อีกหนึ่งกระแสที่ใครต่อหลายคนได้หยิบยกมาพูดถึงในชั่วโมงนี้นั่นก็คือ “Loot Project” ผลงานของ Dom Hofmann หรือ @dhof ผู้ร่วมก่อตั้งแอปพลิเคชัน Vine และหนึ่งในทีมงาน Blitmap โดยเจ้าตัวได้ปล่อยโปรเจกต์ดังกล่าวออกมาในวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมาทางทวิตเตอร์ส่วนตัว
ซึ่งไม่กี่วันให้หลัง Loot Project ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ตามที่ทาง Siam Blockchain ได้รายงานไปในเช้าวันนี้ จากแนวคิดแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในโลกของ NFT ชูความเป็น Decentralized อย่างจริงจัง (สามารถศึกษาเพิ่มเติม Loot Project ได้ที่นี่) จึงทำให้ Loot ที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปแบบของ NFT 8,000 ชิ้นถูก Mint หมดไปอย่างรวดเร็ว และด้วยกระแสความบ้าคลั่งนี้เองจึงได้เกิด Side Project ที่ชื่ว่า “mLoot” (More Loot) ขึ้นมาอีกกว่า 1.316 ล้านชิ้นสำหรับผู้คนที่พลาด 8,000 ชิ้นแรกไป
เป็นเจ้าของ mLoot ฟรี ๆ ผ่านการ Mint บน Etherscan
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ไม่อยากตกรถกับกระแสในครั้งนี้แต่ก็ไม่อยากเสียเงินจำนวนมากเพื่อให้ได้ mLoot มาครอบครองเพราะกลัวจะขาดทุนในอนาคต NFT ของ More Loot จะช่วยให้ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของ mLoot ได้โดยการ Mint ผ่าน Smart Contract บน Etherscan ซึ่งไม่ต้องใช้เงินลงทุนในการซื้อเพื่อให้ได้มา เพียงแต่เสียแค่ค่า Gas ในการ Mint เท่านั้น ทุกคนก็จะสามารถครอบครอง NFT ของโปรเจกต์นี้ได้อย่างฟรี ๆ
โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
- อันดับแรกให้เข้าไปตรวจสอบรายชื่อความแรร์ไอเท็มของ NFT ที่เราต้องการที่ลิงก์นี้ https://q73r3.csb.app ซึ่งความแรร์จะมีผลต่อมูลค่า NFT ชิ้นนั้น ๆ โดยแบ่งระดับความแรร์ได้ 6 ระดับดังนี้
ระดับ 1 สีเทา (Common Item)
ระดับ 2 สีเขียว (Uncommon Item)
ระดับ 3 สีน้ำเงิน (Rare Item)
ระดับ 4 สีม่วง (Epic Item)
ระดับ 5 สีทอง (Legendary Item)
ระดับ 6 สีชมพู (Mythic Item)
- เมื่อสุ่ม ID ได้แรร์จนพอใจแล้วให้ Copy ID ที่มุมบนขวามือแล้วเข้าไปที่ลิงก์นี้บน Etherscan https://etherscan.io/address/0x1dfe7Ca09e99d10835Bf73044a23B73Fc20623DF?fbclid=IwAR02f4H0-LlSmKYr_33aO5IyGe39VuwnEuWq8Hy76-UrdiUFd0VOddr-vb4#writeContract
- จากนั้นให้กดเข้าไปที่คำว่า Write Contract และเลือก Connect to Web3 เพื่อเชื่อมต่อประเป๋า Metamask
- ไปที่ Claim แล้วใส่ตัวเลข ID ที่ Copy ไว้จากการตรวจสอบความแรร์ของไอเท็มในข้อแรก
- จะมีหน้าต่างขึ้น Confirm ในการ Mint พร้อมระบุค่า Gas ที่ต้องจ่าย ซึ่งถ้าค่า Gas นั้นแพงจนเกินไปหมายความว่า ID นั้นถูก Mint ไปแล้ว ให้กลับไปสุ่มหา ID ใหม่
- กด Confirm ในการยืนยันการ Mint และจ่ายค่า Gas เมื่อเรียบร้อยแล้วสามารถตรวจสอบ NFT ของเราได้ที่ Opensea
ดังนั้นผู้ถือครอง NFT ของโปรเจกต์นี้จึงสบายใจหายห่วงได้เลยเนื่องจากไม่ต้องไปหาซื้อ mLoot ในราคาแพงบนท้องตลาด แต่สามารถ Mint ออกมาเองได้ ซึ่ง Loot และ Mloot ยังเป็น NFT ที่ถูกออกแบบมาให้มูลค่าแต่ละชิ้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานที่จะนำไปต่อยอดสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ เช่น สิ่งก่อสร้าง งานศิลปะ ไอเท็มเกม เป็นต้น และอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อราคา NFT แต่ละชิ้นนั่นก็คือความแรร์ของไอเท็มที่อยู่บน NFT ชิ้นนั้น ๆ
การนำไปใช้งานจริงและการเติบโตในอนาคตของ Loot
หลังจาก Loot Project ได้รับความนิยมอย่างถึงขีดสุด ก็มีโปรเจกต์ใกล้เคียงและโปรเจกต์ล้อเลียนมากมายสร้างขึ้นมาด้วยแนวความคิดคล้ายคลึงกัน ซึ่งในปัจจุบันเราจะได้เห็นโปรเจกต์ Collectible กว่า 30 โปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับ Loot เรียกได้ว่าเป็นกระแส Concept ใหม่ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
แต่อย่างไรก็ตามการนำไปใช้งานจริงในปัจจุบันนั้นดูเหมือนเป็นสิ่งที่ยังต้องรอการพิสูจน์จากชุมชนและผู้ใช้งาน เนื่องจากมันเป็นแนวความคิดใหม่ที่เพิ่งกำเนิดมาได้ไม่นาน ผู้คนส่วนมากอาจจะต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ เราจึงยังไม่ได้เห็นการนำ NFT ของโปรเจกต์ไปต่อยอดได้อย่างน่าสนใจเท่าไหร่นัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแนวคิดของโปรเจกต์ได้เปิดกว้างให้เราสามารถนำไปใช้ทำอะไรก็ได้อย่างอิสระ ด้วยต้นทุนที่เท่ากับศูนย์ในการนำไปใช้ จึงอาจทำให้มีการเติบโตและพัฒนาต่อในอนาคต
ซึ่งก็มีการคาดการณ์กันว่าในอนาคตอาจมีการนำไอเท็มบน NFT ไปต่อยอดสร้างเป็นเกม ซื้อขาย แลกเปลี่ยนได้อย่างอิสระไม่จำกัดว่าต้องเป็นเกมใดเกมหนึ่ง และอาจรวมไปถึงการเป็นสินทรัพย์ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้โปรเจกต์ดังกล่าวอาจมีแนวโน้มที่เติบโตเพิ่มขึ้นในอนาคตจากแนวคิดไร้ขอบเขตและการนำไปใช้ได้อย่างอิสระ
สุดท้ายนี้ต้องติดตามกันต่อว่าโปรเจกต์ดังกล่าวจะเป็นเพียงแค่สายลมที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป หรือจะเป็นไอเดียใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนมุมมองโลกของ NFT ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและต่อยอดไปสู่การสร้างสรรค์ที่ดียิ่งขึ้น นักลงทุนไม่ควรพลาดติดตามข่าวสาร