<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

อังกฤษไม่คืนทองมูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์ให้เวเนซุเอลาหรือ Bitcoin จะเป็นทางออกของปัญหา?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

วิกฤติเศรษฐกิจของเวเนซุเอลาเป็นสิ่งที่จะเพิกเฉยไม่ได้ แต่ Nicolás Maduro ประธานาธิบดีของเวเนซุเอลาก็ถูกธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ หรือ Bank of England (BoE) ปฏิเสธการคืนทองมูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.7 หมื่นล้านบาท) หรืออีกนัยหนึ่งคือประเทศเวเนซุเอลาซึ่งเป็นรัฐที่มีอำนาจอธิปไตยที่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงทรัพย์สินของประเทศตนเองจากอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้ bitcoin ไม่เห็นด้วยกับการกระทำเช่นนี้ อย่างไรก็ตามมีสิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ การกักเก็บความมั่งคั่งในคริปโตเคอเรนซีนั้นจะเพิ่งสูงขึ้น

สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศเวเนซุเอลาบานปลายได้อย่างไร ?

เหตุที่ BoE ตัดสินใจเช่นนั้นต้องพิจารณาถึงบทเรียนในครั้งก่อน คือ กรณีการล้มตัวทางเศรษฐกิจของเวเนซุเอลาที่มีน้ำมันมากที่สุด ตั้งแต่ปี 2559 ความตึงเครียดทางการเมืองในประเทศเวเนซุเอลาทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ส่งผลทำให้เกิดการตัดการใช้พลังงานไฟฟ้า และการขาดแคลนอาหารและยา ซึ่งทองคำก็เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศส่วนสำคัญของประเทศเวเนซุเอลา

จุดขัดแย้งครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศเวเนซุเอลา คือ การที่นาย Nicolas Maduro ได้รับการเลือกเป็นประธานาธิบดีในเดือนเมษายน 2556 ภายหลังการอาสัญกรรมของ ประธานาธิบดี Hugo Chávez และในระหว่างนั้นเองเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2561 นาย Juan Guaidó ได้ประกาศว่าตนเองเป็นประธานาธิบดีทั้ง ๆ ที่นาย Maduro ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองไปแล้ว แม้ว่าก่อนหน้านี้ทางพรรคฝ่ายค้านจะบอยคอตการเลือกตั้งดังกล่าวไปแล้วก็ตาม ที่น่าสนใจคือเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2562 นาย Jeremy Hunt เลขาธิการการต่างประเทศของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ทางสหราชอาณาจักรจะยอมรับ Guaidó ในฐานะประธานาธิบดีชั่วคราวของประเทศเวเนซุเอลา หากการเลือกตั้งที่ชอบธรรมนั้นไม่เกิดขึ้นภายใน 8 วัน

นาย Hunt รีทวีตว่า

แปล: หลังจากที่แบนผู้สมัครฝ่ายค้านแล้ว กล่องลงคะแนนเสียงดูเหมือนจะไม่มีความโปร่งใส ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า Nicolás Maduro ไม่ใช่ประธานาธิบดีที่ชอบธรรมของประเทศเวเนซุเอลา

แปล:Juan Guaidó เป็นบุคคลที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำที่จะขับเคลื่อนประเทศเวเนซุเอลา หากการเลือกตั้งที่ชอบธรรมไม่เกิดขึ้นภายใน 8 วันนี้ สหราชอาณาจักรจะยอมรับ Juan Guaidó ในฐานะประธานาธิบดีชั่วคราวผู้ขับเคลื่อนตามวิถีประชาธิปไตย

มีบทบาทสำคัญในวิกฤตินี้ และในการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา นาย Maduro ได้ประกาศใช้ Petro ซึ่งเป็นคริปโตเคอเรนซีของรัฐ โดยกล่าวว่า ประเทศเวเนซุเอลาได้สร้างประวัติศาสตร์ โดย “ในวันนี้เป็นความก้าวหน้าของพวกเราในการใช้ petro ในฐานะสกุลเงินของประเทศและจะทำให้เสถียรภาพทางการเงินของประเทศนั้นกลับมา”

BoE กับเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นในการปฏิเสธคืนทองคำ

BoE เป็นหนึ่งในผู้รับฝากทองที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และสมาคมตลาดทองคำแห่งลอนดอน London Bullion Market Association (LBMA) เผยว่า ในเดือนมีนาคม 2560 มีทองอยู่ในลอนดอนประมาณ 7,500 ตัน เทียบเท่าทองแท่ง 596,000 แท่ง ซึ่งก่อนหน้านี้สาเหตุที่มีการปฏิเสธคืนทองคำเป็นเรื่องของการประกันภัย แต่ตอนนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าการตัดสินใจของ BoE นั้นมาจากเหตุผลในทางการเมือง และในเดือนพฤศจิกายน Reuter รายงานคำพูดจากเจ้าหน้าที่รัฐรายหนึ่งว่า

“มีการเตรียมแผนนี้เกือบสองเดือนเนื่องจากปัญหาด้านการประกันภัยทางทะเลต่อการขนย้ายทองคำจำนวนมาก”

นาย Ricardo Hausmann ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Harvard และนักวิจารณ์ Maduro ให้สัมภาษณ์กับสื่อตะวันตก Bloomberg ว่าสหราชอาณาจักรมีเหตุผลอันสมควรที่ไม่คืนทองคำ  โดยอ้างว่ากฎข้อแรกของการทำธุรกิจ คือ รัฐบาลต้องหยุดใช้ทรัพย์สินของคนในประเทศมาชำระหนี้เสียก่อน

การส่งทองคำกลับคืนสู่ประเทศผู้เป็นเจ้าของ

การส่งทองคำกลับสู่ประเทศผู้เป็นเจ้าของนั้นเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลของแต่ละเทศต้องการนำทองคำมาเก็บไว้ที่ประเทศของตนเอง และการกระทำเช่นนี้เกิดขึ้นเรื่อยมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยมีชนวนมาจากความกลัวว่าจะถูกยึดทองคำ

นอกจากประเทศเวเนซุเอลาที่ขอทองคำคืนจาก BoE แล้ว ธนาคารกลางของประเทศเยอรมันยังเรียกร้องขอทองคำคืนจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และธนาคารกลางฝรั่งเศสอีกด้วย และเมื่อปีที่ผ่านมาประเทศตุรกีก็ร่วมกับประเทศเยอรมันและประเทศฮังการีในการเป็นประเทศล่าสุดที่เรียกทองคำคืนอีกด้วย

การเพิ่มขึ้นของคริปโต

Bitcoin นั้นมีพื้นฐานมาจากคณิตศาสตร์ ไม่ใช่รัฐบาล และมีความเป็นไปได้ว่าความกลัวเกี่ยวกับการถูกยึดทองคำที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้จะหมดไป หากความมั่งคั่งของแต่ละประเทศนั้นไปอยู่ที่สินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งบุคคลที่สามไม่สามารถหน่วงเหนี่ยวเอาไว้ได้

ในการสัมภาษณ์ Kai C. Chng ซีอีโอของ Digix บริษัทสร้างสินทรัพย์ token กล่าวว่า “เราต่างรู้ว่าทองคำมีค่าแค่ไหนในเวลาที่เกิดความไม่มั่งคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยฟื้นคืนสภาพของตลาดการเงินระหว่างประเทศ แต่สำหรับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ ผู้คนกำลังมองหาทางเลือกอื่น ๆ และหากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยขึ้นกับสกุลเงินที่ใช้กันอยู่ คนที่สนใจในคริปโตเคอเรนซีจะหันมาเอาดอกเบี้ยจากการครอบครอง bitcoin ในขณะเดียวกันคนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซีเองก็จะพยายามทำความเข้าใจเพื่อเข้ามาในตลาดคริปโตเคอเรนซีให้ได้”

ในตอนนี้ชาวเวเนซุเอลากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความยากจน ซึ่งก็ดูเหมือนว่าประเทศเวเนซุเอลาจะยังคงจมปลักอยู่กับวิกฤติและสงครามทางการเมืองนี้ พร้อมด้วยประชาชนผู้บริสุทธิ์หลายล้านคนที่ทุกข์ทรมานจากการที่รัฐบาลผลาญเงินของประเทศ ในเวลาเช่นนี้ Bitcoin ดูเหมือนจะเป็นมากกว่าสายชูชีพที่เอาไว้ช่วยชีวิต

ที่มา news.bitcoin

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น