เกือบจะครบรอบ 5 ปีของเครือข่าย Ethereum แล้วโดยซึ่ง Ethereum ก็ใช้กลไกแบบ Proof of Work ซึ่งกลไกนี้ถือเป็นกระดูสันหลังของเครือข่าย Blockchain เลยก็ว่าได้ หลายๆ เครือข่ายคริปโตใช้กลไกนี้ ซึ่งรวมถึง Litecoin และ Bitcoin ด้วย
อุตสาหกรรม Blockchain ต่างรู้สึกฉงนว่าทำไมเครือข่าย Proof of Work ถึงอยู่ยงคงกระพันมาจนถึงทุกวันนี้ทั้งที่มีข้อท้าทายมากมายในประเด็นเรื่องความปลอดภัยในหลายปีที่ผ่านมา
5 ปีของ Ethereum ที่ใช้เครือข่ายแบบ PoW
รายงานของ Consensys ได้เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับ Proof of Work บนเครือข่าย Ethereum ซึ่งเป็นบทวิเคราะห์ว่าการใช้งาน PoW นั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้างตลอด 5 ปีที่ Ethereum เลือกใช้เครือข่ายนี้ซึ่งวิเคราะห์ออกมาได้ดังต่อไปนี้
การขุดบนเครือข่าย Ethereum กว่า 51% อยู่ที่ Pool สองที่เท่านั้น
อัตราการขุดเหรียญของ Ethereum คิดเป็น 51 เปอร์เซ็นต์นั้นอยู่ที่ Pool ขุดสองราย การขุดนั้นลดลงหลังจากเหตุการณ์ DAO และหลังจากที่มีจำนวน Address ที่นำจ่ายออกมีมากขึ้น ราคาของ Ethereum เริ่มพุ่งในช่วงกลางปี 2017 แต่อัตราของ mining counts บนเครือข่ายยังคงแตะอยู่จุดต่ำมีเพียง Pool ขุด 6 ที่ที่ยังคงมีการปฏิบัติงานอยู่
ในช่วงกลางปี 2018 เหมืองขุด ETH ก็ค่อย ๆ มีจำนวนเพิ่มมกขึ้น ซึ่งในตอนนั้นเป็นช่วงที่ราคา ETH ร่วงลง ซึ่งมันอาจมองได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง Pool ขุดเหรียญ Ethereum กับราคาของเหรียญมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกัน ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลกระทบโดยตรงอาจเนื่องมาจากรางวัลที่ได้จากการขุดลดลง
จำนวนรางวัลต่อบล็อกลดลงจาก 5 มาสู่ 3 และเมื่อราคาของ ETH นั้นได้เพิ่มมากก็จำเป็นที่จะต้องมีมีแรงขุดเพิ่มมากขึ้น แต่แรงจูงใจในการขุดกลับลดน้อยลง ตอนนี้นักขุดส่วนใหญ่ก็เลยได้ย้ายไปขุดเครือข่าย Blockchain อื่น ๆ ที่ให้รางวัลการขุดได้มากกว่า
นักขุดรายย่อยต่างไปร่วมขุดกับ Pool ขุดใหญ่ ๆ เพื่อให้มีโอกาสได้รับรางวัลการขุดเพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนนักขุดที่ปฏิบัติการอยู่มันน้อยลง
The 56 Pools’ Control
ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา Pool ขุดกว่า 56 แห่งที่เป็นที่รู้จักเป็นเหมืองหลักที่ทำการขุด ETH ซึ่งอาจชี้ให้เห็นถึงความแข็งแรงของเครือข่ายก็ได้แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าเหมืองขุดเหล่านี้จะมีอำนาจควบคุมเครือข่ายมากที่สุดหรือไม่ เป็นข้อโต้แย้งในเรื่องความ Centralized ของเครือข่าย Ethereum
ทำไม Consensys ถึงทำรายงานการวิเคราะห์เครือข่าย PoW?
เครือข่าย Consensys กำลังทำงานเกี่ยวกับ Ethereum 2.0 ซึ่งทำให้พวกเขาจะต้องรู้เกี่ยวกับการทำงานของกลไกแบบ PoW เพื่อพิจารณาข้อดีข้อเสียของเครือข่าย
อีกหนึ่งเหตุผลหลักคือเครือข่ายของ Ethereum ส่วนใหญ่จะยังคงรองรับเชน PoW ต่ออีกอย่างน้อยสองถึงสามปี ดังนั้นทีมงานจึงต้องเก็บข้อมูลไว้ให้ได้มากที่สุดเพื่อซัพพอร์ตระบบนิเวศของ Ethereum ก่อนจะเลิกใช้งานมัน
เครือข่าย Ethereum 2.0 เตรียมใช้กลไก Proof of Stake
ในประเด็นนี้จะพูดเปรียบเทียบระหว่าง Proof of Work และ Proof of Stake ว่าดีกว่ากันอย่างไร ซึ่งหลัก ๆ แล้ว PoS จะดีกว่า PoW ตรงที่มันจะช่วยแก้ปัญหาสำคัญ ๆ คือการเข้าถึง, การปรับขนาดเครือข่ายและความเป็น Centralization ของเครือข่าย
โดยเครือข่าย Ethereum 2.0 จะใช้กลไกแบบ PoS แต่ไม่ได้หมายความว่าเครือข่าย Ethereum จะเลิกใช้ PoW ไปเลย คาดเครือข่ายอาจต้องใช้ PoW ไปอีกประมาณสองถึงสามปีซึ่งทีมงานจะต้องทดสอบ PoS อีกสักระยะเวลาหนึ่ง
จนกระทั่งถึงระยะที่ 1.5 บล็อกเชนของ Ethereum จะยังคงใช้เชน PoW อยู่ อย่างไรก็ตามมันจะถูกรวมเข้ามากับเชน PoS หลังพ้นระยะนี้
ทำไม PoW ถึงสำคัญ?
เทคโนโลยีของ PoW เป็นกลไกที่คอยสนับสนุนเครือข่าย Decentralized ซึ่งเป็นกลไกที่พิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัยและที่สำคัญคือเครือข่ายนี้จะทำงานไม่ได้ถ้าหากไม่มีผู้เข้าร่วมเครือข่ายหรือโหนดหลาย ๆ ราย
ข้อเสียของ PoW
แม้ว่า PoW จะเป็นเครือข่ายที่ค่อนข้างมีความปลอดภัยสูงแต่ในประเด็นของความยืดหยุ่นในการใช้งานมันอาจจะไม่ได้มีมากขนาดนั้นและไม่สามารถนำไปใช้กับเครือข่ายที่มีความซับซ้อนสูง ๆ ได้ กล่าวโดยง่ายคือ PoW นำไปใช้ได้เพียงเป็นเครือข่ายที่เอาไว้โอนความมั่งคั่งซึ่งก็คือใช้โอนเงินคริปโตเท่านั้น การใช้งานอื่น ๆ ยังคงไม่มี และปัญหาหลัก ๆ ที่มีอยู่คือเรื่องการเข้าถึงเครือข่าย, การปรับขนาดและความ Centralized
สิ่งที่ Ethereum พบเจอกับการใช้งาน PoW
กลไก PoW ยังคงมีปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขจนถึงปัจจุบันคือเรื่องของการเข้าถึง (Accessibility), ความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่าย (Scalability), การรวมศูนย์ (Centralization)
การเข้าถึง
โดยส่วนใหญ่กระบวนการขุดในตอนนี้ไม่ได้เข้าถึงโดยคนส่วนใหญ่เพราะว่ามันมีต้นทุนสูง ซึ่งมันไม่ควรเป็นเช่นนี้ กลไกแบบ PoS ก็จะเข้ามาแก้ปัญหานี้โดยตรงเพราะมันสามารถผลักดันการเข้าถึงของผู้คนที่อยากเข้ามาร่วมเป็นผู้ตรวจสอบเครือข่ายได้มากกว่า
การปรับขนาดของเครือข่าย
ในตอนนี้เครือข่าย PoW นั้นมีปัญหาเรื่องการปรับขนาดมาก ซึ่ง PoS จะเข้ามาแก้ปัญหานี้เพราะมันไม่จำเป็นนต้องนำพลังประมวลผลคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย แต่ก็ยังไม่ได้แก้เรื่องของลิมิตของ Throughput
การรวมศูนย์
ตอนนี้เครือข่าย Ethereum มี Pool ขุดที่ควบคุมการประมวลเครือข่ายกว่า 51% ซึ่งตรงนี้มันเป็นประเด็นปัญหาเรื่องการรวมศูนย์เอามาก ๆ ทำให้นักขุดรายอื่น ๆ ไม่สามารถเข้าร่วมการขุดบนเครือข่ายได้ทำให้เครือข่าย Ethereum ห่างไกลจากการเป็นระบบแบบกระจายศูนย์อำนาจ
ย้ายจาก PoW ไปยัง PoS
ระบบ PoS จะตัดอุปสรรคในเรื่องของต้นทุนออกไป ไม่จำเป็นต้องมีฮาร์ดแวร์หรือตัวรันโหนดที่มีคว่าใช้จ่ายสูง ๆ ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องค่าไฟฟ้าที่ตอนนี้ระบบ PoW กำลังเผชิญอยู่
แต่สิ่งที่ต้องทำคือผู้ที่ต้องการเข้าร่วมตรวจสอบเครือข่าย ETH 2.0 จะต้องมีการฝากเหรียญเข้าไปก่อนจำนวน 32 ETH แต่ก็สามารถตัดสินใจเข้าร่วมกับ Pool ใหญ่ ๆ ได้โดยไม่ต้องทำเช่นนี้
ส่วนกลไก PoS จะมีการ Sharding เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการปรับขนาดของเครือข่าย และทำให้เครือข่ายมีการกระจายศูนย์อำนาจมากยิ่งขึ้น
บทสรุป
เครือข่าย PoW เป็นกลไกหลักของบล็อกเชน Ethereum มาหลายปีแต่อย่างไรก็ตามกลไกแบบ PoS ที่จะใช้กับ Ethereum 2.0 ก็จะเข้ามาแก้ปัญหาที่ PoW มีอยู่ในปัจจุบัน
ที่มา : cryptopotato