<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้ให้บริการตู้ Bitcoin ATM ในสหรัฐฯถูกยึดตู้ ATM กว่า 40 เครื่อง หลังพบว่าพัวพันกับสิ่งผิดกฎหมาย

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

นาย Robert Taylor ผู้ดำเนินธุรกิจตู้  ATM bitcoin  ถูกฟ้องคดีในนิวยอร์กในข้อหาทำธุรกิจที่ผิดกฎหมาย โดยมีทางอัยการเขต นาย Robert Taylor เป็นผู้รับผิดชอบในคดีนี้ 

ตู้ Bitcoin ATM  จำนวนกว่า 46 เครื่อง ถูกเรียกเก็บ โดยอัยการเขตแมนฮัตตัน Alvin Bragg Jr. เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า Robert Taylor ถูกฟ้องร้อง “ในการดำเนินธุรกิจ Bitcoin ATM ที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเขาถูกกล่าวหาว่าได้ทำธุรกิจร่วมกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดทางอาญา”

ตามประกาศระบุว่าTaylor ได้เปิดให้บริการตู้ bitcoin อย่างน้อย 46 แห่งในนิวยอร์กซิตี้ ส่วนใหญ่อยู่ในร้านซักผ้าหยอดเหรียญ เช่นเดียวกับสถานที่อื่น ๆ ในนิวเจอร์ซีย์และไมอามี่

ในช่วงระหว่างปี 2017 จนถึงปี 2018 ชายวัย 35 ปี “แปลงเงินสดของลูกค้ามากกว่า 5.6 ล้านดอลลาร์เป็น bitcoin ในขณะที่คิดค่าธรรมเนียมระหว่าง 10% ถึง 20%” อัยการเขตให้รายละเอียด

Taylor ถูกตั้งข้อหา “หลายกระทงในการดำเนินธุรกิจการโอนเงินโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตและการฉ้อโกงภาษีทางอาญา”

Bragg อธิบายว่า “Robert Taylor ถูกกล่าวหาว่าพยายามอย่างมากที่จะรักษาธุรกิจตู้ bitcoin ของเขาเป็นความลับที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่จะจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อปกปิดตัวตนของพวกเขา”

ในขณะที่การใช้คริปโต อย่างเช่น Bitcoin กำลังเป็นที่นิยมมาก ทำให้ ตู้ ATM Bitcoin ยังสามารถเป็นตัวเลือกที่สำหรับคนที่ต้องการจะหลีกเลี่ยงกฎหมายจากการกระทำความผิด

ประกาศระบุเพิ่มเติมว่า หมายค้นจากศาลส่งผลให้ Taylor ต้องคืนเงินสดจำนวน $250,000 สำหรับอพาร์ตเมนต์ของ Taylor เช่นเดียวกับตู้ ATM Bitcoin 20 ตู้ที่มีเงินสดจำนวน $44,000

การวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่ามีการฝากเงินสดมากกว่า 5.6 ล้านดอลลาร์ในตู้ ATM Bitcoin ของ Taylor ในช่วงระหว่างเดือนกันยายน 2017 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2018 โดยมีค่าธรรมเนียมมากกว่า $590,000 และยังมีการฝากเงินประมาณ $160,000 ในบัญชีธนาคารส่วนตัวของ Taylor

อย่างไรก็ตาม Taylor รายงานว่าตัวเขาได้รายได้เพียง $3,000 จากการคืนภาษีในปี 2560 และขาดทุนกว่า $140,000 จากการคืนภาษีในปี 2561

นอกจากนี้ ธุรกิจตู้ ATM Bitcoin ของเขายังไม่มีใบอนุญาตการโอนเงินหรือใบอนุญาตธุรกิจสกุลเงินเสมือน (Bitlicense) จากกระทรวงบริการทางการเงินแห่งรัฐนิวยอร์ก (DFS) นอกจากนี้ยังไม่ได้รับอนุญาตจากเครือข่ายการบังคับใช้อาชญากรรมทางการเงินของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ (FinCEN) อีกด้วย

ที่มา : Bitcoin.com