเติบโตที่รวดเร็วของมันนี้ การมี Cryptocurrency ใน Portfolio ยังสามารถช่วยให้นักลงทุนเข้าใจในตลาดใหม่นี้ได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย”
ถ้าให้สรุปทฤษฎี MPT นั้นมีไว้สำหรับนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง และเป็นทฤษฎีที่กระจายการลงทุนไปลงทุนในทรัพย์สินหลาย ๆ ตัวที่ไม่ได้ความเกี่ยวข้องกัน เพื่อที่จะลดความเสี่ยงโดยที่ไม่ลดผลตอบแทนลง อย่างไรก็ตาม คริปโตนั้นเป็นตลาดที่พึ่งเกิดได้ไม่นาน และยังมีความผันผวนสูงมาก เพราะฉะนั้น การทำนายคาดเดาความสัมพันธ์และรูปแบบของแต่ละตัวนั้นจะทำได้ยาก
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น