อย่างที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยี Blockchain นั้นไม่ได้เอามาใช้แค่สร้าง Cryptocurrency เช่น Bitcoin สำหรับวงการการเงินเพียงอย่างเดียว แต่มันยังสามารถไปประยุกต์ใช้ได้อีกหลากหลายอุตสาหกรรมเลยด้วยเหมือนกับอินเทอร์เน็ต
IBM ใช้ Blockchain พัฒนาวงการอาหาร
ล่าสุด IBM บริษัท IT ชื่อดังระดับโลก ได้เผยว่า พวกเขากำลังพัฒนา Proof-of-concept ของการใช้ Blockchain ในหน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร หรือ Food Safety and Inspection Service (FSIS) ซึ่งเป็นองค์กรย่อยในกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ โดยแนวคิดที่กำลังทดสอบอยู่นั้นคือ Blockchain สามารถถูกนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำใบรับรองได้หรือไม่
FSIS นั้นเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลอาหารของสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ, สัตว์ปีก หรือผลิตภัณฑ์ไข่ทั้งหมด ให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยปกติแล้ว การทำงานของ FSIS นั้นมีความไร้ประสิทธิภาพอยู่สูงเพราะ ในระบบเดิมมีกระบวนการด้านกฎหมายทับซ้อนกับเต็มไปหมดจากหลากหลายประเทศ
FSIS ยังมีหน้าที่คอยตักเตือนผลิตภัณฑ์อาหารใด ๆ ก็ตามที่ปนเปื้อน, ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หรือเขียนสลากผิด อย่างเช่นในกรณีล่าสุด เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้มีบริษัททำ Meatball แห่งหนึ่งเขียนสลากสินค้าผิดเลยถูกสั่งห้ามขาย:
“ หน่วยงานความปลอดภัยและตรวจสอบอาหารของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (FSIS) กำลังออกประกาศเตือนภัยด้านสุขภาพเนื่องจาก บริษัท Carso’s Pasta ได้ทำการขายผลิตภัณฑ์ Meatball ที่พร้อมทาน (Ready-to-eat) จำนวน 636 ปอนด์ที่ผิดกฎหมาย ผลิตภัณฑ์มีปลากะตัก ซึ่งไม่ได้ระบุไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จะไม่เปิดให้ผู้บริโภคซื้ออีกต่อไป”
นอกจากเคสนี้แล้ว ก็ยังมีเคสอื่น ๆ มากมาย แต่กมีอยู่น้อยครั้งที่ความร้ายแรงของความผิดพลาดนั้นจะทำให้ถึงขั้นเสี่ยงชีวิต ในปี 2018 ได้มีจำนวน 97 เคสที่ถูกพิจารณาว่า จะส่งผลอย่างร้ายแรงจนถึงเสียชีวิตได้เลย
เคสที่พวกเขาเคยเจอมานั้นก็มีตั้งแต่การที่มีเชื้อ Salmonella ในสลัดไก่ ไปจนถึงเชื้อ E. coli ในเนื้อดิบของเป็ปเปอร์โรนี
อ้างอิงจากรายงานความปลอดภัยด้านอาหารของ PIRG Education Fund เคสความร้ายแรงระดับ Class I นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 83 เปอร์เซ็นต์ จากปี 2013 ถึงปี 2017 ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นหากพิจารณาว่าเทคโนโลยีและมาตรฐานต่าง ๆ นั้นพัฒนาไปเรื่อย ๆ
ก่อนหน้านี้ ผู้ออกกฎหมายด้านความปลอดภัยอาหาร เคยกล่าวว่า พวกเขาจะโฟกัสไปยังการทำระบบตรวจสอบ, นโยบาย และการใช้วิทยาศาตร์มีความล้ำสมัยมากขึ้นไปอีกในปี 2020
ในการ Proof-of-concept ครั้งนี้ของ IBM จะเป็นตัววัดว่า เทคโนโลยี Blockchain นั้นสามารถปรับปรุงการทำเอกสารไปตลาดทั้ง Supply Chain ของพวกเขาได้หรือไม่ ซึ่งถ้าทำได้มันก็คงจะลดจำนวนงานที่หน่วยงานเหล่านี้ต้องทำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบได้ไม่น้อย และเมื่อการตรวจสอบดีขึ้น คุณภาพชีวิตของประชาชนก็จะดีขึ้นอีกนั่นเอง เนื่องจากรู้เท่าทันภัยที่แฝงมาในอาหาร
อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารนั้นยังคงเป็นเรื่องที่ใหม่อยู่ในสหรัฐฯ และประเทศไทยเองก็ยังคงไม่ค่อยมีการพูดถึงมากนัก ไม่แน่ว่าหากแนวคิดดังกล่าวสามารถใช้งานได้จริงในสหรัฐฯ ในอีกหลายปีข้างหน้าไทยอาจจะพัฒนาตามไปก็เป็นได้
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น