<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

งานวิจัยยืนยัน ! “เงินซื้อความสุขได้” และ คนรวยมีความสุขมากกว่าคนจน 

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

งานวิจัยล่าสุดได้ท้าทายความเชื่อเดิม ๆ  เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเงินกับความสุข ซึ่งจากคำกล่าวที่ว่า เงินซื้อความสุขไม่ได้ ถึงเวลาแล้วที่คำกล่าวนี้ต้องกลับมาทบทวนใหม่

ผลงานวิจัยจำนวนมากในอดีต ได้แสดงให้เห็นว่า เงินและความสุขนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แม้ว่าโดยส่วนใหญ่จะเชื่อกันว่า เมื่อใดก็ตามที่ใครสักคนมีรายได้เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตที่สะดวกสบายพอประมาณ ซึ่งปกติจะอยู่ที่ประมาณ 75,000 ดอลลาร์ต่อปี ประโยชน์ในด้านความสุขจะเริ่มลดลง

อย่างไรก็ตาม “จุดอิ่มตัวของความสุข” ตามที่นักวิจัยเรียกกันนั้น อาจเป็นเพียงความเชื่อ ที่เป็นผลเนื่องมาจากข้อมูลที่จำกัดเกี่ยวกับคนอเมริกันที่ร่ำรวยมาก 

ตามข้อมูลจาก Matthew Killingsworth นักวิจัยด้านความมั่งคั่งและความสุขของโรงเรียน Wharton  แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พบว่า คนที่ร่ำรวยมาก มีความสุขมากกว่าคนที่มีรายได้ 500,000 ดอลลาร์ต่อปี ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็มีความสุขมากกว่าคนที่มีรายได้น้อย และปานกลางอย่างเห็นได้ชัด

เช่นเดียวกันกับ ผลงานวิจัยล่าสุดของ Killingsworth ที่พบว่า มีช่องว่างขนาดใหญ่ที่สำคัญ ในด้านความสุขระหว่างชาวอเมริกันที่มีรายได้สูงและต่ำ

เงินมากขึ้น ความสุขก็มากขึ้น?

งานวิจัยครั้งใหม่ของ Killingsworth ได้รวบรวมคำตอบจากการศึกษาอื่น ๆ ที่วัดกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ ของผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง (มากกว่า 33,000 คน) รวมถึงบุคคลที่มีทรัพย์สินสุทธิสูงประมาณ 2,200 คนที่เป็นเศรษฐีพันล้าน

ผลการวิเคราะห์พบว่า ความสุขที่รายงานด้วยตนเอง (หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีนี้คือ ความพึงพอใจในชีวิต) จะเพิ่มขึ้นตามรายได้ 

แต่ช่องว่างของความสุข ระหว่างคนที่ร่ำรวยมาก กับคนที่มีรายได้ปานกลางนั้น ยังมีขนาดใหญ่กว่า ช่องว่างระหว่าง ผู้มีรายได้น้อยกับรายได้ปานกลาง อีกด้วย

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คนที่ร่ำรวยมากมีความสุขมากกว่าคนที่รายได้ปานกลาง ด้วยเงินที่มีในช่วง 70,000 ดอลลาร์ ถึง 80,000 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่เชื่อมโยงกับระดับความสุขตามประวัติศาสตร์ และคนที่มีรายได้ปานกลางก็มีความสุขมากกว่าคนที่รายได้น้อยกว่าเช่นกัน

(เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง รายได้เฉลี่ยในสหรัฐฯ จะอยู่ที่ประมาณ 60,000 ดอลลาร์ ซึ่งเทียบเท่ากับการตอบสนองทั่วๆ ไปของคำว่า “พึงพอใจเล็กน้อย” กับชีวิต)

งานวิจัยก่อนหน้านี้ที่อิงตามช่วงรายได้ที่จำกัด ทำให้ยากต่อการกำหนดอัตราส่วนเงินต่อความสุขสำหรับคนที่มีรายได้สูงสุด 

Killingsworth อธิบายว่า ข้อจำกัดนี้นำไปสู่แนวคิดที่ว่า “แต่ละคนเพียงแค่ต้องมี ‘เพียงพอ’ จากนั้นจึงจะเปลี่ยนความสนใจทั้งหมดไปที่สิ่งอื่น นอกเหนือจากเงิน ได้อย่างมีเหตุผล” 

อีกทฤษฎีหนึ่งชี้ให้เห็นว่า กับดักของสังคมชั้นสูง และการแข่งขันกันในสังคม ทำให้คนรวยมีความสุขน้อยลง

ที่มา : money