ช่วงเวลาที่ผ่านมา โลกของการลงทุนได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเติบโตของ “โทเคนดิจิทัล” ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย ทั้งโทเคนดิจิทัลที่ออกแบบมาเพื่อการลงทุน (Investment Token) ซึ่งมีผู้สนใจนำเสนอโครงการให้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นจำนวนมาก และโทเคนดิจิทัลที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Utility Token) ซึ่ง ก.ล.ต. ได้มีการปรับปรุงกฎเกณฑ์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนและส่งเสริมนวัตกรรมทางการเงิน
ในบทความนี้เราจะมาสรุปความหมายของ Token ตามแนวทางของ ก.ล.ต. ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ “Investment Token” ,”Utility Token ไม่พร้อมใช้” และ “Utility Token พร้อมใช้”
1.Investment Token
“Investment Token” หมายถึง โทเคนดิจิทัลที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมลงทุนในโครงการต่างๆ เช่น ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ต่างๆ การเป็นผู้ถือโทเคนเหล่านี้จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆ เช่น ส่วนแบ่งรายได้ หรือผลตอบแทนที่ผู้ออกโทเคนกำหนด
นอกจากนี้ Investmet Token ยังสามารถแบ่งย่อยไปได้อีก 3 ประเภท ได้แก่ Project based ICO (ลงทุนตามแผนธุรกิจ), Real Estate-backed ICO (ลงทุนใรอสังหาริมทรัพย์) , Infra-backed ICO (ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน)
การออกเสนอขาย Investment Token ผู้ออกโทเคน (issuer) จะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. และต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีการคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม
2.Utility Token ไม่พร้อมใช้
“Utility Token แบบไม่พร้อมใช้” หมายถึงโทเคนที่ในปัจจุบันยังไม่สามารถใช้แลกสิทธิประโยชน์ได้ในทันที เนื่องจากผู้ออกโทเคนจะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายไปพัฒนาสินค้าหรือบริการก่อน
3. Utility Token พร้อมใช้งาน
ส่วน “Utility Token พร้อมใช้” หมายถึง โทเคนที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ได้ทันที โดยจะสามารถแบ่งออกได้อีกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 คือใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค โดยส่วนใหญ่จะใช้ได้ในโลกภายนอก อาทิเช่น หรือ โทเคนที่สามารถแลกเป็น บัตรคอนเสิร์ต หรือ บัตร Fan Meeting ต่างๆ นอกจากนี้ NFT ที่ให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ถือก็รวมอยู่ในกลุ่มนี้เช่นเดียวกัน
กลุ่มนี้จะมีความพิเศษตรงที่ไม่ได้อยู่ในภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตในการเสนอขายเหรียญ
ส่วนกลุ่มที่ 2 คือโทเคนที่ใช้ประโยชน์ได้ในเครือข่ายบล็อกเชน อาทิเช่น ค่า gas ซึ่งในกรณีที่ต้องการนำไปซื้อขายในกระดานเทรดคริปโตจะต้องได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.
สรุปได้ว่า “Token” หรือ โทเคนดิจิทัลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. มีทั้งหมด 3 ประเภทที่ควรจดจำคือ “Investment Token”, “Utility Token ไม่พร้อมใช้” และ “Utility Token พร้อมใช้” ซึ่งการทำความเข้าใจถึงลักษณะและการกำกับดูแลโทเคนแต่ละประเภท จะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจลงทุนได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น