คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยฝ่ายกับกำกับดูแลนโยบายระบบการชำระเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการกล่าวว่าทางบริษัทโซเชี่ยลมีเดียยักษ์ใหญ่นี้ได้มีการติดต่อเข้ามาทางธนาคารแห่งประเทศไทยสำหรับโครงการ Libra ของพวกเขาเป็นที่เรียบร้อย อย่างไรก็ตามยังไม่ได้มีการระบุถึงวันและเวลาที่แน่นอนสำหรับการพูดคุยแต่อย่างใด
ทั้งนี้ทางธนาคารแห่งชาติเองได้มีการจัดตั้งทีมเฉพาะกิจขึ้นโดยมีผู้เชี่ยวชาญจากด้านต่างๆเช่น ด้านระบบการชำระเงิน ด้านกฎหมาย และด้านเงินตราระหว่างประเทศ เป็นต้น เพื่อทำการศึกษาสกุลเงินคริปโตดังกล่าวของบริษัท Facebook โดยเฉพาะ โดยธนาคารกลางในประเทศอื่นๆอย่างสหรัฐฯหรือสิงคโปร์นั้นต่างก็เป็นหนึ่งในธนาคารกลางแรกๆของโลกที่มีการพูดคุยกับทางบริษัท
แผนการของ Facebook ในการขยายธุรกิจของตนเข้าสู่วงการระบบการดำเนินธุรกรรมและชำระเงินแบบออนไลน์นั้น ตั้งอยู่บนหลักที่ว่าสกุลเงินคริปโตของทางบริษัทนั้นถูกค้ำจุนไว้ด้วยสินทรัพย์ต่างๆเช่นเงินฝากและหลักทรัพย์ต่างๆของรัฐบาล เพื่อรักษาเสถียรภาพของตัวสกุลเงินไว้นั้นเอง
ท่ามกลางสถานการณ์ที่เหล่ารัฐบาลทั่วโลกต่างกำลังจับตามองและตั้งข้อสังเกตถึงสกุลเงินคริปโตดังกล่าวนั้น Libra กลับได้ถูกตั้งความหวังให้เป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ในการทำธุรกรรมและการเพิ่มโอกาสให้กลุ่มผู้ใช้งานที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบธนาคารในโลกปัจจุบันนั้นสามารถดำเนินการทางการเงินผ่าน Libra ได้
นอกจากนี้คุณสิริธิดายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า
“ทางธนาคารแห่งชาตินั้นกำลังมุ่งเป้าไปที่การวิเคราะห์ถึงผลประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานเป็นหลัก โดยพวกเรานั้นจะทำการศึกษาทั้งสกุลเงินคริปโตที่มีอยู่ในปัจจุบัน ระบบกลไลของตัวสกุลเงิน มาตรการการป้องกันคุ้มครองผู้บริโภคและปัญหาด้านความปลอดภัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ทั้งนี้ทางธนาคารแห่งชาติได้มีการร่วมมือกับธนาคารกลางของพื้นที่อื่นๆทั่วโลกเพื่อค้นหานวัตกรรมใหม่ๆมาใช้กับวงการการเงินของทั้งภูมิภาคอีกด้วย”
กรณีตัวอย่างที่มีแผนการดำเนินการเร็วๆนี้ของทางธนาคารแห่งชาติอย่างเช่น ระบบ QR code ที่ใช้ในการชำระเงินนั้นจะถูกนำมาใช้ในการโอนเงินระหว่างประเทศไทยและประเทศกับพูชาภายในปีนี้ ซึ่งบริการดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เรียบร้อยแล้วระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว และประเทศสิงคโปร์
คุณสิริธิดายังได้ออกมากล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่า
“โครงการดังกล่าวนั้นยังไม่มีกรอบเวลาในการดำเนินการให้แล้วเสร็จอย่างตายตัวโดยทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละประเทศด้วย ซึ่งปัจจัยความแตกต่างที่สำคัญคือปัจจัยด้านลักษณะการใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ปัจจัยด้านระบบเศรษฐกิจและปัญหาด้านความสอดคล้องของกฎหมาย เป็นต้น”
ทั้งนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้มีการจัดงาน Bangkok Fintech Fair 2019 ในวันที่ 18 เดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ โดยจะเป็นการรวมตัวของผู้คนที่เกี่ยวข้องในวงการรวมถึงบริษัทและหน่วยงานต่างๆ อีกทั้งจะได้มีการเปิดทดสอบระบบการระบุตัวตนของลูกค้าแบบอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่า (e-KYC) เป็นครั้งแรกด้วยนั่นเอง
ที่มา บางกอกโพสต์
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น