นาย Alexander Osipovich นักเขียนจาก Wall Street Journal ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวโน้มและหายนะที่อาจเกิดขึ้นกับการเงินแบบกระจายอำนาจ DeFi ด้วยการวิเคราะห์อย่างละเอียดและรอบคอบ แต่นั่นเป็นวิธีที่เสี่ยงกว่าการลงทุนเว็บเทรดแบบ CeFi จริงหรือไม่ ?
High risk High return
Alexander ได้เผยแพร่บทความเมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม 2021 ถึงแนวความคิดของการ Staking “การทำ yield farming” และการให้กู้ยืม/การกู้ยืมแบบกระจายอำนาจ
จากบทความ Alexander ได้ชี้ให้เห็นว่า นักลงทุน Defi จะถูกโน้มน้าวด้วยอัตราผลตอบแทนรายปีที่ค่อนข้างสูงและน่าประทับใจกว่าดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารแบบดั้งเดิม
“Yield farming” คือการสร้างผลตอบแทนที่ได้จากการปล่อยสินเชื่อในโปรโตคอลและถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือการลงทุนที่มีความเสี่ยงมากที่สุด การลงทุนใน DeFi ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อตัวนักลงทุน เนื่องจากโปรโตคอล DeFi จะมีอยู่เฉพาะบนเครือข่ายเท่านั้น ดังนั้นลูกค้าจึงไม่ได้รับการคุ้มครองโดยหน่วยงานกำกับดูแลของภาครัฐฯ บทความเขียนระบุ
ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนชื่อดังนาย Marc Cuban ได้ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีรูปแบบ flash-loan ในแพลตฟอร์มของ Iron Finance (TITAN) ซึ่งเป็นโปรโตคอล DeFi ที่มีความเสี่ยงสูง
Cuban ได้กล่าวให้สัมภาษณ์กับทาง Wall Street Journal ว่าอัตราผลตอบแทน DeFi ที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อ นั้นดูสมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่นักลงทุนจะได้รับจากโปรโตคอล :
“การทำ Yield farming นั้นไม่แตกต่างอะไรจากการซื้อหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงหรือตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักประกันและให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งพวกเขาต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่จะได้รับ” Cuban กล่าว
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญบางคนรู้สึกไม่เห็นด้วยกับบทความล่าสุดของ WSJ โดยนาย Santiago Roel Santos หุ้นส่วนทั่วไปของกองทุนจัดการสินทรัพย์ด้านคริปโต ParaFi Capital ชี้เห็นว่า สถาบันการเงินแบบดั้งเดิมนั้นยังดูขาดความโปร่งใสกว่ามากเมื่อเทียบกับ DeFi
ที่มา : ลิงก์