<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

หมู่บ้านในญี่ปุ่นแห่งหนึ่งหันมาพึ่ง NFTs หวังช่วยเหลือผู้สูงอายุ และนำร่อง “สังคม 5.0” 

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

หมู่บ้านยามาโคชินั้นเป็นหมู่บ้านชนบทแหน่งหนึ่งที่อยู่บนภูเขานิอิกาตะ ซึ่งหมูบ้านดังกล่าวนั้นได้เข้าร่วมโครงการทดลองแผนกลยุทธ์นำ NFT เข้ามาใข้งานเพื่อเพิ่มความสนใจจากชาวต่างชาติหลังทางหมู่บ้านประสบภาวะการเกิดของประชากรที่ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันหมู่บ้านยามาโคชิสามารถดึงดูด “พลเมืองดิจิทัล” ได้กว่า 1,700 รายผ่านการขาย NFTs เพื่อเป็นการสนับสนุนและดูแลสังคมสูงอายุ และเรียกโปรเจกต์ดังกล่าวว่า “Neo-Yamakoshi Vilage project”

สำหรับตัว NFTs ที่ขายนั้นจะตั้งชื่อตามสายพันธ์ปลาคาร์ป Nishikigoi ซึ่งตัวมันจะทำหน้าที่ระบุตัวตนของพลเมืองดิจิทัล และสามารถนำมันมาใช้ในการโหวตเรื่องดูแลหมู่บ้าน

ทั้งนี้แม้การเพิ่มจำนวนประชากรดิจิทัลจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาอัตราการเกิดที่ต่ำได้ แต่อย่างน้อยการทดลองนี้ก็สามารถช่วยหาเงินสนับสนุนให้ชุมชนสามารถอยู่รอดต่อไปได้เพราะปัจจุบันนั้นมีชุมชนในญี่ปุ่นกว่า 1,729 แห่งที่มีความเสี่ยงในการล่มสลายจากปัญหาประชากรที่ลดลง

ทางด้านรัฐบาลญี่ปุ่นที่นำโดยนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ มองว่า Web3 นั้นจะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา “สังคม 5.0” แผนการที่จะสร้างสังคมที่ดีกว่าเดิมโดยการนำเทคโนโลยีอย่าง AI หรือ IoT เข้ามาใช้งาน

อ้างอิงจากรายงานของบริษัทวิจัย Yuri Group ระบุว่าโครงการดังกล่าวสามารถระดมทุนไปได้แล้วกว่า $423,000 นับตั้งแต่เปิดตัวมาในปี 2021 มากไปกว่านั้นทาง Yuri Group ยังได้กล่าวว่าถ้ากลยุทธ์ดังกล่าวประสบความสำเร็จและสามารถแผ่ขยายไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ได้ จะส่งผลให้หมู่บ้านในชนบทญี่ปุ่นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไปพร้อม ๆ กับได้ทำการทดลองเทคโนโลยีเพื่อสังคม

ทว่าโปรเจกต์ดังกล่าวนั้นต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ทั้งในและนอกประเทศ โดยปัญหาในประเทศจะเป็นการที่ต้องอธิบายหลักการทำงานและผลประโยชน์ของเทคโนโลยีใหม่ให้ผู้สูงอายุเข้าใจ ขณะที่ปัญหาจากภายนอกประเทศจะเป็นเรื่องของกำแพงภาษาที่ส่งผลให้ประชากรที่ไม่ชาวญี่ปุ่นจริง ๆ ไม่เข้าใจและไม่สามารถเข้ามาร่วมโหวตการตัดสินใจต่าง ๆ ได้ อีกทั้งในปัจจุบันตลาด NFT ทั่วโลกยังได้ซบเซาลงอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม Yuri Group ได้กล่าวว่าปัญหาของตลาด NFT นั้นไม่ส่งผลกระทบมากต่อประเทศญี่ปุ่น ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของอนิเมะ ที่สามารถนำมาแปลงเป็น NFTs หรือของสะสมได้อย่างง่ายดาย ซึ่งแม้แต่ตัวของพลเมืองดิจิทัลในหมู่บ้านยามะโคชิ Metaverse ยังเลือกที่จะใช้อวาตาร์เป็นตัวการ์ตูนน่ารัก ๆ มากกว่า เช่นกัน


ที่มา : Cointelegraph