<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เปิดทุกคำพูดของ “Satoshi Nakamoto” บิดานิรนามผู้สร้าง Bitcoin ก่อนหายตัวไปตลอดกาล

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เชื่อว่าชาวคริปโตทุกคนคงรู้จักชื่อของ  Satoshi Nakamoto นามแฝงของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ให้กำเนิด  Bitcoin และบล็อกเชน ซึ่งถึงแม้ว่าตัวตนของเขาจะยังคงเป็นปริศนามานานนับทศวรรษ แต่จนถึงทุกวันนี้ Satoshi Nakamoto คือบุคคลที่ได้รับเชิดชูในฐานะผู้ปฏิวัติวิธีการชำระเงิน และเขาก็คือผู้ที่เปิดโอกาสใหม่ ๆ มากมายให้กับธุรกิจและผู้คนทั่วโลก

ก่อนที่ Satoshi จะหายตัวไป เขาเคยพูดหลายสิ่งหลายอย่างในอีเมล และโพสต์ในฟอรัม Bitcointalk อยู่หลายครั้ง โดยมีครั้งหนึ่ง Satoshi กล่าวว่า เขาเก่งเรื่องเขียนโค้ดมากกว่าคำพูด อย่างไรก็ตาม บางทีเขาอาจจะไม่รู้ตัวว่าตนเองเก่งทั้งสองเรื่องก็เป็นได้ ซึ่งถ้าหากใครอยากรู้ว่าผู้สร้าง Bitcoin เคยกล่าวถ้อยคำอะไรไว้บ้าง ก็มาร่วมอ่านคำกล่าวของเขาในอดีตไปพร้อมกับทางสยามบล็อกเชนกันได้เลย

“The nature of Bitcoin is such that once version 0.1 was released, the core design was set in stone for the rest of its lifetime. – ธรรมชาติของ Bitcoin เป็นแบบนั้น เมื่อเวอร์ชัน 0.1 เปิดตัว การออกแบบระบบหลักก็จะถูกกำหนดให้กลายเป็นหินไปตลอดชีวิตที่เหลือ”

เมื่อ Bitcoin เวอร์ชัน 0.1 เปิดตัวในปี 2009 การออกแบบระบบหลักถูกกำหนดเส้นทางไว้แล้ว มีการอัปเดตเล็กน้อยในบล็อกเชนตั้งแต่นั้นมา แต่การออกแบบระบบหลักยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

“I’m sure that in 20 years there will either be very large transaction volume or no volume. – ผมแน่ใจว่าในอีก 20 ปี จะมีทั้งปริมาณธุรกรรมจำนวนมาก หรือไม่มีเลย”

ข้อความนี้ Satoshi อาจต้องการสื่อหมายความว่า อนาคตของ Bitcoin จะขึ้นอยู่กับปริมาณธุรกรรม ดังนั้นในอีก 20 ปีข้างหน้า Bitcoin จะเป็นสกุลเงินที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก หรือจะกลายเป็นความล้มเหลวของเขา ทั้งหมดนี้ล้วนขึ้นอยู่กับปริมาณธุรกรรมทั้งสิ้น

“If you don’t believe it or don’t get it, I don’t have the time to try to convince you, sorry – ถ้าคุณไม่เชื่อหรือไม่เข้าใจ ผมไม่มีเวลามาพยายามโน้มน้าวคุณ ขอโทษ”

ดูเหมือน Satoshi จะไม่สนใจเรื่องการโน้มน้าวใจคนที่ไม่เชื่อใน Bitcoin เพราะเขาอาจจะเชื่อว่า Bitcoin เป็นเทคโนโลยีแห่งการปฏิวัติที่จะประสบความสำเร็จในที่สุด หรือเขาอาจจะต้องการทุ่มเททรัพยากรอันมีค่าอย่าง “เวลา” ไปกับการพัฒนา Bitcoin และบล็อกเชน มากกว่าการใช้เวลาไปกับการโน้มน้าวใจผู้คนที่ไม่เปิดรับแนวคิดนี้

“The root problem with conventional currency is all the trust that’s required to make it work. The central bank must be trusted not to debase the currency, but the history of fiat currencies is full of breaches of that trust. – ต้นตอของปัญหาเกี่ยวกับสกุลเงินทั่วไปคือ ความไว้วางใจทั้งหมดที่จำเป็นต่อการทำให้สกุลเงินนี้ใช้งานได้จริง ธนาคารกลางต้องได้รับความไว้วางใจ ไม่ใช่ลดคุณค่าของเงิน แต่ประวัติของสกุลเงิน fiat เต็มไปด้วยการละเมิดความไว้วางใจนั้น”

ประวัติของสกุลเงิน fiat เต็มไปด้วยเหตุการณ์ที่รัฐบาลหรือธนาคารใช้ความน่าเชื่อถือในทางที่ผิด ตัวอย่างเช่น ในสาธารณรัฐไวมาร์ รัฐบาลเยอรมันพิมพ์เงินจำนวนมากจนมูลค่าของสกุลเงินพังทลาย ซึ่งสิ่งนี้นำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงซึ่งทำให้ผู้คนไม่สามารถซื้ออาหารและสิ่งของจำเป็นอื่น ๆ แต่ Bitcoin ได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องความไว้วางใจนี้

“Being open source means anyone can independently review the code. If it was closed source, nobody could verify the security. I think it’s essential for a program of this nature to be open source. – การเป็นโอเพ่นซอร์สหมายความว่า ทุกคนสามารถตรวจสอบโค้ดได้อย่างอิสระ เพราะแหล่งข้อมูลแบบปิดทำให้ไม่มีใครสามารถตรวจสอบความปลอดภัยได้ ผมคิดว่าโปรแกรมในลักษณะนี้มันจำเป็นที่จะต้องเป็นโอเพ่นซอร์ส”

ในกรณีของ Bitcoin การเป็นโอเพ่นซอร์สมีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ เพราะการที่ทุกคนสามารถตรวจสอบโค้ดได้ หมายความว่ามีโอกาสน้อยที่จะมีช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า Satoshi พยายามอย่างเต็มที่เพื่อทำให้ Bitcoin เป็นสกุลเงินที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้

“Lost coins only make everyone else’s coins worth slightly more. Think of it as a donation to everyone. – เหรียญที่หายไปจะทำให้เหรียญของคนอื่นมีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คิดว่าเป็นการบริจาคให้กับทุกคนก็แล้วกัน”

เมื่อก่อนผู้คนไม่ได้สนใจเรื่องนี้มากนัก ดังนั้นพวกเขาจึงลืม หรือไม่ได้จด หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพวกเขามี seed phrase ซึ่งจากจุดนี้เองที่ส่งผลให้ในอนาคตอาจมี Bitcion กว่า 3 – 6 ล้านเหรียญที่จะต้องสูญหายไปตลอดกาล ดังนั้นบางที Satoshi อาจรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ประเด็นนี้จะกลายเป็นเรื่องสำคัญในอนาคตของสกุลเงินดิจิทัล

“I’ve developed a new open source P2P e-cash system called Bitcoin. It’s completely decentralized, with no central server or trusted parties, because everything is based on crypto proof instead of trust. – ผมได้พัฒนาระบบ e-cash แบบโอเพ่นซอร์ส P2P ใหม่ที่เรียกว่า Bitcoin มีการกระจายอำนาจอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลางหรือฝ่ายที่เชื่อถือได้ เพราะทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับการพิสูจน์ด้วยการเข้ารหัสแทนที่จะเป็นความเชื่อถือ”

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงถ้อยคำบางส่วนของ Satoshi Nakamoto ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการทำงานเพื่อทำให้ Bitcoin เป็นระบบการเงินที่มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ สามารถส่งไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และสามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคน

ทั้งนี้ข้อความอื่น ๆ ที่เขาเคยทิ้งไว้ในอีเมลหรือโพสต์ในฟอรัม Bitcointalk ยังมีอีกมากมาย โดยข้อความที่ชุมชน Bitcoin บน Reddit สามารถรวบรวมมาได้นั้น มีดังนี้

“At first, most users would run network nodes, but as the network grows beyond a certain point, it would be left more and more to specialists with server farms of specialized hardware. A server farm would only need to have one node on the network and the rest of the LAN connects with that one node. – ในตอนแรก ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเรียกใช้ node เครือข่าย แต่เมื่อเครือข่ายเติบโตถึงจุดหนึ่ง ก็จะปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีฟาร์มเซิร์ฟเวอร์ของฮาร์ดแวร์พิเศษมากขึ้นเรื่อย ๆ ฟาร์มเซิร์ฟเวอร์จำเป็นต้องมี node เดียวบนเครือข่ายและ LAN ที่เหลือเชื่อมต่อเข้ากับ node เดียว”

“For greater privacy, it’s best to use bitcoin addresses only once – เพื่อความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้น ควรใช้ที่อยู่ bitcoin เพียงที่อยู่เดียว”

“A purely peer-to-peer version of electronic cash would allow online payments to be sent directly from one party to another without going through a financial institution. – เงินสดอิเล็กทรอนิกส์แบบเพียร์ทูเพียร์จะช่วยให้การชำระเงินออนไลน์ถูกส่งโดยตรงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่างสถาบันทางการเงิน”

“I’ve been working on bitcoin’s design since 2007. At some point I became convinced there was a way to do this without any trust required at all and couldn’t resist to keep thinking about it. – ผมทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ Bitcoin มาตั้งแต่ปี 2007 เมื่อถึงจุดหนึ่งผมก็เชื่อว่า มีวิธีที่จะทำสิ่งนี้โดยไม่ต้องใช้ความไว้วางใจใด ๆ เลย และอดไม่ได้ที่จะคิดถึงมันอยู่ตลอดเวลา”

“Banks must be trusted to hold our money and transfer it electronically, but they lend it out in waves of credit bubbles with barely a fraction in reserve. We have to trust them with our privacy, trust them not to let identity thieves drain our accounts. Their massive overhead costs make micropayments impossible. – ธนาคารต้องได้รับความไว้วางใจให้ถือเงินของเราและโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่พวกเขากลับให้ยืมพวกมัน ท่ามกลางคลื่นวิกฤตฟองสบู่โดยมีเงินสำรองเพียงเล็กน้อย เราต้องเชื่อใจพวกเขาในความเป็นส่วนตัวของเรา เชื่อใจพวกเขาว่าจะไม่ปล่อยให้ขโมยข้อมูลระบุตัวตนเพื่อขโมยเงินออกจากบัญชีของเรา ค่าโสหุ้ย (Overhead Cost) จำนวนมหาศาลของพวกเขาจะทำให้การชำระเงินแบบไมโครเป็นไปไม่ได้”

“The heat from your computer is not wasted if you need to heat your home. – ความร้อนจากคอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่สูญเปล่า หากคุณต้องการทำให้บ้านของคุณร้อนขึ้น”

“Yes, [we will not find a solution to political problems in cryptography,] but we can win a major battle in the arms race and gain a new territory of freedom for several years. Governments are good at cutting off the heads of a centrally controlled networks like Napster, but pure P2P networks like Gnutella and Tor seem to be holding their own. – ใช่ [เราจะไม่พบวิธีแก้ปัญหาทางการเมืองใน cryptography] แต่เราสามารถชนะการต่อสู้ครั้งสำคัญในการแข่งขันทางอาวุธและได้รับอิสรภาพใหม่เป็นเวลาหลายปี รัฐบาลเก่งในการตัดหัวเครือข่ายที่ควบคุมจากส่วนกลางเช่น Napster แต่เครือข่าย P2P อย่าง Gnutella และ Tor ดูเหมือนจะไม่สามารถถูกแทรกแซงได้โดยรัฐบาล”

“I don’t believe a second, compatible implementation of Bitcoin will ever be a good idea. So much of the design depends on all nodes getting exactly identical results in lockstep that a second implementation would be a menace to the network. – ผมไม่เชื่อว่าการนำ Bitcoin มาใช้ร่วมกันจะเป็นความคิดที่ดี การออกแบบส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ node ทั้งหมดที่ได้รับผลลัพธ์ที่เหมือนกันทุกประการใน lockstep ซึ่งการใช้งานครั้งที่สองจะเป็นภัยต่อเครือข่าย”

“I anticipate there will never be more than 100K nodes, probably less. It will reach an equilibrium where it’s not worth it for more nodes to join in. The rest will be lightweight clients, which could be millions. – ผมคาดว่าจะไม่มี node มากไปกว่า 100,000 node และอาจจะน้อยกว่านี้ มันจะถึงจุดสมดุล ซึ่งไม่คุ้มที่จะมี node เพิ่มเติมมาเข้าร่วม ส่วนที่เหลือจะเป็นไคลเอนต์ที่มีน้ำหนักเบา ซึ่งอาจมีอยู่เป็นล้าน”

“In this sense, it’s more typical of a precious metal. Instead of the supply changing to keep the value the same, the supply is predetermined and the value changes. As the number of users grows, the value per coin increases. It has the potential for a positive feedback loop; as users increase, the value goes up, which could attract more users to take advantage of the increasing value. – ในแง่นี้ เป็นเรื่องปกติของโลหะมีค่ามากกว่า แทนที่อุปทานจะเปลี่ยนเพื่อให้มูลค่าคงเดิม อุปทานจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า และมูลค่าจะเปลี่ยนไป เมื่อจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้น มูลค่าต่อเหรียญก็เพิ่มขึ้น มีศักยภาพในการตอบรับเชิงบวก เมื่อผู้ใช้เพิ่มขึ้น มูลค่าก็เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถดึงดูดผู้ใช้ให้มาใช้ประโยชน์จากมูลค่าที่เพิ่มขึ้น”

“Bitcoin addresses you generate are kept forever. A bitcoin address must be kept to show ownership of anything sent to it. If you were able to delete a bitcoin address and someone sent to it, the money would be lost. – ที่อยู่ Bitcoin ที่คุณสร้างขึ้นจะถูกเก็บไว้ตลอดไป ต้องเก็บที่อยู่ Bitcoin ไว้เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของสิ่งที่ส่งไป หากคุณสามารถลบที่อยู่ Bitcoin เมื่อมีคนส่งมันมา เงินของคุณก็จะหายไป”

“Sigh… why delete a  wallet instead of moving it aside and keeping the old copy just in case? You should never delete a wallet. – เฮ้อ… ทำไมต้องลบกระเป๋าเงินแทนที่จะย้ายทิ้งและเก็บสำเนาเก่าไว้ในกรณีนี้? คุณไม่ควรลบกระเป๋าเงิน”

“The result is a distributed system with no single point of failure. Users hold the crypto keys to their own money and transact directly with each other, with the help of the P2P network to check for double-spending. – ผลลัพธ์ที่ได้คือระบบแบบ distributed system ที่ไม่มีข้อผิดพลาดแม้แต่จุดเดียว ผู้ใช้ถือ crypto keys เพื่อเงินของตนเอง และทำธุรกรรมระหว่างกันโดยตรง ด้วยความช่วยเหลือจากเครือข่าย P2P เพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายซ้ำซ้อน”

“It is strictly necessary that the longest chain is always considered the valid one. – จำเป็นอย่างยิ่งที่ chain ที่ยาวที่สุดจะต้องถูกพิจารณาว่าเป็น chain ที่ถูกต้องสมบูรณ์เสมอ”

“The receiver of a payment must wait an hour or so before believing that it’s valid. The network will resolve any possible double-spend races by then. – ผู้รับการชำระเงินต้องรอประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนที่จะเชื่อว่าถูกต้อง เครือข่ายจะแก้ไขการแข่งขันแบบ double-spend ที่เป็นไปได้ภายในเวลานั้น”

“The guy who received the double-spend that became invalid never thought he had it in the first place. His software would have shown the transaction go from “unconfirmed” to “invalid”. If necessary, the UI can be made to hide transactions until they’re sufficiently deep in the block chain. – คนที่ได้รับเงินสองเท่าที่กลายเป็นโมฆะ ไม่เคยคิดว่าเขามีมันตั้งแต่แรก ซอฟต์แวร์ของเขาจะแสดงธุรกรรมที่เปลี่ยนจาก “ไม่ยืนยัน” เป็น “ไม่ถูกต้อง” และถ้าจำเป็น สามารถสร้าง UI เพื่อซ่อนธุรกรรมได้จนกว่าจะลึกเพียงพอในบล็อกเชน”

“The fact that new coins are produced means the money supply increases by a planned amount, but this does not necessarily result in inflation. If the supply of money increases at the same rate that the number of people using it increases, prices remain stable. If it does not increase as fast as demand, there will be deflation and early holders of money will see its value increase. Coins have to get initially distributed somehow, and a constant rate seems like the best formula. – ความจริงที่ว่ามีการผลิตเหรียญใหม่ หมายความว่าปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนที่วางแผนไว้ แต่สิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเสมอไป หากปริมาณเงินเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับจำนวนคนใช้ที่เพิ่มขึ้น ราคาก็จะคงที่ หากไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามความต้องการ จะเกิดภาวะเงินฝืดและผู้ถือครองเงินก่อนหน้านี้จะเห็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น เหรียญต้องได้รับการแจกจ่ายในขั้นต้น และอัตราคงที่ดูเหมือนจะเป็นสูตรที่ดีที่สุด”

“Proof-of-work has the nice property that it can be relayed through untrusted middlemen. We don’t have to worry about a chain of custody of communication. It doesn’t matter who tells you a longest chain, the proof-of-work speaks for itself. – Proof-of-work มีคุณสมบัติที่ดีที่สามารถถ่ายทอดผ่านคนกลางที่ไม่น่าเชื่อถือ เราไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับ chain ที่ดูแลการสื่อสาร ไม่สำคัญว่าใครจะบอกคุณว่า chain ที่ยาวที่สุดเป็นอย่างไร เพราะ Proof-of-work จะบอกได้ด้วยตัวเอง”

“As computers get faster and the total computing proof-of-worker applied to creating bitcoins increases, the difficulty increases proportionally to keep the total new production constant. Thus, it is known in advance how many new bitcoins will be created every year in the future. – ในขณะที่คอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้น และ proof-of-worker พิสูจน์หลักฐานการคำนวณทั้งหมดที่นำไปใช้ในการสร้าง bitcoins เพิ่มขึ้น ความยากก็เพิ่มขึ้นตามสัดส่วน เพื่อรักษาการผลิตบล็อกใหม่ทั้งหมดให้คงที่ ดังนั้นจึงเป็นที่ทราบล่วงหน้าว่าจะมีการสร้าง bitcoins ใหม่จำนวนเท่าใดทุกปีในอนาคต”

“What is needed is an electronic payment system based on cryptographic proof instead of trust, allowing any two willing parties to transact directly with each other without the need for a trusted third party. Transactions that are computationally impractical to reverse would protect sellers from fraud, and routine escrow mechanisms could easily be implemented to protect buyers. – สิ่งที่จำเป็นคือระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลักฐานการเข้ารหัสแทนที่จะเป็นความเชื่อถือ ซึ่งช่วยให้ทั้งสองฝ่ายยินดีที่จะทำธุรกรรมระหว่างกันโดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้ ธุรกรรมที่ไม่สามารถคำนวณย้อนกลับได้จะปกป้องผู้ขายจากการฉ้อโกง และกลไกเอสโครว์ที่ทำเป็นประจำก็สามารถนำมาใช้เพื่อปกป้องผู้ซื้อได้อย่างง่ายดาย”

“There will be transaction fees, so nodes will have an incentive to receive and include all the transactions they can. Nodes will eventually be compensated by transaction fees alone when the total coins created hits the pre-determined ceiling.  – จะมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม ดังนั้น node จะมีสิ่งจูงใจในการรับ รวมถึงการทำธุรกรรมทั้งหมดที่พวกเขาทำได้ ในที่สุด node จะได้รับการชดเชยด้วยค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมเพียงอย่างเดียวเมื่อจำนวนเหรียญทั้งหมดที่สร้างขึ้นถึงเพดานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า”

ที่มา: reddit