<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Starbucks ต้องการให้ลูกค้าซื้อกาแฟด้วย Bitcoin แต่กฎหมายภาษีไม่เอื้ออำนวย

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Maria Smith อดีตประธานฝ่ายการธุรกรรมของ Starbucks ได้รับปากไว้ว่า Starbucks เองจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นซึ่งได้รับการกำกับดูแล ใช้ได้จริง และเป็นที่ยอมรับ ในการชำระเงินค่ากาแฟด้วย Bitcoin อย่างไรก็ตามความคิดดังกล่าวต้องได้รับการไตรตรองใหม่เนื่องจากปัญหาทางด้านกฎหมายภาษีอากรของสหรัฐอเมริกานั้น ยังไม่มีทีท่าว่าจะเอื้อต่อการดำเนินการดังกล่าวแต่อย่างใด

การยอมรับ Bitcoin การเพิ่มภาระงานอีกมหาศาล

ณ ปัจจุบัน กรมสรรพากรของสหรัฐฯได้พิจารณาถึงตัว Bitcoin และสกุลเงินคริปโตอื่นๆในฐานะทรัพย์สินประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะในแง่มุมด้านภาษีอากรซึ่งทุกๆรายการธุรกรรมซื้อขายของทรัพย์สินนั้น ถือได้ว่ามีการเกิดขึ้นของผลกำไรหรือ Capital gians เสมอ การซื้อขายซึ่งอาศัย Bitcoin เพื่อสินค้าใดๆไม่ว่าจะเป็น เรือยอร์ช รถยนต์หรู หรือจะแค่กาแฟเพียงแก้วเดียว ธุรกรรมต่างๆเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้การกำกับด้านภาษีทั้งหมดในฐานะที่เป็นสินทรัพย์ประเภททุนอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับตราสารหนี้และหุ้น  ดังนั้นแล้วการยอมรับ Bitcoin เข้ามายอมหมายถึงฝันร้ายทางด้านงานการจัดทำรายงานและงานเอกสารที่จะเกิดขึ้นตามมาแน่นอน

แม้ว่าฝ่ายสนับสนุนการดำเนินการเช่น CoinCenter ได้ช่วยผลักดันให้มีการปลดพันธะดังกล่าว ความพยายาม Starbucks ได้ดำเนินต่อไปโดยอาศัยความร่วมมือกับ Bakkt ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกรรมทางสกุลเงินคริปโตโดยมีตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯหนุนหลัง

ในเดือนสิงหาคมปีก่อน Bakkt และ Starbucks ได้เข้าทำสัญญาร่วมกันกับ Microsoft และ Boston Consulting Group (BCG) ในการผลักดันให้มีการใช้ Bitcoin ซื้อสินค้าจาก Starbucks การเดินหมากของพวกเขาได้ถูกกล่าวถึงว่าเป็น “ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในการนำคริปโตเข้าสู่กระแสหลัก”

ได้มีการรายงานการพัฒนาซึ่งเปิดเผยโดย The Block Crypto ว่าร้านกาแฟในเครือทั้งหลายต้องมีการยอมรับการจ่ายเงินด้วยคริปโตผ่านบริการของ Bakkt แลกกับมูลค่าหุ้นที่จะได้รับจาก Bakkt ซึ่งบริษัทจะมุ่งเป้าดำเนินธุรกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยน Bitcoin ณ เวลาที่มีการจ่ายเงินและจะไม่มีการถือคริปโตไว้กับบริษัทแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคทางด้านภาษียังคงขัดขวามความเป็นไปได้ในการดำเนินการดังกล่าวให้เกิดขึ้นจริงได้ ตามที่กรมสรรพากรของสหรัฐฯได้ระบุว่าทุกครั้งที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ มูลค่าทางตลาดของสินทรัพย์ดังกล่าวต้องถูกนำไปเปรียบเทียบกับมูลค่าทางตลาดในเวลาที่มีการคิดคำนวนภาษี ด้วยชื่อเสียงในด้านลบของ Bitcoin ในความผันผวนของมูลค่าซึ่งอาจทำให้มูลค่าทั้งสองนั้นมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นหากราคากาแฟของ starbucks นั้นอยู่ที่  $1.85 ประเมิณราคาเมื่อซื้อเป็น 0.00047 BTC และกรณีจะเปลี่ยนไปหากลูกค้าซื้อกาแฟแก้วเดียวกันในช่วงมกราคมปี 2018 ซึ่งราคาซื้อขาย Bitcoin นั้นสูงถึง $15,000 ทำให้ราคากาแฟนั้นจะตกอยู่ที่แก้วละ 0.000123 BTC เป็นต้น ดังนั้นในช่วงที่มีการยื่นรายงานภาษี ข้อมูลเหล่านี้จะต้องถูกประมวลผล หลังจากนั้นผู้จ่ายภาษีจึงจะเห็นกำไรที่แท้จริงจากการยื่นขอคืนภาษี

แนวคิดที่ตรงกันข้ามนั้นอาจเป็นไปได้จริง หากมูลค่าของ Bitcoin นั้นเพิ่มขึ้นอย่างที่ผู้ใช้เริ่มที่จะสามารถสังเกตเห็นได้แล้วในช่วงนี้

จากโพสในเว็บไซต์ Reddit โดยผู้ใช้ชาวอเมริกันคนหนึ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2018 ซึ่งได้กล่าวว่าเค้าได้ค้างชำระภาษีแก่สรรพากรเป็นจำนวน $50,000 หลังจากการซื้อเหรียญ Bitcoin จำนวน 8  BTC ด้วยเงิน $7,200 และขายไปในราคา $120,000 จากนั้นจึงได้นำไปซื้อเหรียญ altcoins  โดยเค้าได้กล่าวว่า

“เค้าไม่รู้มาก่อนว่าจะมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น มันเหมือนว่าเค้าได้ค้างชำระภาษีเงินได้จากการซื้อขายเหรียญเหล่านั้น ซึ่งได้เพิ่มขึ้นมาถึง $50,000 แต่กลับกันในช่วงนี้ที่มีการดิ่งลงของราคาทำให้ altcoins ของเค้ามีมูลค่าเหลือเพียง $30,000 เท่านั้น

แม้ว่าผลลัพธ์เช่นนั้นน่าจะไม่เกิดขึ้นกับราคากาแฟ แต่มันถือได้ว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องใหญ่ในการเก็บภาษีของ Bitcoin ในสหรัฐฯ

กฎเดิมบนธุรกรรมแบบใหม่

กลุ่มผู้สนับสนุนคริปโตชื่อ CoinCenter นั้นได้เล็งเห็นปัญหาในจุดนี้เมื่อกรมสรรพากรได้มีประกาศมาตรการผ่อนผันทางภาษีแก่ Bitcoin ในปี 2014 และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้มีการพิจารณาถึงปัญหาดังกล่าวใหม่ด้วยเช่นเดียวกัน โดยในเดือนมกราคม ปี 2017 Peter van Valkenburghได้อธิบายถึงความสำเร็จของระบบ Internet ว่าเป็นผลมาจากกฎหมายสองฉบับที่ได้ออกโดยสภาฯของสหรัฐในช่วงยุค 90s คือ the Communications Decency Act (CDA) และ the Digital Millenium Copyright Act (DMCA)

ซึ่งในการผ่านร่างกฎหมายทั้งสองนี้ทำให้ประชาชนและเหล่าเจ้าของธุรกิจในสหรัฐฯสามารถร่วมกันสร้างระบบ Internet อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้โดยอาศัยการให้นิยามการปฏิบัติที่ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายหรือ “safe harbors” สำหรับการดำเนินการลองผิดลองถูกต่างๆ

และในอีกโพสจากกลุ่ม CoinCenter ซึ่ง Jerry Brito ได้กล่าวถึงวิธีการที่น่าจะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาด้านภาษีอากรที่เกิดขึ้นกับคริปโต เค้ายังได้กล่าวเสริมว่า ถึงแม้ภาษีซึ่งคิดจากฐานกำไรที่ได้รับสำหรับ bitcoin นั้นจะต่ำกว่าภาษีเงินได้เดิม แต่มันก็มากเกินไปสำหรับการคิดคำนวนบนฐานของการใช้จ่ายในปริมาณที่น้อยมากเช่นการซื้อกาแฟเพียงหนึ่งแก้ว

Brito ได้กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาทางภาษีว่า มาตรการทางภาษีในปัจจุบันนั้นควรจะพิจารณาสกุลเงินคริปโตเสมือนหนึ่งว่าเป็นสกุลเงินระหว่างประเทศมากกว่าการเป็นทรัพย์สิน โดยเค้ายังได้กล่าวถึงมาตรการที่ใช้กับสกุลเงินต่างประเทศเช่น “มาตรการผ่อนผันทางภาษีในผลกำไรจะไม่สามารถใช้ได้กับธุรกรรมที่มีมูลค่าเกิน $200 เพราะผลกำไรจากการซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศจะถูกนำไปคำนวนภาษีเช่นเดียวกับเงินได้ปกติ” ว่ามันจะส่งผลกระทบในทางอ้อมเป็นแรงกฎดันต่อรัฐบาลต่างประเทศเป็นผลให้ Bitcoin ถูกมองว่าเป็นตั๋วเงินที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

ไม่ว่าการที่แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Starbucks เข้าร่วมในอุตสาหกรรมนี้จะสร้างความตื่นเต้นให้กับวงการอย่างไร การเปลี่ยนแปลงต่างๆจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยจนกว่าสมาชิกสภาฯสหรัฐฯจะร่วมกันพัฒนาและเปลี่ยนแปลงมาตรการทางภาษีให้เหมาะสม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นจะนำไปสู่การพัฒนาในส่วนอื่นๆอีกมาก เช่นการใช้จ่ายเงินในปริมาณเล็กน้อยโดยอาศัยเงินคริปโต หรือโมเดลการ subscription เป็นต้น สำหรับในตอนนี้ Bakkt นั้นอยู่ในช่วงกอบโกยผลประโยชน์จากการใช้สื่อถูกเวลา

ที่มา: cryotoslate

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น