<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ส่อง 6 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับบล็อกเชนที่ถูกส่งต่อกันมาตลอดทศวรรษที่ผ่านมา

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เป็นเวลากว่า 15 ปีแล้วที่เทคโนโลยีบล็อกเชนได้เป็นที่พูดถึงในแวดวงทั่วโลก โดยมันมีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดสุดล้ำของชายปริศนาคนหนึ่งที่ต้องการเปลี่ยนโฉมระบบการเงินโลก ซึ่งนั่นก็คือตัวของ Satoshi Nakamoto ผู้สร้าง Bitcoin นั่นเอง

ทว่า แม้วันเวลาจะผ่านพ้นไปนานหลายปี แต่เชื่อหรือไม่ว่าความเชื่อบางอย่างยังคงถูกส่งต่อกันมาอย่างผิด ๆ นานนับทศวรรษ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าความเชื่อใดที่ยังมีความไม่เข้าใจเกิดขึ้นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับระดับบริษัท โดยจะเป็นการอ้างอิงข้อมูลจากบริษัทวิจัย Forrester Research

1 บล็อกเชนจะขจัดตัวกลางให้หมดสิ้น

หนึ่งในความเชื่อที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือหน้าที่สำคัญของบล็อกเชนที่จะเข้ามาช่วยขจัดตัวกลาง โดยกรณีที่ชัดที่สุดคือในส่วนของคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่ต้องพึ่งพาธนาคารอีกต่อไป แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าตัวกลางจะหายไปเสียทั้งหมด โดยรายงานเผยว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ใช้งานทำการติดต่อกับบล็อกเชนโดยตรง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะสุดท้ายเวลาจะดำเนินการอะไรก็มักจะทำผ่านแอปหรือเครื่องมือซึ่งก็นับเป็นตัวกลางอีกรูปแบบอยู่ดี

2 บล็อกเชนนั้นกระจายศูนย์

ถัดมาคือความเชื่อเรื่องการที่บล็อกเชนนั้นมีความกระจายศูนย์อำนาจ (Decentralized) โดยในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่หลายคนอาจไม่ทราบว่าบล็อกเชนนั้นมีหลายชนิด และบางชนิดก็มีการรวมศูนย์กลางอำนาจควบคุมทั้งหมด เช่นบล็อกเชน Ripple ( XRP) มากไปกว่านั้นในเชิงทฤษฏี Bitcoin และ Ethereum ต่างก็เป็นเครือข่ายกระจายศูนย์ ทว่าหากมองลึกลงไปจะพบว่ากลุ่มนักขุดต่างก็ได้มีการรวมตัวกันเป็นขั้วอำนาจขนาดย่อม ๆ  นั่นจึงทำให้เราอาจจะใช้คำว่ากระจายอำนาจอย่างสมบูรณ์ได้ไม่เต็มปากเสียทีเดีย

3 ไม่จำเป็นต้องพึ่งความเชื่อใจ (Trust) อีกต่อไป

ในส่วนของความเชื่อใจ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าข้อมูลในบล็อกเชนนั้นโปร่งใส ตรวจสอบได้จึงทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องอาศัยความเชื่อใจกันอีกต่อไป แต่ในความเป็นจริงแล้วมันอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น โดยรายงานได้ระบุว่าความเชื่อใจจะยังคงอยู่แต่จะเปลี่ยนจาก “ความเชื่อใจในตัวบุคคล” ไปยังการเชื่อใจใน “ระบบปฏิบัติการของเครือข่าย” แทน หมายความว่าผู้ใช้ก็จำเป็นที่จะต้องตัดสินใจอยู่ดีว่าเครือข่ายที่เลือกจะมีความน่าเชื่อถือเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่

4 บล็อกเชนนั้นคงกระพัน

สำหรับใครหลายคนคงจะเคยได้ยินมาแล้วว่าบล็อกเชนนั้นแข็งแกร่งและไม่มีทางถูกแก้ไข หรือเจาะระบบได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบล็อกเชนอย่าง Bitcoin จริงอยู่ที่ว่าบล็อกเชนของ Bitcoin นั้นแข็งแกร่ง แต่ในกรณีของบล็อกเชนอื่น ๆ ไม่เป็นเช่นนั้น และยังคงมีความเสี่ยงที่จะถูกเจาะเข้าระบบและทำการแก้ไขข้อมูลได้อยู่เสมอ ซึ่งคำตอบที่ว่าบล็อกเชนไหนจะดีกว่ากันก็ขึ้นอยู่กับการค้นคว้าของผู้ใช้งานเองในจุดนี้

5 บล็อกเชนนั้นปลอดภัยกว่าระบบเดิม ๆ

ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว ว่าด้วยเรื่องของความปลอดภัยของบล็อกเชน แน่นอนว่าการใช้งานบล็อกเชนจะทำให้ข้อมูลนั้นปลอดภัยขึ้น แต่มันก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวบล็อกเชนเองด้วยไม่ใช่แค่ว่านำข้อมูลมาบันทึกในบล็อกแล้วจะปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม เพราะแม้แต่ในบล็อกเชนที่มีหลายโหนดก็ยังตกเป็นเป้าของการโจมตีได้ในปัจจุบัน

6 เทรนด์กำลังมาต้องรีบเปิดรับเสมอ

สุดท้ายนี้อาจจะไม่ได้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องในระดับผู้ใช้งาน แต่รายงานเปิดเผยว่าในช่วงที่บล็อกเชนกำลังเป็นที่นิยม มีบริษัทจำนวนมากพยายามผนวกตนเองรวมเข้ากับเทคโนโลยีดังกล่าว แต่ผลก็ได้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่ามีโครงการบล็อกเชนจำนวนมากล้มเหลวและถูกยุบไปในช่วงระหว่างปี 2022-2024 หมายความว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนอาจไม่ใช่คำตอบสำหรับทุก ๆ ธุรกิจ 

ที่มา : Cryptonews