<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

DeFi คืออะไร? คู่มือเบื้องต้นสำหรับการเงินแบบกระจายอำนาจ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

โลกการเงินแบบไร้ตัวกลางที่ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางการเงินอย่างเท่าเทียมไม่ว่าคุณจะอาศัยอยู่ที่ใด

Decentralized Finance (DeFi) หรือ การเงินแบบไร้ตัวกลาง คือ ระบบการเงินที่ไม่ต้องพึ่งพาธนาคารหรือสถาบันการเงินใด ๆ โดย DeFi  ต่างจากระบบการเงินแบบเดิม ตรงที่ไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีธนาคาร กรอกใบสมัคร หรือยืนยันตัวตน ทุกอย่างดำเนินการบนโลกออนไลน์ ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน สกุลเงินดิจิทัล และสัญญา smart contracts โดยตัดตัวกลางออกไป

ในบทความนี้ จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการทำงานเบื้องต้นของ การเงินแบบไร้ตัวกลาง , เปิดเผยศักยภาพ  และแนะนำวิธีการเริ่มต้นใช้งาน DeFi เบื้องต้น

Decentralized Finance คืออะไร ?

ในระบบการเงินแบบดั้งเดิม ธุรกรรมจะเกิดขึ้นผ่านตัวกลาง (เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน)  ตัวกลางเหล่านี้ทำหน้าที่ดูแลโครงสร้าง , บังคับใช้กฎระเบียบ  และมีอำนาจในการอนุมัติหรือปฏิเสธธุรกรรมตามเกณฑ์

แม้ว่าสถาบันการเงินเหล่านี้จะเสนอระบบที่มีการจัดการอย่างเป็นโครงสร้างชัดเจน  แต่ก็ยังก่อให้เกิดข้อจำกัด เช่น ค่าธรรมเนียมสูง  ระยะเวลาดำเนินการที่นาน  และการเข้าถึงที่จำกัด

DeFi  เข้ามาแทนที่ระบบควบคุมแบบรวมศูนย์ ด้วยระบบแบบไร้ตัวกลาง , โปร่งใส  และสามารถตั้งโปรแกรมได้ (บนบล็อกเชน)  ซึ่ง DeFi จะช่วยตัดความจำเป็นในการมีตัวกลางและมอบอำนาจในการควบคุมสินทรัพย์ให้กับผู้ใช้งานโดยตรง

ทุกธุรกรรมบนบล็อกเชน จะได้รับการตรวจสอบโดย โหนด (node) หลายตัว (คอมพิวเตอร์บนเครือข่าย) เพื่อช่วยให้แน่ใจว่าธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม DeFi  ภายในเครือข่ายมีความปลอดภัยสูง และยากต่อการปลอมแปลงฉ้อโกง

DeFi ทำงานอย่างไร?

DeFi อาจดูเหมือนเป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยที่เข้าใจได้ยาก เหมาะสำหรับเฉพาะโปรแกรมเมอร์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นแต่จริงๆ แล้ว  DeFi  มีหลักการพื้นฐานที่ค่อนข้างง่าย มาดูกันว่ามันทำงานอย่างไร 

สัญญา Smart Contracts

หัวใจสำคัญของระบบการเงินแบบไร้ตัวกลางคือ สัญญา Smart Contracts ซึ่งสัญญาเหล่านี้เป็นตัวขับเคลื่อนทุกอย่าง ตั้งแต่การกู้ยืมเงินแบบไร้ตัวกลาง, การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล  ไปจนถึงแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (dApp) ทั้งหมด

สัญญา Smart Contracts เหล่านี้ เป็นข้อตกลงดิจิทัลที่ดำเนินการโดยอัตโนมัติ เมื่อมีการปฏิบัติตามเงื่อนไขเฉพาะที่ระบุไว้ล่วงหน้า ซึ่งสัญญาเหล่านี้จะทำงานโดยปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ เช่น “if/when…then…” ที่เขียนไว้ในโค้ด

ตัวอย่างในโลกความจริงที่ใกล้เคียงคือ ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ  เมื่อคุณหยอดเหรียญลงไป ตู้จะทำการจ่ายเครื่องดื่ม/ขนม ออกมา ซึ่งสัญญา Smart Contracts ทำงานในลักษณะเดียวกัน  แต่ในระดับที่ใหญ่กว่ามาก

Smart Contract Lego 

แม้ว่าสัญญา Smart Contracts จะมีความพิเศษแค่ไหน  แต่สัญญา Smart Contracts เพียงฉบับ  ไม่สามารถเรียกว่า “DeFi” ได้ทั้งหมด

บริการ DeFi จำเป็นต้องใช้สัญญา Smart Contracts หลายฉบับทำงานร่วมกัน  เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างสมบูรณ์

ยกตัวอย่าง แพลตฟอร์ม DeFi Lending เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างถูกต้อง  จำเป็นต้องใช้สัญญา Smart Contracts หลายตัว ดังนี้:

  1. สัญญาตรวจสอบ (Verification Contract): สัญญา Smart Contracts ตัวแรก มีหน้าที่ตรวจสอบและจัดการหลักประกัน โดยจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของหลักประกัน และทำการล็อคหรือปลดล็อคหลักประกัน ขึ้นอยู่กับสถานะของเงินกู้
  1.  สัญญาออกเงินกู้ (Issuance Contract): กระบวนการปล่อยกู้จะเริ่มต้นได้ เมื่อมีการตรวจสอบและล็อคหลักประกันเรียบร้อยแล้ว โดยจะมีสัญญา Smart Contracts อีกตัวแยกต่างหาก ทำหน้าที่เบิกจ่ายเงินกู้ให้กับผู้กู้ พร้อมบันทึกข้อมูลจำนวนเงิน รายละเอียดของผู้กู้ และกำหนดการชำระคืน
  1. สัญญาจัดการดอกเบี้ย (Interest Management Contract): อัตราดอกเบี้ยเป็นส่วนสำคัญของเงินกู้ ในระบบ DeFi จะมีสัญญา Smart Contracts อีกตัวที่คอยจัดการเรื่องนี้ โดยทำหน้าที่ปรับอัตราดอกเบี้ยตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (โดยทั่วไปขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานภายในระบบ)

เมื่อพิจารณาแยกกัน สัญญาเหล่านี้มีหน้าที่เฉพาะเจาะจง เหมือนกับตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ที่ทำหน้าที่เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อนำสัญญาเหล่านี้มาทำงานร่วมกันจะกลายเป็นระบบการปล่อยกู้แบบอัตโนมัติ  ที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

แนวคิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างเครื่องมือและบริการทางการเงินแบบไร้ตัวกลาง  ได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะสร้างเป็นระบบการเงินดิจิทัลทางเลือก  ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้  เพียงแค่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

สามารถเข้าถึง DeFi ได้อย่างไร ?

ขั้นตอนที่ 1: เตรียมกระเป๋าเงิน Crypto

สิ่งแรกที่คุณต้องมี เพื่อเข้าถึง DeFi คือกระเป๋าเงินดิจิทัล (Crypto Wallet)  เปรียบเหมือนบัญชีธนาคารดิจิทัลของคุณเอง  ใช้สำหรับเก็บ, ส่ง และรับสกุลเงินดิจิทัล

ซึ่งกระเป๋าเงินดิจิทัลมีหลากหลายประเภท  แต่ละประเภทมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างกระเป๋าเงินดิจิทัลยอดนิยม  ได้แก่ MetaMask, Trust Wallet, และ Bake

ขั้นตอนที่ 2 : ซื้อ Crypto

ขั้นตอนต่อไปคือ การซื้อสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งสามารถทำได้โดยตรง ภายในกระเป๋าเงินดิจิทัล หรือผ่านช่องทางอื่น ๆ

โดย Ethereum (ETH) ถือเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดใน DeFi เนื่องจากระบบนิเวศที่ได้รับการยอมรับ และมีความหลากหลาย 

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายบล็อกเชนทางเลือกอื่นๆ ก็เริ่มมีมากขึ้น ซึ่งกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในพื้นที่ DeFi ด้วยเช่นกัน 

ตัวอย่างเช่น  Solana (SOL)  ที่ขึ้นชื่อเรื่องความเร็วสูง  และ DeFiChain (DFI)  ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่ออกแบบมาเพื่อรองรับแอปพลิเคชันทางการเงินแบบไร้ตัวกลางโดยเฉพาะ

ขั้นตอนที่ 3: เชื่อมต่อกระเป๋าเงินของคุณกับแพลตฟอร์ม DeFi

ขั้นตอนต่อไปคือ การเชื่อมต่อกระเป๋าเงินดิจิทัลของคุณเข้ากับระบบนิเวศ DeFi ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของกระเป๋าเงินที่คุณเลือกใช้ กระเป๋าเงินบางประเภทอาจเชื่อมต่อได้โดยตรง

ถ้าหากคุณใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลประเภทอื่น เช่น MetaMask คุณจะต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของแพลตฟอร์ม DeFi  และคลิกที่ปุ่ม “เชื่อมต่อกระเป๋าเงิน” (connect wallet)

ระบบจะขอให้คุณเลือกผู้ให้บริการกระเป๋าเงินของคุณ  และอนุมัติการเชื่อมต่อ  ก่อนที่คุณจะสามารถเริ่มต้นใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ บนแพลตฟอร์มได้

ขั้นตอนที่ 4: เริ่มต้นใช้บริการ DeFi

หลังจากที่คุณเชื่อมต่อกระเป๋าเงินเรียบร้อยแล้ว  คุณสามารถเริ่มต้นใช้งานบริการ DeFi ได้ โดยฟังก์ชันต่าง ๆ ที่มีให้เลือก จะขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มที่คุณเลือกใช้

โดยทั่วไป  คุณจะเห็นตัวเลือกต่าง ๆ   เช่น ปล่อยสินทรัพย์เพื่อรับดอกเบี้ย (lend your assets), กู้ยืมสินทรัพย์ (borrow assets), รับดอกเบี้ย (earn interest),เทรดโทเค็น (trade tokens)

โปรดทราบว่า คุณจะต้องมีแก๊ส (gas) เพื่อชำระค่าธรรมเนียมให้กับแพลตฟอร์มที่เลือก ขึ้นอยู่กับเครือข่าย โดยค่าธรรมเนียมแก๊สอาจสูง ในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานหนาแน่น (เช่น ค่าธรรมเนียมแก๊สของ Ethereum ขึ้นชื่อเรื่องความผันผวน  อาจพุ่งสูงขึ้นในช่วงที่มีปริมาณการใช้งานเครือข่ายมาก)

ควรใช้อย่างระมัดระวัง และตรวจสอบค่าธรรมเนียมแก๊สก่อนที่จะยืนยันธุรกรรมใดๆ บนแพลตฟอร์ม DeFi

คุณสามารถทำอะไรได้บ้างด้วย DeFi?

การกู้ยืม/การปล่อยสินทรัพย์ให้ยืม

การประยุกต์ใช้งาน DeFi ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอย่างหนึ่ง  คือ การใช้แพลตฟอร์มยืมและปล่อยสินทรัพย์  แพลตฟอร์มเหล่านี้ อนุญาตให้ผู้ใช้ปล่อยสินทรัพย์ดิจิทัลของตนเองให้ผู้อื่น ในลักษณะที่ไร้ศูนย์กลาง  และปลอดภัยไม่ต้องไว้วางใจใคร

แพลตฟอร์มเหล่านี้ อนุญาตให้บุคคลทั่วไปสามารถปล่อยสินทรัพย์ของตนเองออกไป เพื่อรับดอกเบี้ย  ในลักษณะที่ธนาคารขนาดใหญ่เท่านั้นที่สามารถทำได้ในระบบการเงินแบบดั้งเดิม

ผู้กู้สามารถขอสินเชื่อได้โดยตรงจากผู้ปล่อยสินทรัพย์  ผ่านทางโปรโตคอลการปล่อยสินทรัพย์ของ DeFi  โปรโตคอลการปล่อยสินทรัพย์จะทำการกระจายเงินดอกเบี้ย (ที่ผู้กู้ชำระตามระยะเวลา) ให้กับผู้ปล่อยสินทรัพย์โดยอัตโนมัติ

ผู้กู้และผู้ปล่อยสินทรัพย์  ไม่จำเป็นต้องไว้วางใจซึ่งกันและกัน  หรือบุคคลที่สามใดๆ  พวกเขาเพียงแค่ต้องไว้วางใจสัญญา smart contract ที่จัดการธุรกรรมเท่านั้น

การเทรด / การ SWAP

Decentralized Exchanges (DEXs) คือแพลตฟอร์มเว็บเทรดคริปโตแบบกระจายอำนาจ ที่ให้ผู้ใช้สามารถซื้อ ขายและ เทรดสินทรัพย์ดิจิทัลได้ 

DEXs  แตกต่างจากตลาดแลกเปลี่ยนแบบดั้งเดิม ตรงที่ไม่จำเป็นต้องให้ผู้ใช้โอนย้ายสินทรัพย์ของตนเองไปยังแพลตฟอร์ม  เพื่อทำการเทรด  DEXs จะดำเนินการบนระบบแบบ Peer-to-Peer  ผู้ใช้สามารถเทรดโดยตรงจากกระเป๋าเงินดิจิทัลของตนเอง  และธุรกรรมจะได้รับการยืนยันบนบล็อกเชนอย่างรวดเร็ว

DEXs  อนุญาตให้ผู้ใช้เทรดโทเค็นดิจิทัลประเภทต่าง ๆ  ไม่เพียงแค่ระหว่างสกุลเงินดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ อีกด้วย

ตัวอย่างเช่น  การเทรดโทเค็นที่แสดงถึงสินค้าโภคภัณฑ์  หุ้น  หรืออสังหาริมทรัพย์บน DEXs   ด้วยกลไกอีกอย่างของ DeFi  คือ  Synthetics

สินทรัพย์สังเคราะห์และอนุพันธ์ (Synthetics/Derivatives)

สินทรัพย์สังเคราะห์ (Synthetic Assets)  เป็นตัวแทนและติดตามมูลค่าของสินทรัพย์ ‘โลกแห่งความจริง’ อีกประเภทหนึ่ง  สินทรัพย์เหล่านี้สามารถเป็นอะไรก็ได้  ไม่ว่าจะเป็น อัตราดอกเบี้ย  โลหะมีค่า  หรือแม้แต่ดัชนีของสินทรัพย์ต่างๆ

ในระบบ DeFi  สินทรัพย์สังเคราะห์  ถูกสร้างขึ้นผ่านกระบวนการที่เรียกว่า ‘tokenization’   ซึ่งเป็นการแปลงสินทรัพย์ในโลกแห่งความจริง  ให้กลายเป็นโทเค็นบนบล็อกเชน  เพื่อแสดงถึงสินทรัพย์อ้างอิงเบื้องต้น

ราคาของโทเค็นที่ถูกแปลง จะมีการอ้างอิงตามราคาของสินทรัพย์ในโลกแห่งความจริง   โดยสามารถซื้อ  ขาย  และเทรดบนแพลตฟอร์ม DeFi ต่างๆ  โดยไม่จำเป็นต้องมีการโอนย้ายสินทรัพย์จริง

ตัวอย่างเช่น  สินทรัพย์สังเคราะห์ (Synthetic Assets) ที่แสดงถึงทองคำ (เช่น  sGOLD  บนแพลตฟอร์ม Synthetix)  จะติดตามราคาทองคำ  ถ้าราคาทองคำเพิ่มขึ้น  มูลค่าของ sGOLD  ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

อนุพันธ์ (Derivatives)  เป็นอีกหนึ่งวิวัฒนาการของ สินทรัพย์สังเคราะห์ (Synthetic Assets) ใน DeFi  ซึ่งอนุพันธ์ (Derivatives) ใน DeFi เพิ่มความซับซ้อนอีกชั้น โดยการนำเสนอฟิวเจอร์ส และออปชั่นที่เป็นโทเค็น อนุพันธ์ (Derivatives) เหล่านี้ช่วยให้นักลงทุนสามารถเก็งกำไรจากราคาสินทรัพย์ในอนาคต โดยไม่จำเป็นต้องถือครองสินทรัพย์จริง โดยปราศจากตัวกลางโดยสมบูรณ์

แพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดในแวดวง Synthetics/Derivatives ของ DeFi  คือ  Synthetix   อย่างไรก็ตาม  โปรเจกต์อื่นๆ  เช่น  DeFiChain  ก็เริ่มมีการพัฒนาแพลตฟอร์ม  Synthetics/Derivatives ที่มีความซับซ้อน  และปลอดภัยยิ่งขึ้น

Yield Farming การทำฟาร์มผลผลิต

Yield Farming  เป็นหนึ่งในวิธีการยอดนิยมที่ใช้ในการรับดอกเบี้ยจากสกุลเงินดิจิทัลของคุณ  แนวคิดก็คือ การย้ายสินทรัพย์ของคุณจากแพลตฟอร์มไปยังอีกแพลตฟอร์ม  โดยพิจารณาจากแพลตฟอร์มที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด เพื่อเพิ่มผลกำไรของคุณ

โดยทั่วไปกระบวนการนี้จะช่วยให้ได้รับผลตอบแทนมากกว่าการปล่อยสินทรัพย์ของคุณเพื่อรับดอกเบี้ยบนแพลตฟอร์ม DeFi เพียงแพลตฟอร์มเดียว แต่ก็อาจใช้เวลานาน  หากคุณพยายามทำด้วยตนเอง

แพลตฟอร์ม  Yield Optimization  เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้  โดยช่วยให้คุณสามารถฝากสินทรัพย์ของคุณ  และระบบจะทำการจัดสรร  ไปยังโปรโตคอลที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดโดยอัตโนมัติ

DAO (องค์กรอิสระที่ไร้ศูนย์กลาง)

DeFi ช่วยให้คุณมีส่วนร่วมใน Decentralized Autonomous Organizations (DAO) ได้ 

DAO (Decentralized Autonomous Organization)  เป็นระบบการลงคะแนนแบบกระจายอำนาจ ที่ยึดตามชุมชนได้ โดย DAO สามารถใช้บริหารจัดการอะไรก็ได้  ตั้งแต่โปรโตคอล DeFi ไปจนถึงองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร 

โดยทั่วไปแล้ว  DAO ถูกนำไปใช้โดยโปรเจกต์ DeFi  เพื่อลงคะแนนเกี่ยวกับการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงโปรโตคอล  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกเสนอโดยสมาชิกภายในองค์กรหรือสมาชิกชุมชน  จากนั้น ชุมชนทั้งหมดสามารถลงคะแนนว่าจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงนั้นหรือไม่

โดยทั่วไป คะแนนโหวตของผู้ใช้จะขึ้นอยู่กับจำนวนโทเค็นของโปรเจกต์ที่พวกเขาถืออยู่  ตัวอย่างเช่น  หากคุณมีโทเค็น 100 โทเค็น  คุณจะได้รับ 100 ‘คะแนนโหวต’ (หรือ ‘พลังคะแนนโหวต’) ในข้อเสนอนั้น

DAO ที่ต่างกัน  มีระบบการกำหนดพลังคะแนนโหวตของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน  DAO หลายแห่งมีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ร่ำรวยเพียงคนเดียวชี้นำการโหวตไปตามความต้องการของตนเอง

  • ที่มา : blog 
  • ที่มารูปภาพ : newsbtc