กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เชื่อว่าธนาคารกลางอาจออกสกุลเงินดิจิทัลในอนาคตตามรายงานของ IMF เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2019
อ้างอิงจากเอกสารฉบับเต็มของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF และ ธนาคารกลางที่ได้ดำเนินการสำรวจด้าน Fintech จากประเทศในกลุ่มสมาชิกซึ่งมีการตอบรับมากกว่า 96 ประเทศด้วยกัน
โดยจากในหลาย ๆ ประเทศได้ให้คำตอบกับทางธนาคารที่น่าสนใจซึ่งพวกเขาได้บอกว่าประเทศต่าง ๆ กำลังพิจารณาที่จะใช้รูปแบบสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency , CBDC) รายงานว่าอุรุกวัยได้เปิดตัวโครงการนำร่อง CBDC แล้วในขณะที่ประเทศ บาฮามาส, จีน, สหภาพคาริเบียนตะวันออก, สวีเดนและยูเครนต่างก็ทำการทดสอบระบบของพวกเขาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้มีรายงานว่าธนาคารกลางหลายแห่งกำลังทำการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับ CBDC ต่อเสถียรภาพทางการเงินโครงสร้างของภาคธนาคารการเข้าสู่สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารและการส่งผ่านนโยบายการเงินต่าง ๆ ของประเทศว่าจะมีผลกระทบอย่างไรบ้างก่อนนำมาใช้จริง
โดยแรงจูงใจที่แต่ละประเทศต้องการนำเสนอ เงินดิจิทัลของธนาคารกลาง นั้นแตกต่างกันไปตามรายงานทั้งในประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเกิดใหม่ และประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อหาทางเลือกในการนำเงินดิจิทัลของธนาคารกลางเข้ามาทดแทนเงินสดเนื่องจากว่ามีจำนวนผู้ใช้งานเงินสดที่ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเงินดิจิทัลของธนาคารกลางนั้นจะช่วยลดต้นทุนของธนาคารและเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงผู้ที่ไม่มีบัญชีในแต่ละประเทศได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามแม้ว่าในหลาย ๆ ประเทศจะมีการออก เงินดิจิทัลของธนาคารกลาง เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป แต่ทว่าสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและทุกธนาคารต่างเห็นพ้องต้องกันและมีเหมือนกันนั้นก็คือพวกเขาส่วนใหญ่จะไม่ทำ เงินดิจิทัลของธนาคารกลาง เป็นแบบไม่ระบุตัวตนอย่างแน่นอน เนื่องจากเหตุผลที่เรารู้กันดีว่าธนาคารกลางต้องการที่จะสามารถติดตามธุรกรรมทางการเงินได้เพื่อให้หน่วยงามที่มีความจำเป็นกำกับดูแลได้อีกที อย่างไรก็ตามสถาบันการเงินบางแห่งเกิดความคิดที่จะแตกโทเค็น เงินดิจิทัลของธนาคารกลาง ออกมาเป็นหน่วยย่อยเพื่อใช้ในการถือครองและทำธุรกรรมขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถติดตามได้อีกด้วย
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น