ในระหว่างการประชุมการต่อต้านการก่อการร้าย ณ เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียในวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ นาย Peter Dutton รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของประเทศออสเตรเลียได้กล่าวถึงคุณสมบัติด้านการไม่ระบุตัวตนของสกุลเงินคริปโตนั้นอำนวยความสะดวกให้กลุ่มหัวรุนแรงใช้ประโยชน์ในการเลี่ยงการตรวจสอบจากรัฐบาล
นาย Peter Dutton ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าความนิยมที่เพิ่มขึ้นต่อสกุลเงินดิจิทัลทั้งหลาย รวมไปถึงบัตรสำหรับใช้จ่ายด้วยสกุลเงินคริปโต ระบบการชำระเงินออนไลน์ไปจนถึงแพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิ้งนั้นจะเป็นเสมือนช่องทางใหม่ ๆ ให้กับเหล่าผู้ก่อการร้ายในการใช้เป็นท่อน้ำเลี้ยงการดำเนินการก่อการร้ายต่าง ๆ
ทั้งนี้ตัวเค้าซึ่งทำงานในฐานะของหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งด้านคนเข้าเมือง ความปลอดภัยภายในประเทศ และการบังคับใช้กฎหมายได้กล่าวต่อไปอีกว่า ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนั้นควรที่จะคิดล้ำหน้าไปถึงมาตรการด้านการเงินใหม่ ๆ รวมทั้งควรจะมีการเปิดรับผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกรัฐบาลมากขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ตัวเค้ายังได้มุ่งเป้าการพูดคุยไปที่องค์เช่นมูลนิธิและองค์กรซึ่งไม่แสวงหาผลกำไรต่าง ๆ โดยมีแนวคิดที่ว่าองค์กรเหล่านี้เป็นที่นิยมในการใช้เป็นท่อน้ำเลี้ยงทางการเงินให้แก่เหล่าผู้ก่อการร้าย ซึ่งบางครั้งองค์กรเหล่านี้ไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำว่าถูกใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการดังกล่าว
แต่ทั้งนี้นาย Peter Dutton เองนั้นได้ตกเป็นเป้าในการถูกวิพากษ์วิจารณ์หลังจากที่เค้าได้แสดงความคิดเห็นถึงกรณีนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมว่าพวกเขาควรที่จะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมต่อต้านแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งทำหน้าที่ รวมทั้งการต่อต้านการร่างกฎหมายเกี่ยวกับการส่งผู้เสียหายกลับคืนถิ่น (medevac laws) อีกด้วย
สกุลเงินคริปโตในฐานะที่มั่นต่อไปสำหรับการก่อสงครามกับก่อการร้าย
ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ระหว่างการประชุมระหว่างประเทศประจำปีว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย นาง Sigal Mandelker ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการประจำกระทรวงการคลังของสหรัฐ ฯ ได้กล่าวถึงสกุลเงินคริปโตไว้ดังนี้
“กลุ่มผู้ก่อการร้ายต่างๆรวมไปถึงผู้สนับสนุนทั้งหลายนั้นต่างมองหาช่องทางใหม่ ๆ ในการหารายได้และส่งเงินสนับสนุนที่สามารถหลุดรอดการตรวจสอบหรือการติดตามผ่านการบังคับใช้กฎหมายอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในขณะที่ผู้ก่อการร้ายบางส่วนนั้นได้ใช้รูปแบบการโอนเงินแบบดั้งเดิมหรือการใช้เงินสดอยู่ หากไม่มีมาตรการป้องกันที่เข้มแข็งและเหมาะสม สกุลเงินคริปโตนั้นก็อาจถูกนำมาใช้และกลายเป็นฐานที่มั่นต่อไปสำหรับการดำเนินการดังกล่าวได้”
ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานาย Benjamin Diokno ผู้บริหารธนาคารกลางของประเทศฟิลิปินยังได้ออกมากล่าวเตือนในทำนองเดียวกัน ถึงความเป็นไปได้ในการใช้สกุลเงินคริปโตสำหรับการสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มผู้ก่อการร้าย อีกทั้งยังได้ย้ำว่าทางธนาคารกลาง (Bangko Sentral ng Pilipinas หรือ BSP) นั้นจะดำเนินการจับตาดูการใช้งานสกุลเงินคริปโตภายในประเทศอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้แล้วทางธนาคารกลางของประเทศฟิลิปินส์ยังได้มีการเริ่มวางกฎให้เหล่าบริษัทซึ่งให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินคริปโตนั้นต้องขึ้นทะเบียนในฐานะที่เป็นบริษัทด้านการดำเนินธุรกรรมด้านการโอนเงิน รวมไปถึงการออกมาตรการป้องกันคลอบคลุมทั้งเรื่องการฟอกเงิน การบริหารความเสี่ยงและการคุ้มครองผู้บริโภคตั้งแต่ในช่วงปี 2017 แล้วอีกด้วย
ที่มา : Cointelegraph
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น