ประเทศซาอุดิอาระเบีย ได้ตัดสินใจไม่ต่ออายุข้อตกลง “petrodollar deal” ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับน้ำมันที่ทำขึ้นกับสหรัฐอเมริกา โดยข้อตกลงดังกล่าวมีมายาวนานกว่า 80 ปี และหมดอายุลงในวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน ตามรายงานของสื่อ
ย้อนกลับไปข้อตกลงนี้ มีการลงนามครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1974 ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญต่ออิทธิพลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระดับโลก อันเนื่องมาจากเนื้อหาสำคัญของ “petrodollar deal” คือซาอุดิอาระเบียจะขายน้ำมันดิบให้กับประเทศอื่น ๆ ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นหลัก เพื่อแลกกับการที่สหรัฐอเมริกาจะให้ความมั่นคงทางการทหารแก่ซาอุดีอาระเบีย
การเลือกที่จะไม่ต่ออายุสัญญานี้ ทำให้ซาอุดิอาระเบียจะสามารถขายน้ำมันและสินค้าอื่น ๆ โดยใช้สกุลเงินที่หลากหลายเช่น เงินหยวนจีน เงินยูโร และ เงินเยน แทนที่จะใช้เพียงสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงการสำรวจการใช้สกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin สำหรับการทำธุรกรรมด้วย
การตัดสินใจของซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นก้าวสำคัญในการก้าวออกจากระบบ petrodolla ซึ่งมีการก่อตั้งขึ้นในปี 1972 หลังจากสหรัฐฯ ยกเลิกการตรึงค่าเงินดอลลาร์กับทองคำ
ทั้งนี้คาดว่าการตัดสินใจของซาอุดีอาระเบียน่าจะยิ่งเร่งกระแสการใช้สกุลเงินอื่น ๆ นอกเหนือจากดอลลาร์สหรัฐฯ ในเรื่องของการค้าระหว่างประเทศ
นอกจากนี้ ซาอุดิอาระเบียยังได้เข้าร่วมโครงการ “mBridge” ซึ่งเป็นความร่วมมือในการพัฒนาแพลตฟอร์มสกุลเงินดิจิทัลร่วมกันระหว่างธนาคารกลางและธนาคารพาณิชย์
โครงการ mBridge เริ่มต้นขึ้นในปี 2021 โดยมุ่งหวังที่จะอำนวยความสะดวกในการชำระเงินข้ามพรมแดนแบบเรียลไทม์ และทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผ่านเทคโนโลยี distributed ledger หรือบัญชีแยกประเภท ซึ่งปัจจุบันโครงการนี้กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวครั้งนี้ของซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบเศรษฐกิจโลก ส่วนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการค้าและการเงินระหว่างประเทศยังคงเป็นประเด็นที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดในอนาคต
ที่มา:indiatoday