การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำให้เกิดความตื่นตระหนกในสินทรัพย์เสี่ยง ธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินสดจาก -0.10bps เป็น +0.25bps ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี และมีแผนจะลดการซื้อพันธบัตรรายเดือนลงครึ่งหนึ่งเป็น 3 ล้านล้านเยนภายในต้นปี 2569
การเคลื่อนไหวครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหยุดการอ่อนค่าของเงินเยน แต่จังหวะเวลาก็ยังน่าสงสัย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งพุ่งสูงสุดที่ 4.30% ในเดือนมกราคม 2023 และลดลงเหลือ 2.80% ในเดือนมิถุนายน 2024 การคลายตัวอย่างรวดเร็วของการซื้อขายแบบ Carry Trade ระหว่างเงินเยนกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้เป็นวันที่แย่ที่สุดสำหรับหุ้นญี่ปุ่นนับตั้งแต่เกิดวิกฤตในปี 1987
และล่าสุดในวันนี้ (7 สิงหาคม) สำนักข่าว Reuters รายงานว่า รองผู้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) Shinichi Uchida เปิดเผยว่าทางธนาคารกลางจะยังคงไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ท่ามกลางตลาดการเงินทั่วโลกที่ยังคงผันผวน
Uchida กล่าวว่าการที่ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการติดสินใจด้าน นโยบายของ BOJ เป็นอย่างมาก เพราะมันได้เข้ามาช่วยลดแรงกดดันของสินค้านำเข้า และลดภาวะเงินเฟ้อลงในภาพรวม
ทว่าหลังจากทีได้เห็นถึงผลกระทบอันรุนแรงในตลาดการเงินทั่วโลก มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องคงอัตราดอกเบี้ยเดิมเอาไว้ชั่วคราว และทำให้สถานการณ์ผ่อนคลายลง
ส่วนด้านอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเกิดความ “เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน” หากความผันผวนของตลาดส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% อย่างยั่งยืน
ดังนั้นถ้าทางญี่ปุ่นยังคงไม่เพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้เราอาจจะได้เห็นราคาสินทรัพย์เสี่ยงฟื้นกลับขึ้นมาเพราะยิ่งอัตราดอกเบี้ยยิ่งสูงนักลงทุนจะยิ่งเบือนหน้าหนีสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง
ที่มา : reuters