อ้างอิงจากเว็บ MRGOnline เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา ณ ห้องริเวอร์ไซต์ 7 โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพฯ น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี กล่าวถึงสินทรัพย์ดิจิทัลกับการบังคับดคีที่เกี่ยวกับสินทรัยพย์ดิจิทัล
สินทรัพย์ดิจิทัล
น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานแถลงข่าวผลจัดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน ระหว่างวันที่ 25 ถึง 26 เม.ย. 2019 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ มุมมองเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ระบบ และแนวปฏิบัติที่ดีเลิศด้านการบังคับคดีแพ่ง ที่มุ่งเน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และนวัตกรรมดิจิทัลกับการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน
น.ส.รื่นวดี กล่าวว่า ผลการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีความท้าทายและเป็นประเด็นที่มีความเป็นทันสมัยใน 3 หัวข้อที่สำคัญดังนี้
อย่างแรก การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นสินทรัพย์รูปแบบใหม่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ สามารถก่อให้เกิดรายได้มหาศาลในโลกปัจจุบัน รวมถึงฐานข้อมูลต่าง ๆ เนื่องจากลักษณะการทำธุรกรรมของสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นธุรกรรมที่ดำเนินการรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain ซึ่งการใช้ Blockchain ในภาครัฐ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน สร้างความโปร่งใส
ส่วนเรื่องของกฏหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล มีข้อที่ต้องพิจารณาในเรื่อง ความเสี่ยงที่เป็นระบบอันมีนัยยะถึงระบบการเงิน การคุ้มครองนักลงทุน ความโปร่งใส การป้องกันอาชญากรมการฟอกเงิน และไม่ควรจำกัดเพียง Blockchain หรือ Cryptocurrency การกำกับดูแลการผลิตสินทรัพย์ดิจิทัล
อย่างที่สองการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัลและการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับกระบวนการบังคับคดี ภาพรวมของการบังคับคดีในแต่ละประเทศ เริ่มนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบังคับคดีเพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการบังคับคดี และการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลด้านการบังคับคดีของแต่ละประเทศจะเป็น Big Data ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดย Machine Learning
อย่างที่สามประเด็นความท้าทายในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการบังคับตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง ซึ่งการบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างครบวงจร ควรมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อลดช่องว่างและความไม่สอดคล้องกับกฎหมาย สำหรับการบังคับคดีในไทย ปัญหาคือการเข้าถึงข้อมูลของลูกหนี้ ที่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่ในการติดตามทรัพย์สินเป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ เช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ”
นอกจากนี้ น.ส.รื่นวดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมครั้งนี้ กรมบังคับคดีได้นำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง “การบังคับคดีกับสินทรัพย์ดิจิทัล” ในที่ประชุมและได้รับการชื่นชมผลงานวิจัยดังกล่าวอีกด้วย
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น