เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2018 มีรายงานจาก Wall Street Journal เผยแพร่ว่า โปรเจกต์คริปโตจำนวนมากมีการหลอกลวงต้มตุ๋น, โฆษณาให้ผลตอบแทนที่เกินจริง และการลอกเลียนแบบ
วิจัยดังกล่าวได้ทำการดาวน์โหลด Whitepaper ของโปรเจกต์คริปโตมาจำนวน 3,291 อัน ของโปรเจกต์ที่ทำการระดมทุน ICO จาก 3 เว็บไซต์ได้แก่ ICOBench.com, Tokendata.io และ ICORaitng.com
Whitepaper คือเอกสารที่จะระบุข้อมูลของโปรเจกต์นั้น ๆ ว่า มีทีมทำอะไรบ้าง, แต่ละคนมีตำแหน่งทำอะไร, ชีวประวัติเป็นอย่างไร, โปรเจกต์นั้นมีเทคโนโลยีแบบไหน และอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งมันถูกออกแบบมาให้เป็นเครื่องมือทางการตลาดในการดึงดูดนักลงทุน
มีการชวนเชื่อให้ลงทุนมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
เพื่อความง่ายในการทำวิจัยได้ พวกเขาทำการแยก Whitepaper ที่ซ้ำกันและไม่ใช่ภาษาอังกฤษออกก่อน โดยจะใช้วิธีการเทียบประโยคกว่า 10,000 ประโยคใน Whitepaper ทั้ง 3,291 อัน เพื่อดูว่าเอกสารไหนมีข้อความซ้ำกัน จากนั้นเลือกอันตีพิมพ์ก่อน และยกเว้นเอกสารอื่น ๆ ที่มีตีพิมพ์ทีหลังและความคล้ายกันออกจากวิจัย
วิจัยได้ชี้ว่า มีถึง 16 เปอร์เซ็นต์ หรือ Whitepaper 513 อันที่ดูเหมือนจะเป็นการลอกเลียนแบบ, การปลอมแปลงตัวตนและการโฆษณาให้ผลตอบแทนเกินจริง
นอกจากนี้ Whitepaper มากกว่า 2,000 อันจาก 3,291 อัน มีประโยคเชิญเชื่ออย่างเช่น “ไม่มีอะไรต้องเสีย, การันตีผลกำไร, สร้างผลตอบแทน, ให้ผลตอบแทนสูงสุด, ให้ผลตอบแทนสูง, กำไร, ไร้ความเสี่ยง และเสี่ยงน้อย เป็นต้น”
WSJ ยังเจอกับโปรเจกต์ที่มีสมาชิกใช้ตัวตนหลอก ๆ อีกด้วย ซึ่งมีมากกว่า 343 โปรเจกต์ และที่เลวร้ายกว่าคือ บางโปรเจกต์ไม่ได้กล่าวถึงสมาชิกในทีมด้วยซ้ำไป
เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา WSJ ได้เคลมในงานวิจัยว่า การปั่นราคาคริปโตนั้นเกิดขึ้นโดยกลุ่มนักเทรดใน Telegram เป็นต้น WSJ ได้ชี้ว่า กลุ่มเหล่านั้นจะทำการ “ปั่นและทุบราคา” ซึ่งพวกเขาได้ทำไปหลายครั้งแล้วในปีนี้
จากข้อมูลเหล่านี้ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมผู้ออกกฎหมายในสหรัฐฯ นั้นยังคงเป็นกังวลกับคริปโตอยู่ เช่นยังไม่อนุมัติ Bitcoin ETF และดูเหมือนมีการพิจารณาให้ ICO นั้นเป็นหลักทรัพย์ รวมทั้งตามควบคุมอย่างเคร่งครัดตลอดปี ทำให้ตลาด ICO เริ่มซาลงไปมาก
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น