<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เกาหลีใต้เตรียมเปิดตัวเหรียญ Cryptocurrency ของตัวเองเพื่อสร้าง ‘เมืองอัจฉริยะ’ ปลายปีนี้

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมืองโซลประเทศเกาหลีใต้กำลังสร้างเงินดิจิทัลแยกออกมาต่างหากจากเงินของประเทศเป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่สำคัญของการสร้างเมืองอัจฉริยะซึ่งจะเปิดตัวออกมาให้เห็นภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

จากรายงานของ blockinpress reports เผยว่าในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงโซลนั้นจะมุ่งพัฒนาและเปิดตัว

  1. บริการสาธารณะที่รองรับระบบ ID ของชาวเกาหลีบน Blockchain
  2. ระบบ Blockchain ที่นำมาใช้กับสัญญาพนักงาน part time การประกันและประวัติการทำงาน
  3. เหรียญคริปโตเคอร์เรนซีของประเทศ นาม S-coin

S-coin นี้สามารถนำไป redeem เพื่อแลกรางวัลได้ ซึ่งเหรียญจะได้จากการที่พลเมืองใช้บริการสาธารณะและทำตามหน้าที่ของพลเมือง เช่น จ่ายภาษี ซึ่งเหรียญนี้สร้างขึ้นเพื่อสร้างวินัยให้กับพลเมืองและเป็นส่วนหนึ่งของแผนการณ์ที่จะสร้างให้เมืองเป็นเมืองอัจฉริยะ

มูลค่าของ S-coin

การที่จะเข้าใจ S-coin ว่าสร้างขึ้นมาทำไมนั้นเราต้องเข้าใจเสียก่อนว่าเมืองโซลนั้นมีแผนที่จะสร้าง Smart City ขึ้นมาเพื่อให้คนมีส่วนร่วมและเป็นศูนย์กลางของทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัย การที่มีเหรียญคริปโตออกมาก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จูงใจให้ผู้คนทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดีให้กับประเทศอย่างเต็มใจได้ด้วย

ก่อนหน้านี้แรงผลักดันที่จะทำให้คนทำตามนโยบายสาธารณะมาจากการลงโทษเสียทั้งสิ้น ถ้าพวกเขาไม่ทำตามหน้าที่พวกเขาก็โดนลงโทษ แต่ถ้าหากเปลี่ยนวิธีการเป็นการสร้างแรงจูงใจและได้ผลตอบแทนอะไรกลับมาสู่พลเมือง เขาก็จะยิ่งอยากทำสิ่งนั้นมากกว่าด้วยความเต็มใจ

ทำไมคริปโตจึงเป็นเครื่องมือสร้างแรงจูงใจได้ดีกว่าเงินจริง?

การที่จะสร้างอิทธิพลต่อลักษณะนิสัยของพลเมืองและการสร้าง Smart City มันต้องใช้เครื่องมืออย่างอื่นนอกจากเงิน

อันดับแรกเงินวอนของเกาหลีเป็นเงินของประเทศที่ทุกที่ต่างรองรับ คุณไม่สามารถเอาเงินวอนมาทดลองได้ หรือคุณจะห้ามไม่ให้เข้าถึงเงินวอนหรือควบคุมราคาของมันโดยไม่ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงต่อความเสียหายที่จะตามมาไม่ได้

ต่อมา S-coin นั้นเป็นเหรียญดิจิทัล ซึ่งสามารถตั้งโปรแกรมให้มันเป็น Smart Money ได้ รัฐบาลสามารถตั้งค่าได้ว่าสามารถใช้เหรียญนี้ที่ใดได้บ้าง สามารถเลือกได้ว่าให้มันมีค่าที่ใด และมีค่าเท่าไหร่ ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ มันจึงเป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจได้ดี

เช่น คุณสามารถห้ามไม่ให้คนโอนมันหากันอย่างตามใจชอบก็ได้ หรืออาจตั้งค่าให้เหรียญนี้เป็นรางวัลแก่ลูกที่ทำตัวดีเอาไปใช้ซื้อของได้ แล้วยังสามารถตั้งค่าได้ด้วยว่าให้ S-coin สามารถนำไปใช้ที่ไหนได้บ้าง เช่น นำไปใช้สำหรับบริการสาธารณะเท่านั้น และคุณไม่สามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้กับเงินจริง

การที่จะได้เหรียญ S-coin มานั้นยังไม่แน่นอนแต่หลัก ๆ ที่สร้าง S-coin ขึ้นมาก็เพื่อ

  • ผลักดันให้พลเมืองทำตามหน้าที่
  • อำนวยความสะดวกในการร่วมมือระหว่างประชาชน
  • รวบรวมข้อมูลข่าวสาร

ร่วมตัดสินใจระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน

การมีส่วนร่วมตัดสินใจระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนนั้นเป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักการประชาธิปไตย ในที่นี้พลเมืองสามารถออกมาแสดงความคิดเห็นและสามารถลงคะแนนเสียงประเด็นของ S-coin ได้ ซึ่งจะมีกล่องแสดงความเห็นให้ประชาชนไปใส่ความคิดให้ไว้ได้และภาครัฐและเอกชนก็จะเห็นความเห็นนี้ทุกคน

ซึ่งจากภาพในกล่องทางด้านซ้ายสุดเขาได้แสดงความเห็นว่าทางการกำลังนำเงินไปใช้สร้างประโยชน์สาธารณะในทางที่ผิด ส่วนด้านขวาสุดก็เสนอว่าห้องน้ำสาธารณะควรมีไฟแสดงสัญญาณที่นอกจากว่างกับไม่ว่างเพื่อให้คนรู้ว่าจะใช้งานห้องน้ำได้นานเท่าใด คนจะได้เลือกได้ว่าจะรอหรือไม่รอ

ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่ถูกพูดถึงก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมสิ่งที่สำคัญที่รัฐจะเป็นผู้ปกครองที่ดีได้นั้นก็คือการถามความคิดเห็นของประชาชน ถ้าประชาชนเห็นว่าพวกเขามีสิทธิมีเสียง พวกเขาก็จะเข้าร่วมมือกับรัฐเอง

อำนวยความสะดวกในการร่วมมือกันระหว่างพลเมือง

แรงจูงใจช่วยผลักดันให้พลเมืองจัดการและร่วมมือระหว่างกันและกันมากขึ้นใน Smart City ในปี 2016 เมืองโซลก็เคยออกแผนการแชร์ที่จอดรถส่วนตัวเพื่อลดปัญหาประชาชนจอดรถในที่ห้ามจอด ในเมืองโซลนั้นมีที่จอดรถกว่า 3.4 ล้านที่ และมีรถที่ได้รับการจดทะเบียน 2.6 ล้านคัน เพราะฉะนั้นที่จอดรถจึงเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นเมื่อที่จอดรถมันเต็มคนก็ต้องหาที่จอดอื่น ๆ เช่น บ้านคนซึ่งเจ้าของบ้านสามารถมาลงทะเบียนกับรัฐว่าให้ใช้พื้นที่จอดส่วนตัวได้และคิดค่าที่จอดเป็นชั่วโมงได้อีกด้วยอีกทั้งกำหนดได้ว่าสามารถจอดได้ถึงกี่โมง เป็น win-win situation สำหรับทั้งสองฝ่ายคือเจ้าของบ้านและผู้ขับรถ

เมื่อแผนการณ์นี้ถูกนำไปใช้พบว่ามีการจอดรถในที่ห้ามจอดลดลงถึง 60% ในเมืองโซล ซึ่งรัฐก็ผลักดันนโยบายนี้ไปยังเมืองอื่น ๆ อีกกว่า 25 แห่ง การนำเงินมาสร้างแรงจูงใจก็ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ดีในการผลักดันให้คนเคารพกฎระเบียบ

แต่หากเปลี่ยนเครื่องมือสร้างแรงจูงใจมาใช้คริปโตเคอร์เรนซี เช่น S-coin มันจะมีลูกเล่นอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา ตัวอย่างเช่น การอนุญาตให้ S-coin เป็นวิธีการชำระเงินสำหรับการจอดรถ รัฐสามารถกระตุ้นให้ผู้ขับขี่จำนวนมากเคารพกฎระเบียบเพื่อรับรางวัล S-coin เป็นการตอบแทน นอกจากนี้คริปโตเคอร์เรนซีอย่าง S-coin มันมีความยืดหยุ่นมากกว่า สามารถกำหนดส่วนลดได้หากจ่ายเป็น S-coin แทนเงินวอนเกาหลี

การรวบรวมข้อมูล

ข้อมูลของพลเมืองมีบทบาทสำคัญในการสร้าง Smart City หากรัฐบาลลงทุนหลายพันล้านโครงการในบริการสาธารณะ รัฐก็ต้องการอยากรู้เสียงตอบรับจากประชาชน

ตัวอย่างเช่น การเส้นทางรถเมล์กลางคืนรัฐบาลกรุงโซลได้วิเคราะห์ต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทางของรถแท็กซี่ประมาณ 3 พันล้านครั้งหลังจากเที่ยงคืน รัฐก็จะต้องอยากรู้ว่ามันเป็นไปได้หรือไม่อย่างไร

แต่ทัศนคติต่อการแบ่งปันข้อมูลกับรัฐบาลนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ผู้คนอาจจะยินดีหากมันทำไปเพื่อการสร้างงานสาธารณะที่เป็นประโยชน์ แต่ก็จะไม่ชอบพอใจหากรัฐบาลเอาข้อมูลเหล่านั้นไปขายยังบริษัทการตลาด

แต่เมื่อใช้คริปโตเคอร์เรนซีมาเป็นสิ่งรวบรวมข้อมูลแทนมันจะเป็นประโยชน์สำหรับทั้งสองฝ่าย คือพลเมือจะได้รับรางวัลโดยตรงตอบแทนสำหรับการแชร์ข้อมูลบางประเภท เช่น แผนที่การเดินทางประจำวันหรือคุณภาพอากาศในสถานที่ที่พวกเขาอยู่โดยไม่สมัครใจ มันดีกว่าแชร์ข้อมูลไปแล้วไม่ได้อะไรกลับมาเลย ในแง่ของรัฐบาลสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เก็บไว้บน Blockchain นั้นถูกต้องแน่นอนโดยไม่ต้องไปพยายามเก็บข้อมูลด้วยตนเอง

รัฐบาลอาจทำหน้าที่เป็นฐานเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยของพลเมืองตนจากนั้นก็เปิดเผยต่อสาธารณะในรูปแบบที่รักษาความเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลซึ่งก็เป็นประโยชน์ให้กับทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

Smart City

ประเทศต่าง ๆ ในหลายประเทศทั่วโลกต่างอยากที่จะเป็น Smart City แต่การจะบรรลุวัตถุประสงค์นี้เร็วหรือช้ามันก็เป็นอัตวิสัย กรุงโซลนั้นก็ถือได้ว่าเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นมิตรต่อคริปโตเคอร์เรนซี

ประชาชนครึ่งหนึ่งของเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในกรุงโซล มีประชากรสูงกว่า LA ถึงสี่เท่าและมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เร็วที่สุดในโลก แต่นี่เป็นเพียงหนึ่งในเมืองรูปแบบ Smart City

Smart City สร้างขึ้นมาเพื่อผู้อยู่อาศัยในเมืองนั้นโดยเฉพาะ และมันจะออกมาเป็นรูปแบบอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและความต้องการของประชาชนในท้องที่ ซึ่ง Smart City แต่ละแห่งก็จะมีความแตกต่างกันไป

ไม่ว่าความพยายามในการสร้าง Smart City จะมาจากแรงขับเคลื่อนของภาครัฐหรือภาคเอกชนสิ่งที่สำคัญคือรัฐบาลเปิดกว้างต่อประชาชนในประเด็นต่าง ๆ มากน้อยแค่ไหนและปัจจัยอื่น ๆ มากมายจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของเมืองในอนาคต

ที่มา finder.com.au

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น