ผู้ให้บริการเก็บรักษาเหรียญอย่างบริษัท Ledger นั้นได้เริ่มเปิดให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการหารายได้แบบ Passive Income จากเหรียญคริปโตของตัวเองแล้ว โดยอาศัยระบบการลงขันเหรียญคริปโต หรือที่รู้จักกันในชื่อการ Staking นั่นเอง โดยบริษัทดังกล่าวนั้นจะเปิดให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม Ledger Live ของตนเองซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าวนั้นได้ถูกใช้ในการเข้าจัดการสกุลเงินคริปโตต่างๆซึ่งผู้ใช้ได้เก็บไว้กับทางบริษัทนั่นเอง
การลงขันเหรียญคริปโตนั้นหากจะอธิบายอย่างคร่าวๆคือการที่เหรียญคริปโตของผู้ใช้งานจะถูกแยกส่วนไว้ในฐานะกองเหรียญซึ่งใช้เป็นหลักประกันโดยเป็นการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์ที่เหรียญดังกล่าวนั้นถูกนำไปใช้ในการเดินระบบเครือข่าย Blockchain ซึ่งใช้ชุดกฎคำสั่ง (Protocol) แบบ Proof-of-Stake นั่นเอง ซึ่งระบบดังกล่าวนั้นจะนำเหรียญดังกล่าวไปเป็นฐานเสมือนว่าเป็นแต้มสำหรับการสุ่มเพื่อสร้างเหรียญใหม่ขึ้นในระบบ โดยเมื่อเหรียญใหม่ๆนั้นถูกสร้างขึ้นแล้วก็จะถูกแบ่งตามอัตราส่วนให้แก่เจ้าของเหรียญซึ่งได้ลงเหรียญคริปโตไว้ในระบบนั่นเอง
นอกจากนี้แล้วทางบริษัท Ledger นั้นยังได้เพิ่มเหรียญ Tezos ในฐานะเป็นเหรียญแรกที่จะสามารถใช้บริการระบบดังกล่าวได้ ซึ่งเหรียญ Tezos นั้นเป็นเหรียญซึ่งถูกสร้างบนฐานของชุดกฎคำสั่งแบบ Proof-of-Stake โดยมีเป้าหมายในการเป็นผู้นำทางด้านการบริหารจัดการระบบเหรียญอีกด้วย
ตลอดช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ทางบริษัท Exchange ชื่อดังหลายรายอย่าง Binance หรือ Coinbase นั้นก็ยังได้มีการเพิ่มบริการสำหรับการลงขันเหรียญคริปโตบนแพลตฟอร์มของพวกเขาอีกด้วย ซึ่งบริการเหล่านี้จะเป็นการลงขันเหรียญในฐานะของบริษัท Exchange เองและนำผลกำไรที่ได้นั้นแจกจ่ายแก่ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มนั่นเอง ซึ่งทางบริษัท Ledger ก็ได้กล่าวว่าพวกเขานั้นมีเป้าหมายการดำเนินการเช่นเดียวกับทั้งสองบริษัทข้างต้น แต่ก็ได้เพิ่มตัวเลือกการใช้บริการอื่นๆเข้าไปด้วย โดยได้มีการกล่าวในระหว่างการประชาสัมพันธ์ดังนี้
“ทางบริษัทกำลังนำเสนอตัวเลือกเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมเหรียญของตนเองได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งแตกต่างจากบนแพลตฟอร์ม Exchange อื่นๆซึ่งผู้ใช้งานต้องสูญเสียสิทธิในการเลือกตัดสินใจสำหรับปลายทางของการดำเนินการที่ได้เลือกลงขันเหรียญคริปโตของตนเองลงไป โดยบริการของทางบริษัทนั้นจะดำเนินการผ่านแพลตฟอร์ม Ledger Live ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกผู้ตรวจสอบเครือข่าย (Validator) ที่จะนำเหรียญของตนไปลงได้อย่างหลากหลายตามความต้องการของตนเอง”
โดยตัว Validator เหล่านี้นั้นเป็นเสมือนหัวใจของระบบ Proof-of-Stake เพื่อให้ระบบสามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งการที่ผู้ใช้งานสามารถเลือก Validator ได้เป็นกลไกในการสร้างความมั่นใจว่าตัว Validator จะสามารถเดินระบบต่อไปได้และมีความน่าเชื่อถือในการดำเนินธุรกรรมต่างๆ ในทางกลับกันการให้สิทธิแก่บริษัท Exchange ในการเลือกตัว Validator เองอาจมีความเสี่ยงที่บริษัทเหล่านี้จะเลือก Validator ที่ดำเนินการอย่างไม่สุจริตโดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทในการควบคุมและหาผลประโยชน์จากระบบนั่นเอง ซึ่งการดำเนินการของบริษัท Ledger ในรูปแบบนี้นั้นเป็นการสร้างความมั่นใจว่าระบบ Blockchain นั้นจะปลอดภัยจากการที่การควบคุมระบบนั้นตกอยู่ในมือของคนกลางนั่นเอง
ที่มา : decrypt
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น