<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เหรียญคริปโตของ Facebook น่าจะเป็นอย่างไร?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

นาย Mark Zuckerberg ผู้มีทรัพย์สินมูลค่ากว่า 71,000 ล้านดอลลาร์ด้วยวัยเพียง 33 ปี จากความสำเร็จของเว็บ Facebook ที่เขาได้พัฒนาขึ้น

นับเป็นเวลากว่า 15 ปีที่ Social media นี้ทำกำไรจำนวนมหาศาลเข้ากระเป๋านาย Zuckerberg และผู้ถือหุ้นต่าง ๆ ผ่านทาง ads ที่ขึ้นในหน้า News feeds ของผู้ใช้งานจำนวนหลายล้านคนทั่วโลก

ถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมเขาจึงยังมองหาระบบที่มีความ Decentralized มากขึ้นอีกล่ะ? แล้วเทคโนโลยีคริปโตจะมีบทบาทต่อเขาอย่างไรได้?

ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา CEO ของ Facebook ผู้นี้ก็ได้โพสต์ข้อความลงใน Facebook ของเขาว่า

“จากการที่ตัวเลขของบริษัทด้านเทคโนโลยีใหญ่ ๆ กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้คนหลาย ๆ คนเริ่มที่จะเชื่อว่าเทคโนโลยีนั้นจะเป็นตัวช่วยเก็บศูนย์รวมอำนาจ มากกว่าที่จะกระจายมันออกสู่ประชาชน”

และเขาได้ให้คำมั่นว่า “จะศึกษาเบื้องลึกเกี่ยวกับแง่มุมทั้งในแง่บวกและแง่ลบ” ของเทคโลยีแบบ Decentralize ที่ให้อำนาจแก่ผู้คนมากขึ้น เช่น Cryptocurrencies ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของการเข้ารหัส (Cryptography) อีกด้วย

หลังจากนั้นเขาก็ได้ตัดสินใจเปลี่ยนแปลงทิศทางของ Facebook โดยเฉพาะสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับหน้า News feeds ของผู้ใช้งาน นั่นคือ ผู้ใช้จะเห็นเรื่องราวจากเพื่อน, ครอบครัว และกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้น ในขณะที่จะเห็นโพสต์จากแบรนด์ ธุรกิจ หรือสื่อต่าง ๆ ลดลง โดยเขาได้กล่าวเสริมว่า ความเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นสิ่งที่ดีต่อชุมชนและธุรกิจของเราในระยะยาว อย่างไรก็ตาม หลังจากโพสต์นี้เผยแพร่ออกไป ราคาหุ้นของ Facebook ก็ลดลง 4.5 เปอร์เซนต์แทบจะโดยทันที

นี่เป็นผลกระทบที่สามารถคาดเดาได้อยู่แล้ว เนื่องจากถ้า Facebook ไม่ทำให้ News feeds เน้นไปที่การโฆษณาสิ่งที่น่าสนใจเหมือนเคย นั่นก็หมายถึงว่าเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับก็จะลดลงไปด้วย

ข้อเสียของ Facebook

แล้วทำไมนาย Mark ถึงอยากจะทำสิ่งนี้?

หลาย ๆ คนเชื่อว่าสาเหตุที่เขาต้องทำสิ่งนี้ก็เพื่อให้หลุดพ้นจากอำนาจและการกดดันจากรัฐบาลสหรัฐฯ

นอกเหนือจากการกล่าวหาว่าผู้มีอำนาจในรัสเซียใช้ Facebook ในการเผยแพร่ข้อมูลที่รัฐบาลสหรัฐฯไม่ชอบใจ (เช่น สำนักข่าว RT) และชักจูงการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ก็คือความจริงที่ว่า Facebook นั้นเป็นสื่อที่มีอำนาจสูงมากจนสามารถแทรกแซงเรื่องต่าง ๆ ได้

ด้วยอัลกอริธึมของ Facebook ทำให้มันสามารถสร้างเสียงสะท้อน (Echo) ต่อ ๆ กันไปของผู้ที่มีความคิดเหมือนกันในเรื่องต่าง ๆ ที่มักจะทำการแชร์ทุกเรื่องที่พวกเขาเห็นด้วย ทำให้ Facebook สามารถนำข้อมูลความชื่นชอบของกลุ่มคนเหล่านี้ไปขายให้แก่นักโฆษณาได้

นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแม้ว่าเรื่องราวที่ผู้คนแชร์ออกไปนั้น ในบางครั้งจะเป็นเรื่องโกหกก็ตาม

นาย Brice Schneier ผู้เป็นกูรูในเรื่องความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ได้เตือนว่า

“อย่าเผลอคิดว่าคุณเป็นลูกค้าของ Facebook เพราะคุณไม่ใช่ คุณเป็นสินค้าของ Facebook ต่างหากล่ะ”

อาจต้องใช้เวลาสักพัก แต่ผู้ใช้งานหลายคนก็เริ่มเข้าใจในสิ่งที่ตนกำลังเผชิญอยู่ กล่าวคือทุกวันนี้ ผู้ใช้ Facebook เผยแพร่เรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งทำให้มีผู้เข้ามาที่เว็บไซต์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงทำให้นักโฆษณาจากบริษัทต่าง ๆ สนใจใช้บริการ ในขณะที่ผู้ใช้งานนั้นกลับไม่ได้เงินสักสตางค์เดียว และยังถูกบังคับให้เห็นในสิ่งที่ไม่ต้องการจะเห็นอีกด้วย

ปมปัญหาหลักสำหรับ Facebook คือการที่ยิ่งกระจายอำนาจออกไป ผู้ถือหุ้นก็จะยิ่งได้ส่วนแบ่งลดลง ในขณะเดียวกัน หากผู้ใช้งานไม่พอใจและเลิกใช้ Facebook ผู้ลงโฆษณาก็จะเลิกใช้บริการเช่นกัน และแพลตฟอร์มนี้อาจถึงจุดจบได้ ซึ่งก็คงไม่ต้องบอกว่า Facebook จะเลือกเก็บลูกค้าฝ่ายไหนไว้ก่อน

การปิดตัวลงของเว็บ MySpace ที่เคยดังมาก่อนที่ Facebook จะถือกำเนิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งเตือนใจอย่างดีถึงความไม่แน่นอนที่อาจเกิดกับ Facebook ในวันหนึ่งเช่นกัน

เหรียญจะช่วยแก้ปัญหา?

การแก้ปัญหานี้อาจใช้วิธีออกเหรียญคริปโต ในที่นี้จะขอสมมติชื่อว่า FBCoin

ทั้งนี้ ทางทีมงานสยามบลอคเชนมิได้รู้ข่าววงในเกี่ยวกับแผนของ Facebook แต่อย่างใด นี่เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น แต่หากมองถึงแผนการในอดีตของ Facebook ที่เคยจะเปิดให้บริการด้านการเงินและการชำระเงินดิจิตอลแต่ยกเลิกไปในภายหลัง รวมถึงโพสต์ของนาย Zuckerberg นี่ก็อาจเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่จะคาดการณ์ถึง

โดย Facebook น่าจะมีการขุดเหรียญบางส่วนก่อนการเปิดตัว (Pre-mine) และแจกจ่ายเหรียญเหล่านั้นให้แก่ผู้ถือหุ้น รวมถึงเก็บไว้เพื่อมอบให้ผู้ใช้งานที่สามารถดึงคนเข้ามายังเว็บไซต์ด้วยคอนเทนต์ที่พวกเขาสร้างขึ้นเอง โดยในตอนนั้น Facebook น่าจะบังคับให้นักโฆษณาจ่ายค่าโฆษณาด้วยเหรียญนี้ จากนั้นทั้งตลาดก็จะรวมกันเองโดยสมบูรณ์ โดยผู้ใช้งานจะสามารถนำเหรียญไปขาย และหารายได้จากการสร้างคอนเทนต์ได้ โดยมูลค่าของเหรียญจะเปลี่ยนแปลงตามค่าเงินดอลลาร์ ตามอุปสงค์และอุปทาน

นี่เป็นวิธีที่ทางทีมงานสยามบลอคเชนเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปมปัญหาของ Facebook ดังที่กล่าวมาด้านบนได้ด้วยการให้ผลประโยชน์ในการเติบโตของเว็บแก่ทั้งผู้ถือหุ้นและผู้ใช้งานใน ด้วยเงื่อนไขที่มีความ Decentralize มากขึ้น

อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะเห็นถึงอันตรายที่อาจจะเกิด

อัลกอริธึมจะแยกแยะอย่างไรว่าอะไรคือ “ต้นฉบับ” ไม่ใช่สิ่งที่เพียงแค่ copy และ paste ผลงานของคนอื่นมา ทำให้การดำเนินการของเหรียญนี้จะต้องมีระบบพิสูจน์ผลงาน (proof-of-work) และระบบอื่น ๆ เพื่อป้องกันกลโกงต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน เช่น การใช้บอทในการสร้างคอนเทนต์ อีกด้วย

แล้วใครจะเป็นคนดำเนินการสิ่งเหล่านี้? มันเหลือเชื่อเกินไปหากจะคิดว่า Facebook นั้นจะไม่ควบคุมตลาดเหรียญของตนเลย หรือจะดำเนินการเองทั้งหมดเช่นเคย

อย่างไรก็ตาม ถ้านาย Zuckerberg ต้องการที่จะกระจายอำนาจด้วยการสร้างเหรียญเข้าไปในระบบและในตลาด Decentralize ซึ่งจะทำให้เหรียญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลประโยชน์ไปด้วย แต่น่าจะเป็นวิธีที่เลวร้ายที่จะทำ

โดยส่วนตัวนั้น ทางผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีผู้อื่นสร้าง Social media ที่มีความ Decentralize ขึ้นมาแทน Facebook และส่งผลให้ Facebook ต้องตกที่นั่งเดียวกันกับ MySpace ซึ่ง Social media นั้นควรจะมีรูปแบบที่คืนอำนาจกลับไปสู่มือของผู้ใช้มากกว่าที่จะกุมมันไว้คนเดียว

แต่ใครจะรู้? นาย Mark Zuckerberg ผู้ที่เคยปฏิญาณตนว่าจะยกทรัพย์สินของเขาให้แก่องค์กรการกุศล อาจตระหนักได้ว่าบางทีของขวัญที่ดีที่สุดที่เขาจะสามารถมอบให้โลกใบนี้ได้ก็คือแพลตฟอร์มสำหรับความคิดสร้างสรรค์ที่จะให้อำนาจแก่ผู้คนด้วยการให้รางวัลแก่ความคิดและการแสดงออกของพวกเขาอย่างเท่าเทียมก็อาจเป็นได้

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น