Vitalik Buterin ผู้สร้าง Ethereum ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นของหน่วยงานกำกับดูแลที่แข็งแกร่งและหลากหลายในวงการคริปโตเคอร์เรนซี
โดย Buterin ได้เกริ่นว่า กว่า 10 ปีที่ผ่านมา วงการคริปโตได้เป็นที่หลบภัยสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกหนีจากการควบคุมขององค์กรที่ทรงพลังและต้องการรักษาเสรีภาพของตน อย่างไรก็ตาม เมื่อวงการนี้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มันทำให้เกิดความจำเป็นในการสร้างรูปแบบการกำกับดูแลใหม่ที่ปรับให้เข้ากับความเป็นจริงในปัจจุบัน
Buterin ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงแรก ๆ ของคริปโตเคอร์เรนซี เป็นเพียงแค่เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อเน้นไปที่การหลีกเลี่ยงการควบคุมจากภายนอก เช่น เครือข่ายแชร์ไฟล์และแอปพลิเคชันส่งข้อความเข้ารหัส แต่เมื่อบล็อกเชนและ DAOs ได้ถือกำเนิดขึ้น สถานการณ์ก็เปลี่ยนไป และมันจำเป็นต้องมีมุมมองใหม่ที่เน้นการวิจัยและพัฒนาสินค้าสาธารณะ
ความจำเป็นในการปรับตัวนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะวงการคริปโตเท่านั้น แต่Buterin ยังกล่าวถึงประเด็นระหว่างเสรีภาพและการควบคุมในเทคโนโลยีและนโยบายด้านอื่น ๆ เช่น การห้ามเนื้อเทียมในรัฐฟลอริดา ซึ่งถูกมองว่าเป็นมาตรการเผด็จการที่มุ่งควบคุมนิสัยการกินของประชาชน หรือฟีเจอร์ใหม่ของ Google ที่สแกนการโทรแบบเรียลไทม์เพื่อตรวจจับการหลอกลวง ซึ่งแม้จะมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องผู้ใช้ แต่ก็สร้างความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและการควบคุมข้อมูล
ตัวอย่างเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าโซลูชันที่ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์อาจมีผลกระทบที่ซับซ้อน และการหาสมดุลระหว่างการปกป้องและเสรีภาพของบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ
ซึ่ง Buterin เสนอแนวทางที่หลากหลายเพื่อตอบสนองปัญหาเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการลงคะแนนเสียงและรายได้พื้นฐานสากล โดยแนวคิดคือให้แต่ละคนเลือกสิ่งที่พวกเขาไว้วางใจ และหากพวกเขาทำผิดพลาด ผลกระทบจะจำกัดอยู่ในระดับบุคคลเท่านั้น
ซึ่งการนำแนวทางที่หลากหลายมาใช้จะช่วยให้เกิดความยืดหยุ่น และการปรับตัวต่อความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะการมองว่าความหลากหลายเป็นส่วนเสริมของระบบความคิดที่มีอยู่แล้วจะสามารถช่วยปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหาและจัดการกับปัญหาได้
Vitalik Buterin ยังได้เสนอแนวคิดที่การกำกับดูแลในบริบทของคริปโตเคอร์เรนซีและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่อื่น ๆ ด้วยการยอมรับถึงความสำคัญของการปรับโครงสร้างและแนวทางของโลกคริปโต ที่ยังคงทำให้คริปโตสามารถก้าวไปสู่โซลูชันที่สมดุลระหว่างเสรีภาพกับประสิทธิภาพในโลกที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ
ที่มา: Crypto-Economy