<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ธนาคารกลางยุโรปเตือนว่าอาจต้องใช้ ยูโรดิจิทัลเพื่อต่อสู้กับ “เงินปลอม”

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในการประเมินผลงานประจำปีของ ECB เมื่อไม่นานมานี้ นักเศรษฐศาสตร์ Massimo Ferrari และ Arnaud Mehl ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของสกุลเงินเทียมที่นำโดย “ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีจากต่างประเทศ” (ไม่ได้เอ่ยถึงชื่อโดยตรง) ซึ่งน่าจะเป็นการอ้างถึงโครงการ Diem ของ Facebook :

“ข้อกังวลประการหนึ่งอาจเป็นการชำระเงินข้ามพรมแดนที่ผูกขาดโดยผู้ให้บริการนอกประเทศ รวมถึงยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่อาจเปิดตัวสกุลเงินเทียมในอนาคต”

“สิ่งนี้ไม่เพียงแต่คุกคามความมั่นคงของระบบการเงินเท่านั้น แต่ทั้งผู้คนและร้านค้าก็จะเสี่ยงต่อตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการตลาดที่แข็งแกร่ง” ทั้งคู่กล่าวเสริม

ECB ค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของสกุลเงินเทียมหรือเหรียญ Stablecoin ในยุโรป และก่อนหน้านี้พวกเขาได้ขอให้ฝ่ายนิติบัญญัติของสหภาพยุโรประงับอำนาจเกี่ยวกับโปรเจกต์เหรียญ Stable coin แบบส่วนตัว เช่น โปรเจกต์ Diem ของ Facebook

ECB ได้ใช้แนวทางอย่างระมัดระวังในการออกสกุลเงินดิจิทัล โดยประธาน ECB นาง Christine Lagarde กล่าวว่า “มันต้องใช้เวลาพอสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัย” และเธอเสริมด้วยว่า “ฉันหวังว่ามันจะใช้เวลาไม่นานเกิน 5 ปี”

รายงานที่จัดทำขึ้นโดย Ferrari และ Mehl’s เกี่ยวกับ “สกุลเงินของ CBDC และสกุลเงินทั่วโลก” ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “มันมีความจำเป็นหลายประการในการออกเงินยูโรดิจิทัล” 

โดยพวกเขาเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการแข่งขันกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการการชำระเงิน และตั้งข้อสังเกตว่าการรวมเงินยูโรดิจิทัลเข้ากับบริการเสริมอาจเป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถทำได้ :

“CBDC สามารถอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบดิจิทัลในการชำระเงินผ่านใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลประจำตัวอิเล็กทรอนิกส์ และลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้คนกลางสามารถนำเสนอบริการ ให้บริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นและเนื้อหาทางเทคโนโลยีด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า”

ตามรายงานระบุว่า มันอาจจำเป็นที่ต้องใช้เงินยูโรดิจิทัลเพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินข้ามพรมแดนในปัจจุบัน โดยผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า เงินยูโรดิจิทัลสามารถขจัดความจำเป็นในการใช้สกุลเงินต่างประเทศสำหรับการทำธุรกรรมระหว่างประเทศได้ และลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องในการทำเช่นนั้น ซึ่งจะ “อำนวยความสะดวกในการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซทั่วโลก” 

รายงานยังระบุด้วยว่า “ฟีเจอร์การออกแบบเฉพาะของ CBDC จะมีความสำคัญต่อการเข้าถึงผู้คนทั่วโลก” และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างแรงจูงใจในการใช้เงินยูโรดิจิทัลผ่านการทำงานร่วมกัน การไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ใช้ และความสามารถในการชำระเงินแบบออฟไลน์

อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เน้นย้ำว่า การไม่เปิดเผยตัวตนจะต้องถูกบรรเทาด้วยความต้องการที่จะมีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับผู้ใช้ CBDC เพื่อ “สร้างเกราะป้องกัน” สำหรับตรวจสอบการใช้เงินทุนในทางที่ผิดรวมถึงการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อการก่อการร้าย กิจกรรมอาชญากรรมข้ามพรมแดน และการฟอกเงิน