<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ชาวไทยตะลึงงัน ! หลังพบ NDID ระบบยืนตัวตน ของประเทศไปโผล่อยู่บนบล็อกเชนของ Cosmos 

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เรียกได้ว่าต้องทึ่งกันไปตาม ๆ  สำหรับข่าวใหญ่ตอนนี้ หลังจากเพจเฟซบุ๊ก พลอยขอเล่า – Ploy Talk ได้ออกมาโพสต์ว่า ตัวของเธอนั้นได้ไปพบ NDID ของไทยอยู่บนบล็อกเชนของ Cosmos เข้าโดยบังเอิญ

NDID คืออะไร ?

สำหรับใครที่ไม่คุ้นกับชื่อนี้ก็ไม่ต้องตกใจไปเพราะ NDID (National Digital ID) คือบริการยืนยันตัวตนของประเทศไทย ซึ่งเราจะพบเห็นบริการดังกล่าวได้บ่อย ๆ ในแอปของธนาคาร

สำหรับประเด็นนี้คุณพลอยเล่าว่า ได้มีการสอบถามข้อมูลไปยังทีมพัฒนาตัวจริงเพื่อไขข้อสงสัยว่าทำไมบริการ NDID ถึงไปโผล่บนระบบบล็อกเชนของ Cosmos และได้พบคำตอบดังนี้

NDID ใช้บล็อกเชนทำไม และใช้ไปเพื่ออะไร ?

ตัวของระบบ NDID นั้นจะใช้ Tendermint ของ Cosmos ในการเก็บประวัติการทำธุรกรรมเพื่อให้แต่ละธนาคารสามารถดึงข้อมูลไปใช้ในการยืนยันตัวตน (KYC) ได้สะดวกรวดเร็ว ทำให้หากมีการต้องการเปิดบัญชีธนาคารที่ใหม่แต่เดิมจะต้องผ่านกระบวนการ KYC อีกรอบสร้างความยุ่งยากให้กับทั้งสองฝ่าย แต่ด้วยระบบใหม่นี้ธนาคารแห่งใหม่จะสามารถดึงข้อมูลที่ธนาคารเดิมที่ใช้อยู่แล้วมาได้เลย โดยที่ธนาคารแห่งใหม่จะไปทำเรื่องของให้เครือข่ายอีกธนาคารทำการยืนยันตัวตนให้แทน เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน

ทั้งนี้ตัวของ NDID ไม่ได้มีส่วนเข้าไปอยู่ใน ecosystem ของ Cosmos เพียงแต่ใช้ Cosmos เพื่อเป็น ledger และ consensus layer เท่านั้น

ทำไมถึงเลือกใช้เชนนี้ ?

อ้างอิงจากโพสต์ต้นทาง ได้มีการระบุว่าสาเหตุที่ NDID  เลือกใช้บล็อกเชนของ Cosmos แทนที่จะเป็นเชนอื่นที่ดีกว่านี้หรือมีค่าบริการถูกกว่านี้ เป็นเพราะโปรเจกต์ดังกล่าวเริ่มพัฒนามาตั้งแต่บล็อกเชนอื่น ๆ ยังไม่เปิดตัวเลยด้วยซ้ำ

การคำนวนค่าใช้จ่าย

แน่นอนว่าเมื่ออยู่บนบล็อกเชนย่อมต้องมีค่าธรรมเนียมธุรกรรมหรือที่เรียกว่า “ค่าแก๊ส” ซึ่งในจุดนี้ ค่า Transaction ของ NDID จะคิดจากการใช้ข้อมูลจาก IDP + ค่าแสตมป์ของ NDID โดยค่าใช้ข้อมูลจาก IDP แต่ละเจ้าสามารถตั้งราคาของตัวเองได้อย่างอิสระ จะเป็นกี่บาทก็ได้ตราบใดที่ยังอยู่ในเกณฑ์ 3 ประเภทแบ่งตามประเภทของผู้ขอใช้ (RP, Requested Party) ได้แก่

  • 1. หน่วยงานราชการ และไม่ได้เก็บเงินค่าบริการจากประชาชน ครั้งละไม่เกิน 20 บาท
  • 2. หน่วยงานราชการ แต่มีการเก็บเงินค่าบริการจากประชาชน ครั้งละไม่เกิน 60 บาท
  • 3. เอกชน ครั้งละไม่เกิน 200 บาท

ส่วนทางด้านค่าแสตมป์จะอยู่ที่ดวงละ 3 บาท ซึ่งหากใช้ RP ที่ขอยืนยันตัวตนและใช้ข้อมูล AS ด้วยจะใช้ 5 stamps หรือคิดเป็น 15 บาท ขณะที่ RP ที่ขอยืนยันตัวตนอย่างเดียวจะใช้ 3 stamps หรือ 9 บาท ดังนั้นสมมติว่าคิดค่าบริการ 10 บาท และต้องการยืนยันตัวตนอย่างเดียว จะเท่ากับว่าจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 19 บาท เป็นต้น

ความเสี่ยงจากการถูกเจาะระบบ

นับว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนกังวล ในเมื่อข้อมูลเราไปอยู่บนบล็อกเชนแล้วจะการันตีความปลอดภัยกับผู้ใช้ได้อย่างไร ในประเด็นแรกผู้ใช้งานมั่นใจได้เลยว่าตัวบล็อกเชนจะไม่ได้มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเข้าไปไว้บนบล็อกอย่างแน่นอน เพราะ NDID เก็บแค่เพียง transaction บนบล็อกเชนเท่านั้น หมายความว่า IDP ต้อง stamp ว่าการยืนยันตัวตนนี้เป็นจริงลงบน chain ส่วนพวกข้อมูลยังวิ่งไปเช็คกับ DOPA เหมือนเดิม (AS) ส่วนการการเช็ค ekyc จะเป็น off-chain

ถัดมาในเรื่องของการเจาะระบบ ต้องยอมรับว่ายังมีความเสี่ยงอยู่แต่มิจฉาชีพไม่สามารถเจาะได้ง่ายขนาดนั้นเพราะต้องทำการโจมตีธนาคารในประเทศไทยให้ได้เกินครึ่ง (51%) ถึงจะเป็นผลสำเร็จ เพราะทุกธนาคารจะเปิด Blockchain Node ของตัวเองไว้ เพื่อ Sync เน็ตเวิร์กส่งข้อมูลกันตลอดเวลา

สำหรับใครที่อยากติดตามโปรเจกต์ NDID บนบล็อกเชน สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ และ Github