“CBDC นั้นไม่ใช่ Bitcoin” แต่เป็น “ Blockchain แบบใหม่ ไม่ใช่ Bitcoin” กล่าวโดยนาย Kevin Rutter
ตั้งแต่ปี 2014 นั้น การพูดคุยถึงระบบการจ่ายเงินผ่านดิจิทัลที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ และถูกออกแบบโดยธนาคารกลางนั้นได้มีมากขึ้นเรื่อย ๆ สกุลเงินคริปโตที่ถูกออกโดยธนาคารกลางหรือ Central bank digital currencies (CBDCs) นั้นได้กลายมาเป็นหัวข้อหลัก ๆ ที่ถูกถกเถียงกันในวันนี้ โดยเฉพาะจากธนาคาร Bank for International Settlements (BIS) และ International Monetary Fund (IMF) หรือแม้ในไทยเองที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนหน้านี้เคยออกมาประกาศเปิดตัวเหรียญคริปโตนามว่า โปรเจ็กต์อินทนนท์ อีกด้วย
รายงานเป็นจำนวนมากจากบุคลากรจากธนาคารกลางในหลาย ๆ ประเทศเผยว่าพวกเขามองเทคโนโลยี blockchain แตกต่างไปจากกลุ่ม นักเทรดคริปโตผู้เกลียดรัฐบาล, กูรูนักวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ Blockchain และแม้แต่เด็กยุคมิลเลนเนียลที่ขาดทุนจากการตามกระแสซื้อ Bitcoin ในปีนี้
อย่างไรก็ตาม เรื่องจริงก็คือเจ้าเทคโนโลยีด้านการจ่ายเงินตัวใหม่ล่าสุดอย่างเช่นสกุลเงินดิจิทัลนี้มักจะถูกนำไปปรับใช้ในวงกว้างได้ยากมาก ซึ่งบางทีอาจเป็นเพราะพฤติกรรมในการจ่ายเงินของกลุ่มคนทั่วไปที่ยังคงยึดติดอยู่กับเงินสด, บัตรเครดิต, หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ซึ่งแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละภูมิภาค
เทคโนโลยีใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ดูดี แต่เส้นทางสู่การเป็นที่ยอมรับในวงกว้างนั้นเต็มไปด้วยความหฤโหด ซึ่งในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้นเราได้เห็นเศษซากของความล้มเหลวของเทคโนโลยีด้านการจ่ายเงินอื่น ๆ มากมายที่ไม่สามารถให้ในสิ่งที่ผู้คนต้องการได้
กรณีตัวอย่างในประเทศบราซิล
การที่จะให้ CBDC นั้นประสบความสำเร็จในวงกว้างได้นั้น จะต้องมีระบบสถาปนิกที่คำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค, พฤติกรรมการจ่ายเงิน, และความต้องการของแต่ละประเทศ แต่หากมีการคาดคิดที่เกินคำว่าพอดี ก็อาจส่งผลทำให้ผลลัพธ์นั้นเต็มไปด้วยรูปแบบที่บ้าและโง่เขลา
รายงานล่าสุดโดยนาย JP Koning จาก R3 เขาได้ได้มีการวิเคราะห์ว่า CBDC นั้นจะมีรูปแบบที่เป็นอย่างไรหากถูกออกโดยธนาคารกลางแห่งประเทศบราซิล หรือประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับที่ 8 ของโลก
โดย JP นั้นได้ตั้งคำถามว่าสกุลเงิน CBDC นั้นควรที่จะถูกเก็บไว้ในรูปแบบของบัญชีบุคคลเหมือนแบบเดิมหรือไม่ หรือมันควรที่จะอยู่ในรูปแบบส่วนตัวเหมือนกับเงินสด หรือควรที่จะมีข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของผูกติดอยู่กับการทำธุรกรรมแต่ละธุรกรรม, และท้ายสุดคือผู้ที่ใช้งาน CBDC ควรจ่ายค่าธรรมเนียมในการโอนหรือไม่
เขาได้กล่าวถึงสิ่งที่ CBDC ควรจะเป็น ซึ่งนั่นประกอบไปด้วยสกุลเงินที่เหมือนกับเงินสด แต่ถือในรูปแบบดิจิทัลได้, มีบัญชีหลักอยู่ที่ธนาคารกลาง หรือการรวมเอาฟีเจอร์ลูกผสมระหว่างเงินสดและบัญชีเข้าไว้ด้วยกัน
การคิดเชิงนวัตกรรม
โดยรวมนั้น ทีมฝ่ายนวัตกรรมของธนาคารกลางแห่งหนึ่งได้สร้างโปรเจ็กต์ที่น่าสนใจขึ้นมาด้วยเทคโนโลยี Blockchain แล้ว
โปรเจ็กต์ดังกล่าวมีชื่อว่า Project Jasper ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงขั้นตอนที่ 3 ของการพัฒนา (อ่าน white paper ที่นี่) โดยโปรเจ็กต์นี้ถูกพัฒนาโดยความร่วมมือระหว่าง Payments Canada, the Bank of Canada, TMX Group, Accenture และ R3 โดยสาเหตุที่ต้องมีผู้ร่วมพัฒนาที่เยอะขนาดนี้ ก็เพื่อที่จะได้มองเห็นภาพกว้าง ๆ และเห็นผลลัพธ์นวัตกรรมที่ดี
รายงานล่าสุดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการจ่ายเงินระหว่างประเทศโดยธนาคารกลางประเทศสิงคโปร์ หรือ MAS, ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ และธนาคารแห่งประเทศแคนาดาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน รวมถึงรายงานเกี่ยวกับระบบกลไกการเก็บรักษาสภาพคล่องแบบ decentralized นามว่า Project Ubin ที่ถูกสร้างโดย MAS ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน
CBDC เพื่อประชาชน
แม้ว่าในบางภูมิภาคจะมีอัตราการใช้เงินสดที่สูงมากขึ้น แต่เทรนด์ผู้บริโภคส่วนใหญ่ทั่วโลกนั้นกำลังหันไปหาการจ่ายเงินผ่านระบบดิจิทัล
การสร้างโซลูชันด้านดิจิทัลบนระบบ infrastructure ของตลาดการเงินที่มีอยู่ อาจทำได้แค่ผลักดันนวัตกรรมระดับการค้าปลีกของภาคเอกชนเท่านั้น
ระบบ infrastructure หรือโครงสร้างด้านการจ่ายเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจนำไปสู่ข้อจำกัดทางด้านความซับซ้อนในการทำงานร่วมกัน และการเข้าถึงได้
นวัตกรรมในอนาคตกับระบบแพลทฟอร์มที่ถูกหนุนหลังด้วยเงินจากธนาคารกลางนั้น ถ้าหากสามารถพัฒนาด้วยความเอาใจใส่ และมีระบบสถาปัตยกรรมที่ดี ก็อาจจะมีศักยภาพในการช่วยทำให้การใช้จ่ายแบบ micro transaction เล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ หรือแม้แต่ยังสามารถช่วยย่นระยะช่องว่างระหว่างโลกแห่งปัจจุบันที่ผู้คนนิยมใช้เงินกระดาษกับอนาคตแห่งเงินดิจิทัลให้สั้นลง
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หรือ ‘big bang’ สำหรับโลกของ cryptocurrency นั้นอาจเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่การมาถึงของสกุลเงินดิจิทัลแห่งธนาคารกลางหรือ CBDC นั้นไม่เพียงแต่เป็นเรื่องที่เป็นไปได้เท่านั้น แต่มันจะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการแน่นอน
ที่มา coindesk
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น