เมื่อวันที่ 15 มกราคม รายงานจาก CoinGecko เปิดเผยว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของโทเค็นทั้งหมดที่จดทะเบียน (ลิสต์) บนเว็บไซต์ตั้งแต่ปี 2014 ตอนนี้ได้หยุดให้บริการแล้ว ซึ่งจากสินทรัพย์ crypto มากกว่า 24,000 รายการที่ถูกเปิดตัว มีโทเค็นจำนวน 14,039 รายการที่ถูกประกาศว่า ‘ตาย’ แล้วอย่างเป็นทางการ
โปรเจกต์ที่ล้มเหลวเหล่านี้ส่วนใหญ่เปิดตัวในช่วงขาขึ้นครั้งล่าสุด ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี 2020 ถึง 2021 ในช่วงเวลานี้ รายงานจาก CoinGecko ระบุว่า เว็บไซต์ได้มีลิสต์โทเค็นใหม่จำนวน 11,000 รายการ และจำนวน 7,530 รายการ (คิดเป็น 68.5%) ได้ปิดตัวลง ในขณะที่โทเค็นที่ตายคิดเป็น 53.6%
ปี 2021 กลายเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดสำหรับการเปิดตัวโทเค็นใหม่ เนื่องจากจำนวนโทเค็น crypto ที่ตายแล้วพุ่งแตะจุดสูงสุดในปี 2021 โดยมีโทเค็นล้มเหลวที่เปิดตัวในปีนั้นมากกว่า 5,700 รายการ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกิน 70% ของทั้งหมด
จากข้อมูลอ้างอิง ช่วงขาขึ้นของตลาดคริปโตระหว่างปี 2017 ถึง 2018 ก็มีแนวโน้มคล้ายกัน แม้ว่าจะมีโปรเจกต์ใหม่เกิดขึ้นจำนวนน้อยกว่าก็ตาม แต่ช่วงเวลานั้นมีการเปิดตัวโทเค็นมากกว่า 3,000 รายการ และประมาณ 1,450 รายการได้ปิดตัวลงสะท้อนถึงอัตราความล้มเหลวประมาณ 70% ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงขาขึ้นในภายหลัง
บทความนี้อธิบายวิธีการจำแนกโทเค็นที่ ‘ตาย’ หรือ ‘ล้มเหลว’ โดยพิจารณาจากเกณฑ์หลายประการยกตัวอย่างเช่น ไม่มีกิจกรรมการซื้อขายในช่วง 30 วันที่ผ่านมา , ได้รับการยืนยันว่าเป็นโปรเจกต์ที่หลอกลวงหรือ ‘rug pull’ (การโกงโดยสูบเงินนักลงทุนออก) และมีคำขอปิดใช้งานโปรเจกต์จากฝั่งของนักพัฒนาเอง เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น การยุบทีม, การรีแบรนด์ หรือยกเครื่องโทเค็นครั้งใหญ่
อัตราความล้มเหลวที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขาขึ้นครั้งล่าสุด มีสาเหตุหลักส่วนใหญ่มาจากความง่ายในการสร้างโทเค็นร่วมกับกระแสความนิยมของ ‘memecoin’ โปรเจกต์ memecoin จำนวนมาก จึงเปิดตัวโดยไม่มีรากฐานของผลิตภัณฑ์ที่มั่นคง ส่งผลให้หลายโปรเจกต์ถูกทิ้งร้างหลังเปิดตัวได้ไม่นาน
แนวโน้มของโทเค็นคริปโตที่ “ตาย” ยังคงดำเนินต่อไปในปี 2022 แม้ว่าอัตราความล้มเหลวจะลดลงเล็กน้อย ตามข้อมูลจาก CoinGecko โทเค็นทั้งหมดในปี 2022 นั้น มีจำนวนประมาณ 3,520 รายการที่”ตาย” ซึ่งคิดเป็นเกือบ 60% ของทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ปี 2023 แสดงให้เห็นว่า อัตราความล้มเหลวมีจำนวนลดลงอย่างมาก โดยมีโทเค็นมากกว่า 4,000 รายการที่ระบุไว้ แต่มีเพียง 289 รายการที่ล้มเหลว ซึ่งคิดเป็นอัตราความล้มเหลวน้อยกว่า 10%
ที่มา : Crypto Briefing