Facebook เพิ่งประกาศเปิดตัวเหรียญคริปโตของตัวเองไปนาม Libra ‘’Libra เกิดจากองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit Organization) และจะเปิดใช้งานจริงในปี 2020 บริษัทที่จะมาสร้าง Libra ก็คือ Calibra นั่นเอง และจะไปใช้งานบน Whatsapp, Instagram ก่อนที่จะแยกไปใช้งานบนแอปฯ ของมันเอง
การเปิดตัวเหรียญครั้งนี้มีรายละเอียดออกมามากมาย แต่คำถามก็คือ ทำไม Facebook ต้องเปิดตัวคริปโตของพวกเขา?
“ไม่มีใครสงสัยเลยหรอว่าทำไม FacebookCoin คือคริปโต” นาย David Gerard ผู้เขียน ‘Attack of the 50-foot blockchain’ กล่าวเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อมีนักข่าวถามเรื่องนี้ก็ไม่มีใครตอบอย่างสมเหตุสมผลสักที
มันไม่ได้ Decentralised อย่างเต็มที่
ข้อดีของคริปโตคือความเป็น Decentralized และไม่มีการเซ็นเซอร์อะไรอย่างเช่น Bitcoin ที่สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีใครสามารถเข้ามาขัดขวางมันได้ มันไม่ได้ถูกควบคุมโดยใครหรือองค์กรไหนด้วยซ้ำ
Libra Association เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรของสวิสที่จะดำเนินการในตัวเหรียญ Libra พร้อมกับบริษัทอีกประมาณ 28 แห่งและในอนาคตจะมีมากกว่านี้ อ้างอิงจาก Whitepaper เคลมว่า Libra Association นั้นเป็นอิสระจากตัว Facebook และยังโต้แย้งว่ามันเป็น Decentralized
นายปรมินทร์ อินโสมเจ้าของเหรียญ Zcoin ได้กล่าวในเรื่องนี้ โดยให้สัมภาษณ์กับทาง Yahoo Finance ว่า “โปรเจกต์ Libra ยังคงเป็นแพลตฟอร์ม Centralised และยังอยู่ภายใต้การเซ็นเซอร์ตรวจสอบและควบคุม”
Libra Foundation ได้รับการสนับสนุนจากบรริษัทชั้นนำเช่น Visa, MasterCard, Stripe, PayPal และ Uber ซึ่งในการลงทุนในครั้งนี้นั้นต้องมีเงินลงทุนจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงเครือข่ายและมาช่วยในการยืนยันธุรกรรม
มีคู่แข่งที่ไม่ใช่คริปโตอยู่แล้ว
ข้อดีของคริปโตอีกข้อหนึ่งก็คือการ Scale ทาง Facebook อ้างถึงความจริงที่ว่า Blockchain สามารถ “เข้าถึงได้ทั่วโลก” ซึ่งเป็นนหนึ่งในข้อดีของ Blockchain
ทาง Facebook กำลังผลักดันให้ Libra เป็นโซลูชั่นในการแก้ปัญหาเรื่องของ “ไม่มีธนาคาร” ประชากรประมาณ 107 พันล้านที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ก็จะสามารถใช้งาน Libra ผ่านกระเป๋า Calibra เพราะมันจะสามารถทำให้ผู้ใช้งานส่ง Libra ให้กับใครก็ได้บนโลกผ่าน Smartphone เหมือนคุณส่งข้อความหากัน โดยค่าธรรมเนียนนั้นแทบจะไม่มีหรือต่ำมาก ๆ เมื่อเทียบกับการโอนเงินในรูปแบบเดิม ๆ และแก้ปัญหาคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารนั่นเอง
แต่หลาย ๆ บริษัทก็สามารถทำสิ่งนี้ได้แล้ว
บริการทั้งจีนและอินเดียนั้นได้ออกมาก่อนแล้วเช่น WeChat ของจีน และ PayTM ของอินเดียนั่นเอง โดยแอปฯ สองตัวนี้จะมี Wallet บนแอปฯ และให้ผู้คนสามารถโอนเงินหากันผ่านแอปฯ ได้เลย
และบริษัท fintech เช่น TransferWise, Remitly และ WorldRemit ต่างก็ทำการชำระเงินข้ามพรมแดนผ่านมือถือได้ง่ายขึ้นและถูกลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
แล้วทำไม Facebook ยังคงต้องการ Blockchain?
การชำระเงินของ Messenger มีอยู่แล้ว
ความเป็นจริงคือ Messenger ก็มีบริการทางการเงินอยู่แล้ว โดยไม่ต้องมี Blockchain เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
Facebook เปิดตัวการชำระเงินผ่านแอปฯ Messenger ในสหรัฐอเมริกาในปี 2015 และขยายไปยังยุโรปในเดือนพฤศจิกายน 2017 แต่ดันพลาดไม่เป็นท่าและเดือนที่แล้วก็เพิ่งถูกระงับไปในทวีปยุโรป
Facebook อาจยืนยันว่าสิ่งนี้แตกต่างจากการชำระเงินของ Messenger เนื่องจากเป็นเป้าหมายของประเทศกำลังพัฒนาไม่ใช่การพัฒนาแต่อย่างใด
แต่นอกเหนือจากด้านเทคนิคแล้วทำไม Facebook ถึงต้องการสกุลเงินใหม่?
“Libra จะถูกตรึงกับสกุลเงินทั่วโลก มูลค่าของมันจะผสมผสานความหลากหลายของสกุลเงินที่หลากหลาย”
“ใครจะต้องการใช้มันบ้าง? คนท้องถิ่นสะดวกในการชำระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่น แต่ถ้า Libra มานั้น ก็ต้องมานั่งคำนวนใหม่และเพิ่มความซับซ้อนอีก แทนที่จะสามารถชำระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่นของตัวเองได้เลย”
แล้วทำไมล่ะ?
Facebook ยืนยันว่า Calibra จะไม่เปิดเผยข้อมูลกับ Facebook และยังเคลมว่าจะ “รักษาความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้งาน จะปฏิบัติตามกฎหมายและมีฟังก์ชั่นพื้นฐานเท่านั้น” ตัว Calibra จะทำงานอย่างอิสระ แยกตัวจาก Facebook และ Facebook จะเป็นเพียงสมาชิกของ Libra Association เท่านั้น
แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Facebook ก็มีคดีเกี่ยนวกับด้านข้อมูลลูกค้า จึงเป็นคำถามว่าเราเชื่อถือมันได้จริงหรือเปล่า?
และในเรื่องของการซื้อโฆษณาของ Facebook นั้น ถ้าทางผู้ใช้งานใช้บัตรเครดิตแทนการใช้ Libra อาจมีการงดเว้นการเสียค่าธรรมเนียมเป็นแน่ และการที่ทาง Facebook ได้สร้างเครือข่ายนี้ขึ้นมานั้นทำให้เป็นการควบคุมและสามารถลดค่าใช้จ่ายในเรื่องนี้ได้ และอาจเป็นการอธิบายได้ว่าทำไมบริษัทต่าง ๆ เช่น Spotify, Uber และ Farfetch ร้านค้าเสื้อผ้าแบบหรูหราได้หันมาสนับสนุน Facebook นั่นเอง
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น