<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Bank of America ได้รับสิทธิบัตรด้าน Blockchain เยอะมาก แต่จริง ๆ แล้วพวกเขาได้ใช้มันหรือไม่

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา Bank of America (BofA) เพิ่งได้สิทธิบัตรด้านคริปโต โดยพวกเขาได้ทำสิทธิบัตรกว่า 50 ตัวแล้วในด้านคริปโต

ธนาคารที่ใหญ่อันดับสองของสหรัฐฯ ได้รับสิทธิบัตรจำนวนมากเท่า ๆ กับ IBM และ Alibaba แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่า BofA จะอยู่ในตลาดกระทิง ทางบริษัทได้เปิดเผยเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตรเรื่องคริปโตนี้ โดยเป้าหมายของพวกเขาก็คือการจดเพื่อมาพัฒนาเทคโนโลยี Fintech

ประวัติโดยย่อของการจดสิทธิบัตรของ BofA

ธนาคารได้ยื่นจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับ Blockchain ตัวแรกในเดือนมีนาคมปี 2014 และได้รับการเผยแพร่โดยสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐฯ (USPTO) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ลิขสิทธิ์ ในเดือนกันยายนปี 2015 ประโยคที่ว่า “การโอนเงินโดยใช้ Crypocurrency” ก็เกิดขึ้น แต่มันไม่ได้กล่าวถึง “ Blockchain” เลยแต่มันอธิบายถึงระบบที่ส่งเงินระหว่างบัญชีโดยใช้เทคโนโลยีพื้นฐานของคริปโต โดยในเอกสารได้ระบุว่า:

Bitcoin อาจกลายเป็นวิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับวงการ E-Commerce และจะมาเป็นคู่แข่งต่อผู้ให้บริการทางการเงินแบบเดิม ๆ ในฐานะที่เราเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน Bitcoin มีศักยภาพในการเติบโตอย่างชัดเจน”

ในเดือนกันยายนในปี 2015 ทาง BofA ได้รับสิทธิบัตรด้านคริปโตพร้อมกับสถาบันทางการเงิน R3 ที่มีกลุ่มสมาชิกมากกว่า 200 แห่งรวมไปถึงธนาคารต่าง ๆ บริษัทด้าน Fintech ที่ทำงานควบคู่ไปกับ Blockchain

เดือนธันวาคมปี 2015 ทาง USPTO ได้เผยแพร่สิทธิบัตรใหม่จำนวน 10 รายการ ซึ่งทั้งหมดได้กล่าวถึงคำว่า “ Cryptocurrency” ในระบบต่าง ๆ เช่น “ระบบ Vault Storage แบบ Offline หรือ Online”

ในเดือนมกราคมปี 2016 ธนาคารได้เปิดเผยว่าได้เตรียมยื่นจดสิทธิบัตรด้าน Blockchain มากกว่า 20 รายการ ให้ทาง USPTO โดยทาง BofA กล่าวว่า “พวกเราจะพยายามอยู่แถวหน้า เรามีสิทธิบัตรประมาณ 15 ใบแล้วซึ่งคนส่วนใหญ่รู้สึกประหลาดใจที่ BofA มีสิทธิบัตรด้านนี้”

โดยล่าสุด BofA มีสิทธิบัตรจำนวน 45 ใบแล้วภายในเดือนมิถุนายนปี 2018 โดยทางธนาคารได้ยื่นขอสิทธิบัตรเท่า ๆ กับ IBM และ Alibaba

ความสัมพันธ์ระหว่าง BofA และ Crypto

ทาง BofA กล่าวกับทาง CNBC ว่า สิทธิบัตรด้าน Blockchain มันสำคัญมาก โดยกล่าวว่า: “เรามีสิทธิบัตรจำนวน 50 ฉบับในด้านของ Blockchain และ Distribute Ledger เราต้องก้าวไปข้างหน้าเราต้องเตรียมพร้อม”

ในเดือนสิงหาคม 2018 นาย Michael Wuehler ผู้เชี่ยวชาญที่ ConsenSys ซึ่งเคยทำงานที่ BofA นานกว่า 11 ปีกล่าวว่าชื่อขิงเชาปรากฏอยู่บนสิทธิบัตรจาก 8 ใน 50 ฉบับ โดยเขากล่าวต่ออีกว่า “มันไร้ความหมาย” จากมุมมองของเขา นาย Wuehler แย้งว่าการยื่นขอสิทธิบัตรนั้นก็เพื่อดึงดูดความสนใจกับสื่อมวลชนเท่านั้น

การยื่นสิทธิบัตรตัวล่าสุดของ BofA: การจัดการเก็บ Private Keys จนไปถึงระบบเว็บเทรดคริปโต

และนี่คือรายละเอียดของการยื่นสิทธิบัตรของ BofA ที่ได้ยื่นกับ USPTO ในปีที่ผ่านมา

วันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมาทาง BofA ได้รับสิทธิบัตรด้านการจัดเก็บ Private Keys วันที่ 18 กันยายนทาง USPTO ได้เผยแพร่สิทธิบัตรของ BofA ลายเซ็นต์ดิจิทัลหลากหลายรูปแบบบน Distributed Ledger

ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา USPTO ได้ออกสิทธิบัตรด้าน Blockchain สำหรับธนาคาร BofA ซึ่งจะช่วยให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลภายนอก

ในเดือนเมษายนได้รับสิทธิบัตรเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลแบบ Blockchain ซึ่งจะมีการตรวจสอบข้อมูลโดยอัตโนมัติ โดยสิทธิบัตรนี้ถูกยื่นเมื่อเดือนตุลาคมปี 2016

ในเดือนธันวาคม 2560 ทาง BofA ได้สิทธิบัตรระบบของเว็บเทรดคริปโต อ้างอิงจากเอกสารระบบจะอนุญาตให้มีการแปลงสกุลเงินดิจิทัลไปยังอีกสกุลหนึ่งอัตโนมัติโดยอัตราการแลกเปลี่ยนจะยึดตามข้อมูลภายนอก

สรุป

อันที่จริงการมีสิทธิบัตรด้าน Fintech ก็ไม่ได้หมายความว่าจะนำไปใช้ในอนาคต สิทธิบัตรด้าน Blockchain ก็เหมือนกับสิทธิบัตรตัวอื่น ๆ อ้างอิงจาก Bloomberg สิทธิบัตรด้าน Blockchain เหมือนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับบริษัท ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมที่ให้บริการทางการเงินหรือทำให้เกิดกำไรสำหรับธุรกิจด้านคริปโต สิทธิบัตรจะช่วยให้บริษัทสามารถดึงดูดความสามารถในการลงทุนและสามารถปกป้องสินทรัพย์และสามารถทำกำไรได้ และนั่นจะเป็นกรณีตัวอย่างกับ BofA ก็เป็นได้

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น