แม้ว่าวอลุ่มการซื้อขายของเหรียญ NFT จะลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่แตะจุดสูงสุดเมื่อช่วงต้นปี แต่เหรียญประเภทดังกล่าวนี้ยังคงเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่นักสะสม ซึ่งเห็นได้จากผลงานศิลปะ NFT ของศิลปินชื่อดัง Beeple ที่มียอดขายทำลายสถิติสูงสุดที่ราคา 69 ล้านดอลลาร์ รวมถึงไอเท็มในเกม NFT ตั๋วงานกิจกรรม และอื่น ๆ
NFT นั้นเป็นโทเค็นที่ไม่สามารถมีซ้ำกันได้ เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนกับ Bitcoin, Ethereum หรือ Cryptocurrency ตัวอื่น ๆ ที่แต่ละหน่วยจะมีมูลค่าเท่ากันเสมอ ( 1 Bitcoin หนึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 1 Bitcoin เสมอ) แต่สำหรับ NFT นั้น 1 หน่วยจะมูลค่าที่ไม่เท่ากันและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตามแม้ว่า NFT มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น แต่ทว่าศิลปินคนเดียวกันก็สามารถสร้างผลงานศิลปะให้มีหลาย ๆ ชิ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างคอลเลคชั่นภาพวาดจำนวน 10 ชุด ซึ่งปกติแล้วผลงานชิ้นแรกมักถูกมองว่าเป็นผลงานที่มีมูลค่ามากที่สุดในหมู่นักสะสม
คุ้มไหมที่สร้างเหรียญ NFT เป็นของตัวเอง ?
เดิมทีมาตรฐานโทเค็น NFT จะมีให้ใช้งานบนเครือข่ายของ Ethereum เท่านั้น แต่ด้วยเครือข่ายสัญญา Smart contract ที่แข่งกันเปิดตัวในปัจจุบัน ทำให้มีการนำเสนอมาตรฐาน NFT ใหม่ ๆ ซึ่งตอนนี้ผู้ใช้สามารถสร้าง NFT บนเครือข่ายที่หลากหลายได้มากขึ้น เช่น Ethereum, Wax, Flow, Binance Smart Chain, Avalanche, Solana และเครือข่ายอื่น ๆ
ด้วยค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในโลก NFT สิ่งนี้ทำให้ใครหลายคนต่างมองหาแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก Ethereum มีค่าธรรมเนียมต่ำ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกรรมของศิลปิน นักสะสม และเหล่าบรรดาแฟนคลับ
ยกตัวอย่างเช่น การใช้บล็อกเชนของ Polygon หรือ Binance Smart Chain ที่มีค่าธรรมเนียมเพียงไม่กี่บาท (หรืออาจน้อยกว่านั้น) ทำให้ใครก็สามารถสร้าง NFT เป็นของตัวเองได้ ไม่ใช่มีไว้สำหรับศิลปินหรือครีเอเตอร์ระดับไฮเอนด์เท่านั้น
NFT ควรมีมูลค่าเท่าไหร่
บางครั้งอาจมันเป็นเรื่องยากที่เราจะประเมินหามูลค่าของ NFT ได้ เนื่องจากมูลค่าของสินทรัพย์ประเภทนี้มักขึ้นอยู่ความเต็มใจของผู้ซื้อ หรือนักสะสม
ชื่อเสียงของตัวศิลปินผู้สร้างเองก็มีผลต่อราคาเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ผลงานภาพวาดของศิลปิน Beeple ที่ถูกประเมินมูลค่าไว้หลายล้านดอลลาร์ ซึ่งมูลค่าผลงานของศิลปินแต่ละคนนั้นก็จะไม่เท่ากัน
สำหรับครีเอเตอร์หน้าใหม่ มูลค่าของ NFT นั้นจะขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของผู้ซื้อ ยกตัวอย่างเช่น ไอเท็มในเกมที่หายากที่มักถูกติดป้ายราคาไว้สูงและแทบจะขายได้ในทันทีเมื่อมีการประกาศ
อย่างไรก็ตาม NFT ยังถือว่าเป็นสินทรัพย์สำหรับการเก็งกำไรและส่วนใหญ่ถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการของตลาด ความขาดแคลน ความอื้อฉาวของตัวผู้สร้าง และความสามารถในการใช้งาน พร้อมด้วยฟีเจอร์อื่น ๆ อีกมากมาย
สรุป
แม้ว่าเราอาจจะได้ยินเกี่ยวกับ NFT เป็นนานแล้ว แต่อุตสาหกรรมแห่งนี้เพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น และสักวันมันจะกลายเป็นที่ยอมรับมากขึ้นและสามารถเข้าถึงได้โดยผู้ใช้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน, นักแคสเกม, นักกีฬาและธุรกิจ พวกเขาจะสามารถเข้าถึงวิธีการใหม่ ๆ สำหรับการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ที่ไม่สามารถมีซ้ำกันได้ในโลกใบใหม่แห่งนี้