จากผลการวิจัยที่เปิดเผยในงาน “Financial Technology and Inclusion” ของอาเซียนที่ขึ้นจัดโดย ASEAN Global Connections และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า ในปัจจุบันการโอนเงินได้เปลี่ยนแปลงไปใช้ระบบดิจิทัลแล้ว เห็นได้จากการที่ธุรกิจ StartUp ส่วนใหญ่ที่เริ่มใช้การชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลและการชำระหนี้ข้ามพรมแดน รายงานระบุว่าว่า Ripple เป็นผู้ให้บริการชำระเงินข้ามพรมแดนที่โดดเด่นที่สุด รวมถึง Nium ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์คนสำคัญของ Ripple
อาเซียนหมายถึง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่รวบรวม 10 ประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม มารวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ในภูมิภาคเอเชียนั้นก็กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องของการชำระเงินที่กำลังจะเปลี่ยนไปใช้การชำระเงินแบบดิจิทัลเช่นกัน
จากการสำรวจพบว่า ทางเลือกที่อำนวยความสะดวกในการชำระเงินข้ามพรมแดนก็คือ การเปลี่ยนมาใช้การชำระเงินแบบดิจิทัล ซึ่งนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกแล้วยังสามารถช่วยให้การชำระเงินในประเทศสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นอีกทั้ง การเปลี่ยนมาใช้การชำระเงินแบบดิจิทัลนี้จะช่วยทำให้ภูมิภาคกลายเป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมการชำระเงินอีกด้วย
โดย APAC (ประชากรในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก) ได้ก้าวขึ้นมาครองธุรกิจธนาคารดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยคิดเป็น 20% ของธนาคารดิจิทัลประมาณ 250 แห่งทั่วโลก
ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าศูนย์กลางทางการเงินที่มีการแข่งขันสูงที่สุดในโลก ได้มีการออกกฎหมายของรัฐบาลที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนเทคโนโลยีการชำระเงินที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ส่งผลให้การชำระเงินรวดเร็วเพิ่มสูงขึ้นถึง 58% ในปี 2021 ประเทศฟิลิปปินส์เองก็มีการแข่งขันทางการเงินเช่นกัน โดยที่ตลาดคริปโตได้เติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 71% ในช่วงระหว่างปี 2020 และ 2021
ความคืบหน้าของ Ripple-SEC
ความคืบหน้าล่าสุดในคดี Ripple-SEC ได้มีการยื่นคำให้การของจำเลยแล้ว โดย
ศาลได้กำหนดวันสุดท้ายในเรื่องของตำแหน่ง SEC คือภายในวันที่ 15 เมษายน 2022 และกำหนดเส้นตายสำหรับคำสั่งกำหนดการที่เสนอร่วมในวันที่ 22 เมษายน 202 โดยคาดว่าศาลจะตัดสินตามคำเรียกร้องของคณะกรรมการ ก.ล.ต.