ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นกำลังพิจารณาทดลองสร้างเหรียญดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ซึ่งทางธนาคารกลางก็เผยว่าต้องการสร้างระบบการเงินให้เป็นดิจิทัลเพื่อตามให้ทันประเทศจีนที่เริ่มทดสอบเหรียญ CBDC ของตัวเองไปแล้ว
ทางธนาคารกลางเผยว่าตอนนี้กระบวนการต่าง ๆ ยังอยู่ในขั้นตอนของ Proof of Concept ของเงินเยนดิจิทัล
รายงาน “ Technical Hurdles for CBDC” เผยว่าจะ “ตรวจสอบความเป็นไปได้ของ CBDC จากมุมมองทางเทคนิคร่วมมือกับธนาคารกลางอื่น ๆ และสถาบันที่เกี่ยวข้องและพิจารณาเปิดตัวเหรียญ CBDC”
ในเดือนกุมภาพันธ์มีข่าวว่าธนาคารกลางของอังกฤษ, ยูโรโซน, ญี่ปุ่น, แคนาดา, สวีเดนและสวิตเซอร์แลนด์ได้ประกาศแผนการที่จะร่วมมือกันในการวิจัยการออกเงินดิจิทัล
อุปสรรคสำคัญ
ธนาคารกลางของญี่ปุ่นเผยว่ามีอุปสรรคที่สำคัญอยู่ 2 ประการด้วยกันคือการเข้าถึงในระดับสากลและความยืดหยุ่น
อุปสรรคข้อแรกคือการเข้าถึงระบบ ซึ่งไม่สามารถมั่นใจได้ว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงระบบ CBDC โดยเฉพาะคนที่ไม่มีมือถือ จากข้อมูลของ Nikkei ในปี 2018 มีคนญี่ปุ่นเพียง 65% เท่านั้นที่มีสมาร์ทโฟน ทาง BoJ ก็กล่าวว่า “เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพัฒนา CBDC ให้พร้อมใช้งานสำหรับผู้ใช้ที่หลากหลาย”
ส่วน’ความยืดหยุ่น (resilience)’ หมายถึงความพร้อมใช้งานออฟไลน์เมื่อไฟฟ้าดับ BoJ เน้นความสำคัญของการเข้าถึงในสภาพแวดล้อมทุกประเภทแม้ในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นแผ่นดินไหว
เงินเยนดิจิทัลและบล็อกเชน
ด้าน BoJ กำลังพิจารณาว่าจะใช้ Blockchain ในการสร้าง CBDC ดีหรือไม่ การมีระบบที่รวมศูนย์มันก็จะดีตรงที่ความจุและความเร็วจะมากกว่า แต่ระบบทั้งหมดอาจล่มได้ในพริบตาหากถูกโจมตีเพียงแค่ครั้งเดียว
ในขณะที่หากใช้เทคโนโลยี DLT สร้าง CBDC ก็จะทำให้ระบบมีความคงทนต่อการโจมตีมากกว่าและใช้พลังและเวลาในการประมวลผลมากกว่าที่จะแฮ็กเข้าระบบได้เพราะมีผู้ร่วมรันโหนดบนเครือข่ายบล็อกเชนหลายราย
“ทั้งระบบรวมศูนย์และกระจายศูนย์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในกรณีของการทำธุรกรรมขนาดใหญ่สำหรับกรณีการใช้งานค้าปลีกในประเทศที่เชี่ยวชาญแล้วแล้วควรใช้ชนิดรวมศูนย์ [… ] ในกรณีที่จำนวนการทำธุรกรรมมีจำกัดก็ควรที่จะใช้ระบบแบบกระจาศูนย์ ” BoJ กล่าวสรุป
ที่มา cointelegraph