<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Citibank เลือกที่จะไม่สานต่อโครงการสกุลเงินคริปโตของบริษัท JP Morgan

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ท่ามกลางกระแสจากการดำเนินโครงการสกุลเงินคริปโตที่ได้รับการรองรับและสนับสนุนโดยธนาคารพาณิชย์อย่างบริษัท JP Morgan แล้ว ทำให้เราต้องย้อนไปถึงองค์กรสำคัญอีกแห่งที่ได้เคยทำการทดสอบระบบ Token มาก่อนเพื่อเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อทางการเงินของโลกเมื่อปี 2015

อย่างที่รู้จักกันในนาม  “Citicoin” ซึ่งเป็นโปรเจคจากห้องทดลองทางนวัตกรรมของกลุ่มบริษัท Citigroup ในเมือง Dublin ซึ่งโครงการดังกล่าวนั้นไม่เคยถูกประกาศอย่างเป็นทางการโดยธนาคาร อีกทั้งยังไม่ได้รับการยอมรับในฐานะผลการทดสอบที่เป็นหลักฐานของแนวความคิดดังกล่าวแต่อย่างใด โดยแนวความคิดดังกล่าวนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบรูปแบบการดำเนินการทางการเงินของโลก และเพราะเหตุนี้เองจึงทำให้โครงการดังกล่าวเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับโครงการของ JPM ซึ่งได้รับการยอมรับมากกว่า

อย่างไรก็ตาม จากการทดลองในหลากหลายรูปแบบซึ่ง Citibank ได้ลองทำ (และแม้จะยังไม่รวมถึงชื่อเสียงที่ย่ำแย่ของ Bitcoin ในช่วงเวลานั้น) ทางบริษัทได้มีข้อสรุปว่า เทคโนโยยีดังกล่าวนั้นมีประสิทธิภาพในการบรรลุวัตถุประสงค์ของตัวมันเองได้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีวิธีการอื่นๆอีกมาก ที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบโจทย์ต่อการพัฒนารูปแบบการจ่ายเงินมากกว่า

ความเห็นดังกล่าวมาจาก Gulru Atak ผู้เป็นทั้งหัวหน้าการดำเนินการของห้องทดลองนวัตกรรมของ Citi และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกนวัตกรรมทางการคลังและการค้าในปัจจุบัน ซึ่งเธอได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการทดลองที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนว่า

“เราได้เรียนรู้จากการทดสอบครั้งนั้นเป็นอย่างมาก มันทำให้เราได้มีการตัดสินใจที่จะดำเนินการพัฒนาที่มีคุณค่าในเส้นทางที่เรากำลังเดินอยู่นี้ โดยการยกระดับระบบการชำระเงินและระบบที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเรายังได้พิจารณาถึงเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ๆรวมถึงกฎเกณฑ์และกฎหมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงเทคโนโลยี SWIFT อีกด้วย”

เมื่อเราลองถอยกลับมาดูหลักการเบื้องหลังอย่างที่ Atak กล่าวจะพบว่า ในการพัฒนาระบบการชำระเงินข้ามประเทศนั้น ธนาคารทั้งหลายจะพิจาณาวิธีการที่มีประสิทธิผลสูงที่สุดซึ่งก่อให้เกิดผลลัพธ์ระยะสั้นเท่านั้น เค้ายังได้กล่าวอีกว่า “พวกเรากำลังพยายามสร้างการเปลี่ยนแปลงพวกนี้ มากกว่าที่จะทุ่มเทความสามารถทั้งหมดในการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวซึ่งยังเป็นสิ่งที่ยังไม่ถึงเวลาของมัน”

ทั้งนี้แล้ว ในการที่จะเปลี่ยนแปลงเครือข่ายการชำระเงินข้ามประเทศด้วยเทคโนโลยี Blockchain ต้องมีใครซักคนดำเนินการโดยอาศัยความร่วมมือกับธนาคารทั่วโลก โดย Atak ได้กล่าวเสริมอีกว่า

“ถ้าพวกเราจะพูดถึงระบบการชำระเงินข้ามประเทศแล้ว จำเป็นต้องพิจารณาคำถามเหล่านี้ประกอบด้วยว่า มีกี่ธนาคารในโลกที่มีการดำเนินการข้ามประเทศ และมีธนาคารกี่แห่งที่ได้ดำเนินการด้วยเทคโนโลยี SWIFT แล้ว อีกทั้งจะใช้เวลานานขนาดไหนที่จะทำให้ทุกธนาคารนำเทคโนโลยี SWIFT มาใช้ทั้งหมด”

อย่างที่ได้กล่าวไป แผนการทางเทคโนโลยี Blockchain ของ Citi ในช่วงเร็วๆนี้นั้นเป็นไปในทิศทางที่ต้องการผสมผสานเข้ากับระบบเดิม โดย Atak อ้างอิงถึงความร่วมมือกับ Nasdaq ในโครงการ CitiConnect ซึ่งมีเป้าหมายในการออกแบบระบบการชำระเงินซึ่งเกี่ยวของกับหลักทรัพย์ส่วนบุคคลซึ่งเธอได้กล่าวว่าเป็นโครงการที่คล้ายคลึงกับโครงการ JPM Coin

“โครงการ CitiConnect ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่การออกเหรียญ แต่เป็นการพัฒนาโครงสร้างซึ่งมีการดำเนินการที่คล้ายคลึงกับการออกเหรียญบนแพลทฟอร์มของเทคโนโลยี Blockchain” และเธอยังได้กล่าวอีกว่า “อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวเป็นการผสมผสานกัน เพื่อสร้างระบบบนฐานของเทคโนโลยี Blockchain ให้แก่ลูกค้าของเรา และเพื่อเป็นการเชื่อมต่อกับระบบกระบวนการ การชำระเงินเดิมของพวกเราแบบ Real-time”

จากการเงินในระบบการค้าไปสู่การแลกเปลี่ยนเงินต่างสกุล

ในขณะที่ Atak นั้นได้อธิบายถึงการดำเนินการที่เกิดขึ้นกับการทดลองที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain ในระยะเริ่มแรก เธอยังได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่ว่าบริษัท Citi ยังคงดำเนินการเพื่อค้นหาศักยภาพของเทคโนโนโลยีดังกล่าวต่อไป โดยเฉพาะในวงการเงินในระบบการค้า (Trade Finance)

เธอยังได้กล่าวอีกว่าพื้นที่ในวงการดังกล่าวนั้นเป็นกรณีที่สามารถปฏิบัติได้จริงมากกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่าการสร้างระบบของการเงินในระบบการค้านั้นไม่จำเป็นต้องอาศัยการดำเนินการร่วมกันของจำนวนธนาคารเท่ากับการดำเนินการในระบบการชำระเงินข้ามประเทศ “เป้าหมายของเราในปัจจุบันนั้นเป็นการดำเนินการโดยเฉพาะในวงการการค้าขาย การเงินในระบบการค้า และตราสารเครดิตเพื่อการค้าขาย โดยพวกเรากำลังดำเนินการทดลองแก่เทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ แต่มันจะเป็นการกลับคำพูด ในสายตาของประชาชนแน่นอน เมื่อเวลาที่เราทำการประกาศออกไป”

ทางธนาคารคู่แข่งอย่าง HSBC นั้นกลับไม่เหนียมอายที่จะพูดถึงการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ธนาคาร HSBC ได้ออกมาประกาศว่าตนได้มีการดำเนินการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามูลค่ากว่า 250 ล้านล้านดอลลาร์ โดยอาศัยเทคโนโลยี Blockchain ในช่วงปีที่ผ่านมา อีกทั้งนาย Opeyemi Olomo หัวหน้าห้องทดลองทางนวัตกรรมของ Citi ได้กล่าวว่าในตลาดนั้นได้มีจุดอ่อนที่ชัดเจนซึ่งเกี่ยวข้องกับความโปร่งใสของการให้เครดิต และเมื่อเป็นระบบการชำระเงินระดับโลกแล้ว จึงเกิดคำถามในการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ ว่าจะเป็นการสร้างระบบใหม่ อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการดำเนินการ ซึ่งพิจารณาร่วมกับความคุ้มค่าแล้ว

Olomo ได้มีความเห็นตามในประเด็นนี้ว่าเป็นโอกาสที่ดี โดยได้กล่าวว่า

“มันยังมีที่ว่างในระบบอยู่ และหากเราพิจารณาถึงองค์กรซึ่งดำเนินการด้านสภาพคล่องในวงการการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแล้ว จะเห็นว่ามีบริษัทหลักอยู่ไม่มากนัก ดังนั้น ระบบดังกล่าวจึงเป็นที่ที่เราจะสามารถดำเนินการโดยการร่วมกับบริษัทเหล่านั้นเพื่อสร้างความแตกต่างที่สามารถเห็นเป็นประจักษ์ได้ ”

คำถามในฐานะผู้กำกับดูแล

ในฐานะที่บริษัท Citi เป็นหนึ่งในผู้ดูแลควบคุมเครื่องมือทางการเงินหลักของโลก มันเป็นปกติที่จะเกิดคำถามเมื่อทางธนาคารต้องการที่จะหาทางในการสร้างมาตรการป้องกันแก่สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ดึงดูดความสนใจจากองค์กรอื่นๆที่กำลังเริ่มดำเนินการในแบบเดียวกันอย่างเช่น ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กลาง ( central securities depositories)

โดย Atak ยังคงไม่ยอมปริปากถึงประเด็นดังกล่าว แต่อาจเป็นการพิจารณาได้ว่าเธอน่าจะกล่าวว่า “มันไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในของข่ายการดำเนินการของพวกเรา แต่มันเป็นธุรกิจที่พวกเราต้องมีส่วนรับผิดชอบ ซึ่งหมายความว่าสิ่งเหล่านี้เป็นธุรกิจที่พวกเค้ากำลังพิจารณาอยู่”

หากจะกล่าวโดยกว้างแล้ว Atak ได้อ้างว่าอุตสาหกรรมต่างๆกำลังพยายามผลักดันเครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้เข้าสู่ระบบการดำเนิการบนเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งปราศจากความคิดที่ว่าทำไมเครื่องมือเหล่านี้ถึงเกิดขึ้นตั้งแต่แรก

ดังนั้น การพิจารณาถึงธรรมชาติของเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้อย่างถี่ถ้วนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เธอยงได้กล่าวอีกว่า “ตัวอย่างเช่น แนวความคิดเรื่องเครื่องมือทางการเงินอย่างตราสารเครดิต หรือ letter of credit นั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และอะไรเป็นปัญหาหรือประเด็นที่ทำให้มีการสร้างเครื่องมือดังกล่าวขึ้นมา”

การดำเนินการโดยอาศัยหลักปรัชญาเช่นนี้จะเป็นตัวชี้ทางให้แก่แนวคิดของบริษัท Citi โดย Atak ได้กล่าวสรุปว่า “ตัวผมกำลังท้าทายพวกเราทั้งหมดไปพร้อมๆกัน” โดยได้ทิ้งคำถามไว้ว่า

“พวกเรากำลังพิจารณาเทคโนโลยีนี้เพื่อค้นหาศักยภาพสูงสุดของมัน หรือพวกเรากำลังพยายามแก้ไขปัญหาการดำเนินการที่ด้อยประสิทธิภาพและปัญหาเล็กน้อยที่กำลังเกิดขึ้นในระบบกันแน่?”

ที่มา : coindesk

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น