<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>
bitkub-2022-769x90

ช็อกวงการ! ผู้ใช้งาน Bitcoin รายหนึ่งเผลอจ่ายค่าธรรมเนียมเกิน 2.6 ล้านบาท จากความตื่นตระหนก

bitkub-2022-768x90
ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ผู้ใช้งาน Bitcoin รายหนึ่งกลายเป็นข่าวใหญ่ หลังจากเผลอจ่ายค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านระบบ replace-by-fee (RBF) ไปกว่า 0.75 BTC หรือราว 70,500 ดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยกว่า 2.6 ล้านบาท ในความพยายามเร่งให้ธุรกรรมของตนได้รับการยืนยันจากเครือข่าย ตามข้อมูลจาก Mempool

เหตุการณ์เกิดขึ้นหลังเที่ยงคืนของวันที่ 8 เมษายน ตามเวลา UTC โดยผู้ใช้งานรายนี้พยายามทำ RBF สองครั้งเพื่อเปลี่ยนที่อยู่ปลายทาง พร้อมกับแนบเงินทอน 0.2 BTC ไปด้วย ซึ่งเท่ากับว่ามีความพยายามจัดโครงสร้างธุรกรรมใหม่ให้เสร็จเร็วที่สุด 

อย่างไรก็ตาม ธุรกรรมทั้งสองรายการแรกยังค้างอยู่ใน mempool และไม่มีโอกาสได้รับการยืนยัน เพราะธุรกรรมครั้งที่สามที่ใช้ค่าธรรมเนียมสูงกว่าถูกส่งมาแทนที่

Anmol Jain รองประธานฝ่ายสืบสวนจาก AMLBot วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นความผิดพลาดจากความรีบร้อน หรือแค่พิมพ์ผิด โดยคาดว่าผู้ใช้ตั้งใจจะใส่ค่าธรรมเนียม 30.5692 sat แต่พิมพ์ผิดเป็น 305,692 sat แทน ซึ่งกลายเป็นค่าธรรมเนียมในระดับมหาโหด

ไม่เพียงแค่นั้น ธุรกรรมสุดท้ายยังเพิ่ม UTXO (unspent transaction output) ใหม่ที่ถือเกือบ 0.75 BTC เข้าไปด้วย ซึ่งกลายเป็นว่าเงินทอนที่ควรจะได้กลับกลายเป็นค่าธรรมเนียมแทน แสดงให้เห็นถึงการเข้าใจผิดเกี่ยวกับโครงสร้างของธุรกรรมหรือการไม่อัปเดต address สำหรับเงินทอน

นอกจากนี้ Jain ยังชี้ว่าผู้ใช้อาจสับสนระหว่างค่าธรรมเนียมแบบจำนวนรวมกับแบบ satoshi per virtual byte (sat/vB) หรือแม้แต่สคริปต์อัตโนมัติที่ใช้ทำธุรกรรมอาจมี bug ที่ทำให้ค่าธรรมเนียมถูกกำหนดผิด เช่น “พิมพ์ 305000 โดยเข้าใจว่าเป็น 30.5 sat/vB แต่ระบบกลับตีความเป็น 305,000 sat/vB แทน”

ฟีเจอร์ RBF แม้จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขธุรกรรมที่ยังไม่ได้รับการยืนยันโดยการเสนอค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันบ่อย และเคยถูกโจมตีว่าช่วยให้เกิดการ double-spend โดยเฉพาะจากฝ่ายสนับสนุน Bitcoin Cash ที่เคยวิจารณ์ในปี 2019

แม้ว่า Bitcoin Cash จะตัดฟีเจอร์ RBF ออกไปแล้ว แต่ก็ยังพบการทำธุรกรรมแบบคล้าย RBF อยู่บ้างในระบบ เพราะลักษณะของ consensus mechanism แบบ Bitcoin นั้นเปิดช่องให้พฤติกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีฟีเจอร์ RBF อย่างเป็นทางการก็ตาม

เหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่าการใช้ Bitcoin นั้นยังมีความซับซ้อนอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ต้องตัดสินใจเร็ว หากขาดความเข้าใจหรือความระมัดระวังเพียงเล็กน้อย ก็อาจต้องแลกมาด้วยค่าธรรมเนียมมูลค่ามหาศาลแบบไม่ตั้งใจได้เลย

ที่มา: Cointelegraph

ข่าวต่อไป