ICO หรือ Initial Coin Offering กำลังถูกจับตามองจากผู้ออกกฎหมายในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯเนื่องจากผู้ลงทุนที่ขาดความเชี่ยวชาญทางเทคนิคที่พยายามแย่งซื้อเหรียญที่อยู่ในช่วงเปิดระดมทุน หน่วยงานกำกับดูแลอย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาจึงไม่สามารถทำได้เพียงนั่งชมอยู่นอกสนามได้อีกต่อไป
ซึ่งแม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีการบังคับร่างใดๆ ผลของการระดมทุนจึงไม่มีอะไรนอกจากกำไรของผู้เสนอโปรเจค ซึ่งหากไม่มีความคืบหน้าอะไร หรือเกิดการฉ้อโกง นักลงทุนก็คงไม่พอใจและพยายามที่จะฟ้องร้องเพื่อเอาเงินของพวกเค้าคืน ซึ่งหากให้การระดมทุน ICO เป็นเพียงการลงทุนแบบส่วนตัว ซึ่งการฟ้องร้องจะอยู่ในข้อบังคับ Rule 10b-5.
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเงินดิจิตอลนั้นยังไม่ถูกยอมรับเป็นทรัพย์สิน แต่ white paper ของมันนั้นดูเหมือนว่าจะถูกร่างเสร็จแล้ว ซึ่งจะเป็นไปตามมาตรา 506 และมากไปกว่านั้น การที่มีการซื้อขายล่วงหน้านั้นยังเข้าข่ายของการซื้อขายหลักทรัพย์มาตรฐาน (standard securities purchase agreement) ซึ่งมันช่วยป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ว่าเงินดิจิตอลไม่ใช่หลักทรัพย์
การเปิดเผยคือประเด็นสำคัญ
แทนที่จะใช้รูปแบบการซื้อขายหลักทรัพย์มาตรฐาน (standard securities purchase agreement) เพื่อเป็นการบอกถึงความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงข้อมูลที่อยู่บน white paper กลับมีความเห็นพ้องต้องกันในหมู่ผู้ใช้เงินดิจิตอลว่าควรจะมีการเปิดเผยเกี่ยวกับ
- ความเสี่ยงด้านกฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายที่ยังไม่ได้พัฒนาและเกิดขึ้นใหม่ทั้งในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ
- อาจจะมีการยับยั้งที่ไม่ได้คาดคิดไว้จากการที่มีกฏข้อบังคับใหม่
- ความไม่แน่นอนในเรื่องของภาษีที่เกี่ยวกับการลงทุนในเงินดิจิตอล
- การไม่รองรับว่าเหรียญนั้นจะสามารถซื้อขายได้ในทุกตลาดแลกเปลี่ยน
- สภาพคล่องและความผันผวนในเงินดิจิตอล
- ความเสี่ยงในการสูญเสียเงินดิจิตอลรวมถึงเรื่องกระเป๋าเงิน
- ความผิดพลาดใดๆที่เกิดจาก Bitcoin หรือ Ethereum Protocal
- ความเสี่ยงเรื่อง 51% attack ของเงินดิจิตอลที่เกิดใหม่
- ความล้มเหลวในการจูงใจนักขุด
และนักพัฒนาควรจะเปิดเผยถึงความเสี่ยงด้านอื่นๆเกี่ยวกับเงินดิจิตอลที่จะระดมทุน ICO
ในเมื่อมันยังไม่มีกฎระเบียบรับรอง การอธิบายถึงความความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน ICO อาจเป็นสิ่งที่สำคัญในการในการลดทอนการอ้างสิทธิ์ตามกฎข้อ 10b-5 หรือการกระทำที่คล้ายคลึงกันภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงองประกอบอื่นๆ
โดยปกติ การอ้างสิทธิ์ในการฉ้อโกงและการบิดเบือนความเท็จนั้นจะทำได้ต่อเมื่อการลงทุนนั้นไม่ได้มีการเคลื่อนไหวอะไรหรือไม่ได้ทำตามที่บอกไว้ในตอนแรก รวมถึงเรื่องปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ใน ICO เช่นมันสามารถปัดความรับผิดทางกฏหมายเรื่อง “bespeaks caution doctrine” โดยการเตือนนักลงทุนเกี่ยวกับเกี่ยวกับว่าการลงทุนอาจจะไม่ได้ผลตามที่คาดไว้
ข้อควรระวังของผู้ลงทุน (Caveat Emptor)
นักลงทุนควรจะให้ความสำคัญของปัจจัยเสี่ยงหรือควรจะประเมินค่าความเสี่ยง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงนั้นอาจจะเป็นเหมือน “นกขมิ้นในเหมืองถ่าน” (สัญญาณเตือน) สำหรับนักลงทุน การมีอยู่ของพวกเขาน่าจะเหมือนกับว่าทีมกฎหมายได้ตรวจสอบ ICO และให้การรับรองและความคิดเห็นตามกฎหมายแล้ว
อีกด้านนึง นักลงทุนควรจะคิดถึงความเสี่ยงอื่นๆที่อาจจะไม่ได้มีผลโดยตรงจาก ICO เช่น นักลงทุนควรจะคิดถึงว่าอาจจะมี ICO หนึ่งที่หยุดดำเนินการและทำให้มันส่งผลต่อโปรเจคอื่นๆ ซึ่งหมายความว่า ICO นั้นไม่ได้ถูกตรวจสอบในแง่กฎหมาย หรือการตรวจสอบนั้นไม่เข้มงวดพอ
จนกว่าจะมีความความชัดเจน คำถามสำคัญยังนั้นก็ยังคงเป็นคำว่า “สกุลเงินดิจิตอลนั้นเป็นหลักทรัพย์หรือไม่” รวมถึงเรื่องการบังคับใช้กฎหมายกับ ICO มันเป็นหน้าที่ของทุกคนในกระบวนการที่จะดำเนินการและเข้าใจความเสี่ยงทั้งหมดเพื่อป้องกันตัวเอง
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น