Arthur Hayes อดีตผู้ก่อตั้ง BitMEX แพลตฟอร์มเว็บเทรดคริปโตฟิวเจอรส์ชื่อดัง ได้คาดการณ์เกี่ยวกับราคาของ Bitcoin ในเชิงบวกว่า Bitcoin อาจมีมูลค่าอยู่ที่ระหว่าง 750,000 ถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2026 ซึ่งเป็นตัวเลขที่แซงหน้าการคาดการณ์ส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน
Arthur Hayes เชื่อว่า การรวมตัวกันของปัจจัยสำคัญหลายประการสามารถขับเคลื่อน Bitcoin ให้ราคาสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ประการแรกคือ Arthur Hayes คาดการณ์ถึงวิกฤตทางการเงินที่อาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยลดลงเหลือศูนย์ หรือสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แต่ไม่เร็วเท่ากับอัตราการใช้จ่ายของรัฐบาล
ในสถานการณ์เช่นนี้ Arthur Hayes แนะนำว่า Bitcoin อาจมีมูลค่าประมาณ 70,000 ดอลลาร์ภายในสิ้นปี 2024 โดยได้รับแรงหนุนส่วนหนึ่งจากเหตุการณ์ halving คือการปรับลดรางวัลที่ได้จากการขุด Bitcoin ลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ Bitcoin หายากมากขึ้นและมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
นอกจากนี้ Arthur Hayes ยังคาดการณ์ด้วยว่าจะมีการเปิดตัวกองทุน Spot ETF (Exchange-Traded Funds) Bitcoin มากมายโดยผู้จัดการสินทรัพย์รายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และฮ่องกง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใน Bitcoin จากนักลงทุน
Arthur Hayes กล่าวว่า “เมื่อเวลานั้นมาถึง ตลาดกระทิงตัวจริงจะเริ่มต้นขึ้น” และ Arthur Hayes มองว่าไม่เพียงแต่ Bitcoin เท่านั้นแต่สินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ เช่น ดัชนีหุ้นอย่าง NASDAQ และ S&P; ก็จะพุ่งทำลายสถิติสูงสุดเดิมเช่นกัน
นอกจากนี้ Hayes ยังได้พูดถึงการปราบปรามสกุลเงินดิจิทัลในประเทศจีน
Arthur Hayes กล่าวว่า ความเข้าใจที่ว่า ประเทศจีนได้แบนคริปโตเคอเรนซีอย่างสมบูรณ์นั้นไม่เป็นความจริงทั้งหมด จีนได้ทำให้การซื้อขายคริปโตเคอเรนซีเป็นเรื่องยาก โดยการปิดตลาดเว็บเทรด แต่ประชาชนของจีนยังคงถือครอง Bitcoin
Arthur Hayes กล่าวว่า ความกังวลของรัฐบาลจีนคือ การรักษาเสถียรภาพทางสังคม ซึ่งความกังวลนี้ได้ทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในท้องถิ่นอันเนื่องมาจากการเก็งกำไรจำนวนมากในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงอย่างสกุลเงินคริปโต
นอกจากนี้ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการขุด Bitcoin และการใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก ก็มีบทบาทในมาตรการบังคับเข้มงวดของจีนเช่นกัน ซึ่ง Arthur Hayes ได้เน้นย้ำถึงจุดยืนที่เป็นเอกลักษณ์ของฮ่องกงว่าอาจทำหน้าที่เป็นผู้เล่นที่สำคัญในตลาดคริปโตโดยพิจารณาจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์และเทคโนโลยี
ที่มา : u.today