<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ธนาคารไทยพาณิชย์กระโดดเข้าวงการ DeFi ด้วยเงินลงทุนกว่า 110 ล้านดอลลาร์

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย หรือไทยพาณิชย์กำลังมองว่า เทคโนโลยีบล็อคเชนและ DeFi เป็นอนาคตของการเงินโลก และพวกเขากำลังพยายามลงทุนในวงการใหม่นี้

แม้ว่าสถาบันการเงินจะให้ความสนใจกับคริปโตเคอร์เรนซี่อย่างจริงจังมากขึ้น แต่ความสนใจของผู้เล่นรายใหญ่มักจะอยู่ที่ Bitcoin (BTC) อย่างไรก็ตามสินทรัพย์คริปโตอื่น ๆ อย่าง Ether (ETH) และวงการ DeFi กำลังเริ่มที่จะดึงดูดความสนใจของนักลงทุนรายใหญ่ด้วยเช่นกัน

สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กระแส DeFi เป็นจุดสนใจหลักของการขับเคลื่อนสินทรัพย์ดิจิทัลในปัจจุบัน โดยพวกเขาเตรียมพร้อมรับมือกับ disruption ทางเทคโนโลยีของการเงินแบบกระจายอำนาจ ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ยังคงไม่ตัดสินใจ ที่จะตอบโต้กับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยทางธนาคาร SCB กล่าวว่า พวกเขามีความกระตือรือร้นที่จะมอบเงินทุน เพื่อการสำรวจพื้นที่บล็อคเชนและ DeFi เพิ่มขึ้น

ความสนใจทางด้าน DeFi ของธนาคาร SCB อยู่ในช่วงที่หน่วยงานกำกับดูแลในประเทศไทย กำลังมุ่งเน้นไปที่พื้นที่การเงินแบบกระจายอำนาจ เพื่อให้มีกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งที่จริงแล้วความสนใจด้านกฎระเบียบกำลังเกิดขึ้นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งหน่วยงานระดับชาติและระหว่างรัฐบาลที่ต้องการกำหนดนโยบายทางกฎหมายสำหรับตลาด DeFi

DeFi ถือเป็นการกระจายอำนาจและเป็นการแยกตัวจากระบบการเงินโลก อย่างไรก็ตาม การที่ธนาคารและสถาบันการเงินเข้ามาลงทุนในเทคโนโลยีการกระจายอำนาจนี้ ทำให้ DeFi ดูเหมือนจะเปลี่ยนไปสู่รูปแบบไฮบริด หรือที่รู้จักกันในชื่อ regulated DeFi ซึ่งรวมเอาบรรทัดฐานที่มีอยู่ และประสิทธิภาพของการเงินแบบดั้งเดิม, การชำระบัญชีแบบรวดเร็ว, และการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับโปรโตคอลการกระจายอำนาจมาใช้ด้วย

ความกระตือรือร้นทางด้าน DeFi 

สงครามบล็อคเชนมูลค่า 110 ล้านดอลลาร์ของธนาคารไทยพาณิชย์ เริ่มต้นจาก SCB 10X ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของธนาคารที่เริ่มต้นขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ กองทุนนี้ได้เสริมความแข็งแกร่งให้กับแนวทางการวางแผนล่วงหน้าของธนาคาร ในการพัฒนาการเงินดิจิทัล

จากการให้สัมภาษณ์กับ  Cointelegraph คุณ มุขยา พานิช ซึ่งเป็น Chief Venture and Investment Officer ของ SCB 10X  กล่าวว่า “เรากำลังทำงานในอุตสาหกรรมบล็อคเชนและเริ่มให้ความสนใจกับ DeFi และเรารู้สึกทึ่งกับมัน” ธนาคารมองเห็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของเทคโนโลยี DeFi ที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปได้ของสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม

คุณมุขยายังได้กล่าวถึงลักษณะการปฏิวัติของสัญญาอัจฉริยะ ( smart contract) และวิธีที่สิ่งเหล่านี้จะสามารถเปิดใช้งานธุรกรรมโดยตรงระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ผู้ให้กู้และผู้ยืมโดยไม่ต้องมีตัวกลางได้

เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ DeFi จะพลิกสถานะการเงินที่เป็นอยู่เดิม คุณมุขยากล่าวว่า ธนาคารควรเตรียมรับมือกับ disruption ที่จะเกิดขึ้น

“เหตุผลที่เราต้องการลงทุนใน DeFi และเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศของโปรโตคอล DeFi ก็เพราะว่าเราต้องการทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จาก DeFi เนื่องจากศักยภาพของ DeFi อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเงินอย่างมีนัยสำคัญ”

กองทุนบล็อกเชนและ DeFi มูลค่ากว่า 110 ล้านดอลลาร์ นับเป็นจำนวนเกือบครึ่งหนึ่งของกองทุน venture capital fund ใน SCB 10X ซึ่งมีมูลค่ามูลค่า 220 ล้านดอลลาร์เลยทีเดียว โดยคุณมุขยาได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการจัดสรรสินทรัพย์ดิจิทัลว่า เป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของธนาคารที่มีต่อพื้นที่ DeFi โดยเธอเสริมว่า:

“SCB 10X ได้ลงทุน และพัฒนาความสัมพันธ์เชิงความร่วมมือหลายครั้งกับชุมชนบล็อคเชนในเอเชียและทั่วโลก รวมถึง Ripple, BlockFi, Sygnum, Alpha Finance Lab, Anchorage, Anchor Protocol (ส่วนหนึ่งของ Terra chain), Axelar และ Ape Board เป็นต้น ”

การเปลี่ยนแปลงของการเงินโลก

ย้อนกลับไปในเดือนเมษายน John Whelan ผู้บริหารของ Banco Santander ในกรุงมาดริด ได้เสนอข้อโต้แย้งเกี่ยวกับ regulated DeFi  จากข้อมูลของ Whelan เผยว่า เครือข่าย layer-two settlement แบบส่วนตัว สำหรับประเภทสินทรัพย์ที่ทำงานบนบล็อคเชนสาธารณะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

จากข้อมูลของ Whelan ระบุอีกว่า การนำบล็อคเชนมาใช้เพื่อลดปริมาณการประมวลผลธุรกรรม เป็นจุดสนใจหลักสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการเงินรุ่นเก่า Whelan เน้นย้ำว่า สถาบันการเงินจะหาวิธีนำเทคโนโลยี DeFi มาใช้กับกระบวนการ  backend ของตนเองแทนแบบเก่า

คุณมุขยายังสะท้อนความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกันว่า “ฉันต้องการชี้ให้เห็นว่า ฉันเห็นอนาคตที่บริษัททางการเงินแบบดั้งเดิมจะทำงานร่วมกับบริษัท DeFi มุมมองของฉันคือ ในอนาคตจะมีการบูรณาการการเงินแบบดั้งเดิมกับ DeFi”

ผู้บริหารด้านการลงทุนของ SCB 10X ของธนาคารที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนานเผยว่า  “การพบปะกับลูกค้า” เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อนำเสนอบริการทางด้านฟินเทค ซึ่งเป็นเป็นนวัตกรรมใหม่แก่ผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น เธอกล่าวเสริมว่า “ในอนาคต ฉันอาจเห็นโลกที่ DeFi สามารถขับเคลื่อน backend ของบริษัทการเงินแบบดั้งเดิมได้” 

สำหรับ Rachid Ajaja ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง AllianceBlock ซึ่งเป็นบริษัทการเงินแบบกระจายอำนาจ มองว่า DeFi จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการเงินแบบเดิมในระยะยาว อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่า แนวโน้มระยะสั้นจะมีสถาบันการเงินที่ใช้ประโยชน์จากการเงินแบบกระจายอำนาจมากขึ้น

ซีอีโอของ AllianceBlock มองว่า เช่นเดียวกับยุคการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เห็นการเกิดขึ้นในบริษัทฟินเทคที่ให้บริการผ่าน API ที่เชื่อมต่อกับระบบธนาคาร  นาย Ajaja กล่าวกับ Cointelegraph เพิ่มเติมว่า “ด้วยการเชื่อมต่อระหว่าง DeFi และสถาบันการเงิน เราจะเห็นสิ่งเดียวกันทุกประการทีละนิด ซึ่งจะทำให้ระบบแบบเดิมเปลี่ยนไป” 

“ในระยะยาว ผมมั่นใจอย่างยิ่งว่า DeFi จะทำให้ระบบการเงินทั่วโลกดีขึ้นอย่างสมบูรณ์ เพราะทุกอย่างที่ทำในการเงินแบบเดิม สามารถทำซ้ำได้ใน DeFi ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ไม่ต้องการคนกลาง และยังมีโอกาสใหม่ ๆ และเพิ่มช่องทางรายได้ใหม่ ๆ ซึ่งมันเป็นเพียงเรื่องของเวลาเท่านั้น”

Craig Russo ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมของ PolyientX ยังให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางในอนาคตที่เป็นไปได้ในการนำ DeFi ไปใช้ในด้านการเงินทั่วโลก Russo ให้สัมภาษณ์กับ Cointelegraph ว่า สถาบันการเงินมักจะนำ open-access protocol มาใช้ผ่าน Compound Treasury ในขณะเดียวกันก็ใช้เทคโนโลยี DeFi มาใช้กับระบบภายในอีกด้วย

นาย Russo กล่าวเพิ่มเติมว่า “เป้าหมายใหญ่ของการดำเนินการทางด้าน DeFi คือ การปรับปรุงระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างแรงจูงใจ ซึ่งอาจขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบางสถาบัน แต่ในท้ายที่สุดจะเป็นการเปิดประตูสู่คลื่นลูกใหม่ของนวัตกรรมฟินเทค” รุสโซกล่าวเสริม

การจัดการกับแรงกดดันทางด้านกฎระเบียบ

ในขณะที่ธนาคาร SCB ยังคงสำรวจโอกาสในการลงทุนบล็อคเชน หน่วยงานกำกับในประเทศไทยกำลังให้ความสำคัญกับ DeFi โดยหากย้อนกลับไปเมื่อเดือนมิถุนายน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ประกาศแผนการที่จะพิจารณาระบบการออกใบอนุญาต สำหรับโปรโตคอลทางการเงินแบบกระจายอำนาจ โดยเฉพาะโปรเจ็คการออกโทเค็น

คุณมุขยากล่าวแสดงความเห็นเกี่ยวกับวิธีที่ธนาคารจะจัดการกับข้อกฎหมายที่เข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับ DeFi ว่า “เป้าหมายของ SCB 10X คือ การทำงานอย่างเต็มที่ภายใต้กฎระเบียบที่รัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแลกำหนด เช่น สำนักงาน ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทย”

“เทคโนโลยีบล็อกเชนและ DeFi เป็นอุตสาหกรรมเกิดใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในฐานะผู้เล่น TradFi ที่ทำงานใน DeFi เรามีหน้าที่ต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาล และหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อช่วยนำเสนอมุมมองของอุตสาหกรรมนี้และเพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว”

แผนการของสำนักงาน ก.ล.ต. ไทยในการพิจารณากฎระเบียบทางด้าน DeFi นั้นบ่งบอกถึงความสนใจในปัจจุบัน ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกก็ได้ให้ความสนใจกับ DeFi เช่นกัน นอกจากนี้ในเดือนมิถุนายน World Economic Forum ได้ออกนโยบายสำหรับกฎระเบียบ DeFi เพื่อความยุติธรรมและความมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความพยายามที่จะทำให้กฎระเบียบมีความยุติธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น มาจากความกลัวว่า สตาร์ทอัพบล็อกเชนอาจเสียเปรียบจากมุมมองด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ซึ่งหากมีการใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นกับ DeFi เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในธนาคารและสถาบันการเงิน การเจรจาข้อจำกัดด้านนโยบายเหล่านี้อาจง่ายขึ้น

Ajaja จาก AllianceBlock ได้ให้สัมภาษณ์กับ Cointelegraph  โดยชี้ให้เห็นถึงประเด็นเดียวกันว่า “DeFi ดั้งเดิมนั้นเสียเปรียบอย่างแน่นอนในเรื่องนี้ เมื่อเทียบกับคู่สัญญาของพวกเขาในด้านการเงินกระแสหลัก” ด้วยเหตุนี้ Ajaja ระบุว่า เกตเวย์การปฏิบัติตามข้อกำหนดสำหรับโปรโตคอล เช่น Know Your Customer และการต่อต้านการฟอกเงิน มีความจำเป็นในการก้าวไปสู่การเงินกระแสหลักและการเคลื่อนย้ายไปสู่การเชื่อมต่อกับสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริงของ DeFi แบบดั้งเดิม

ที่มา: CoinTelegraph