นักวิจัยของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้กล่าวว่าสินทรัพย์คริปโตและรูปแบบเงินอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ จะเข้ามาแทนที่เงินสดและเข้ามาเปลี่ยนแปลงการฝากเงินของธนาคารแบบเดิมไปอย่างสิ้นเชิง
บทความที่เผยแพร่โดย IMF เผยบริบทและความสำคัญของคริปโต เช่น stablecoin จะเข้ามาปฏิรูปการเงินแบบเดิมอย่างไรบ้าง
“อธิบายอย่างกระชับคือจากบทความจะมีการพูดคุยถกเถียงกันระหว่างรูปแบบทางการเงิน 2 ประเภทซึ่งจะเผชิญกับการแข่งขันที่โหดและอาจจะถูกแทนที่ไปเลย เงินสดและเงินฝากของธนาคารจะต้องมาแข่งกับเงินอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าทางการเงินที่เก็บไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์และผูกติดกับหน่วยทางการเงินทั่วไป เช่น ยูโร, ดอลลาร์หรือเงินหยวน เป็นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง stablecoinที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ตอนนี้ เพราะเงินอิเล็กทรอนิกส์แม้มันจะใช้งานง่ายแต่ปัญหาคือความผันผวนในมูลค่าของมัน มันจึงเกิดแนวคิดของ stablecoin ขึ้น หากการป้อนค่าเงิน 10 ยูโรเข้าไปในเหรียญ มูลค่าที่คุณจะได้ในการนำไปใช้งานก็คือ 10 ยูโรเช่นเดิม ธนาคารจะเริ่มรู้สึกถึงแรงกดดันจากเงินอิเล็กทรอนิกส์ แต่ทางธนาคารเองก็ควรที่จะนำเสนอบริการที่น่าดึงดูดใจมากขึ้นเพื่อปรับตัวให้ทัน ผู้ออกนโยบายก็ควรที่จะเตรียมการในกรณีที่มันอาจจะเกิดการปฏิรูปวงการธนาคารได้”
นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงความเสี่ยงของคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่ได้ผูกติดมูลค่ากับสกุลเงินจริงอย่าง Bitcoin และ Ethereum ด้วย
“เราจะเรียกเหรียญอื่น ๆ ว่า public coin ซึ่งรวมถึง Bitcoin และ Ethereum โดยมูลค่าของเหรียญเหล่านี้มีความผันผวนสูงและมีความแตกต่างจากรูปแบบการเงินอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด ผู้ใช้อาจเปรียบเทียบเงินตามผลตอบแทนและความเสี่ยง ซึ่งทางเราจะพิจารณาโดยมุ่งเน้นไปที่การออกแบบของเงินเป็นหลักไม่ใช่บริบททางเศรษฐกิจมหภาคของรูปแบบทางการเงินเหล่านี้
คริปโตเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงมากกว่าเพราะมันให้ผลกำไรตอบแทนมากกว่า ซึ่งมันคือเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ของ public coin ที่มูลค่าหากคิดเป็นเงินเฟียตแล้วมีความผันผวนสูงมาก ความผันผวนของมูลค่า Bitcoin มีมากกว่าอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินของกลุ่มประเทศ G7 ถึง 10 เท่า รวมถึงมากกว่าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินโบลิวาร์กับดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย”
การที่เงินอิเล็กทรอนิกส์มีความผันผวนสูงเป็นเพราะมันไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการให้ความคุ้มครองอย่างเช่นการฝากเงินกับธนาคาร ส่วนเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเราเรียกว่า “b-money” อย่างไรก็ตามแม้ว่ามันจะมีความผันผวนแต่แน่นอนว่าเงินอิเล็กทรอนิกส์จะถูกนำไปใช้มากขึ้นในอนาคตเพราะวิธีการใช้งานของมันนั้นมีความสะดวก
“เงินอิเล็กทรอนิกส์จะเข้ามาอยู่ในชีวิตยุคดิจิตอลของพวกเรา พอ ๆ กับ b-money หรือเงินของธนาคารกลาง ซึ่งเงินเหล่านี้มักจะถูกสร้างและออกแบบโดยบริษัทที่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานเป็นอย่างดีและนำมันเข้ามาผสมผสานกับโซเชียลมีเดีย การโอนเงินระหว่างประเทศโดยใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์จะมีความสะดวกและรวดเร็วมากกว่าและมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเงินสดและการฝากเงินธนาคาร”
หากคุณสนใจสามารถศึกษารายละเอียดของบทความจาก IMF ได้ที่นี่
ที่มา dailyhodl
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น