<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าในไม่ช้า ญี่ปุ่นจะนำพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้กับ Cryptocurrency

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ตอนนี้ผู้คนได้เห็นการใช้สกุลเงินดิจิทัลรูปแบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีบล็อกเชนในทุกที่ทั่วโลก เทคโนโลยีดิจิทัลรุ่นใหม่เหล่านี้ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการผลิตพลังงานจากถ่านหินและเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีระดับโลกไปสู่พลังงานสีเขียว สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกก็คือการขจัดอุปสรรคทางเทคโนโลยี, โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและกฎระเบียบ และนโยบายด้านภาษี โดยในบทความนี้เราจะมาอธิบายถึงเรื่องภาษี , เทคโนโลยี บล็อกเชน, นโยบายพลังงานแสงอาทิตย์ , ประเทศชั้นนำที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมไปถึงดาวเทียมที่ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศ

ในปี 2009 ญี่ปุ่นดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย ได้ริเริ่มทำสิ่งที่สำคัญในการเปลี่ยนโลกเศรษฐกิจดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกให้กลายเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ญี่ปุ่นได้ผ่านกฎหมายอวกาศเบื้องต้น ซึ่งสามารถจัดตั้งดาวเทียมพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า SPS (Solar Power Satellite)  แนวคิดนี้เป็นการเก็บรวบรวมพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศแพร่กระจายไปยังโลกผ่านดาวเทียม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Solar Power Satellite

กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์พลังงานสำหรับผู้ใช้พลังงานรายใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกและผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นอันดับที่หก โดยส่วนใหญ่กว่า 90% จะเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานไฮโดรคาร์บอน ซึ่ง METI เชื่อว่าผลกระทบของ blockchain ที่กินกระแสไฟฟ้าเป็นจำนวนมากนั้นมีความสำคัญคล้ายกับการกำเนิดใหม่ของอินเทอร์เน็ต

จากผลการสำรวจของ World Economic Forum พบว่า GDP พลังงานทั่วโลกที่ใช้ในการจัดเก็บเทคโนโลยี blockchain คาดว่าจะพุ่งสูงถึง 10% ภายในปี 2027 ดังนั้นในเดือนมิถุนายน 2018 ญี่ปุ่นได้เปิดตัว sandbox regime เพื่อเร่งการเปิดตัวโมเดลธุรกิจใหม่และเทคโนโลยีแห่งนวัตกรรม เช่น blockchain, AI และ Internet of Things (IoT)

กองทุนใหญ่ที่สุดในโลกด้านการลงทุนเทคโนโลยี ที่มีกองทุนมูลค่ากว่า 100,000,000,000 ดอลลาร์ โดย Softbank ได้ประกาศการเปิดตัวของกองทุนแห่งที่สองร่วมกับธนาคารยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งลงทุนใน blockchain สตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับแอพพลิเคชั่นด้านโทรคมนาคม, ระบบชำระเงิน swift system , พลังงานแสงอาทิตย์ , ข้อมูลเอกลักษณ์เฉพาะตัว , สุขภาพ , การขนส่ง , การส่งข้อความ , การขนส่ง , การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและอุตสาหกรรม fintech ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก 

เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์และการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น 

กระทรวงเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น (MITI) มองว่าพลังงานโซลาร์เซลล์เป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจดิจิทัล นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น Haruki Murakami มีความเห็นตรงกันว่า “ญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจควรจัดหาแหล่งพลังงานอื่นนอกเหนือจากพลังงานปรมาณู มันอาจทำให้เศรษฐกิจตกต่ำชั่วคราว แต่เราจะได้รับการเคารพในฐานะประเทศที่ไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ “

เทคโนโลยีเซลล์โซลาร์เซลล์ (PV) ซึ่งจะแปลงแสงเป็นกระแสไฟฟ้าถูกคิดค้นในสหรัฐอเมริกาที่ Bell Labs เมื่อวิศวกร Daryl Chapin , นักเคมี Calvin Fuller และ นักฟิสิกส์ Gerald Pearson ได้ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาโซลาร์เซลล์ซิลิคอนเป็นครั้งแรกในปี 1954 นิตยสาร New York Times ได้ตีพิมพ์ว่าโซลาร์เซลล์ซิลิคอน “อาจเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ที่นำไปสู่ความฝันอันยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติ เช่น การควบคุมพลังงานที่เกือบไร้ขีดจำกัดของดวงอาทิตย์เพื่อใช้ในโลกศิวิไลซ์” 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ photovoltaic technology

โปรเจคนี้ถูกเปิดตัวครั้งแรกในปี 1980s โดย MITI ได้เข้าร่วมกับ METI ในปี 1990s กับโปรเจคที่มีชื่อว่า Sun Shine มันเป็นโปรเจคที่กินระยะเวลายาวนานสำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลได้รับเงินสนับสนุนอย่างมากเนื่องจากเทคโนโลยี PV จะไม่มีการปล่อย CO2 ออกมา ในขณะเดียวกันมันมีความน่าเชื่อถือสูงและเป็นโมเดลแบบแยกส่วน เนื่องจากต้นทุนในการผลิตและต้นทุนในการดำเนินงานเริ่มลดน้อยลง

เริ่มต้นในปี 1980s นักวิศวกรชาวญี่ปุ่นได้เริ่มผสมผสานโซลาร์เซลล์ (PV) เข้ากับการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์ด้านต่างๆ ในช่วงปลายทศวรรษ 1990s โปรเจคของรัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มผลักดันโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นครั้งแรกในปี 2009 Tsutomu Miyasaka และเพื่อนร่วมงานของเขาในญี่ปุ่นรายงานว่าการผสมผสานสารประกอบ perovskite ซึ่งเป็นตัวดูดซับแสงสำหรับการประยุกต์ใช้กับพลังงานแสงอาทิตย์ จะทำให้มันมีประสิทธิภาพสูงกว่าเทคโนโลยี PV และมันจะได้รับการยอมรับมากขึ้นและสามารถพิมพ์หรือทอเป็นผ้าได้ เป็นผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่อันดับสามของโลกโดย 45% ของโซลาร์เซลล์ในโลกถูกผลิตขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ perovskite

ด้วยการเติบโตเพิ่มขึ้นของ Bitcoin และผลพ่วงจากภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิม่าในปี 2011 รัฐบาลจึงได้มีการสนับสนุนให้แพร่กระจายพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการกระจายนี้ได้ช่วยให้การสร้างอาคารบ้านเรือนประหยัดพลังงานมากขึ้น รวมถึงรถยนต์ที่ใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลกับการกักเก็บพลังงานบางรูปแบบ เช่นเดียวกับอุปกรณ์อื่น ๆ สิ่งนี้ได้ผลักดันให้ภาคพลังงานแสงอาทิตย์ถูกริเริ่มนำมาใช้กับเทคโนโลยีบล็อกเชน ศาสตราจารย์ Umit Cali แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่าให้ความเห็นว่า

“ ในภาคพลังงานแสงอาทิตย์เทคโนโลยีบล็อคเชนแบบกระจายอำนาจจะถูกนำมาใช้ในการซื้อขายพลังงานแบบบุคคลต่อบุคคล (P2P) , การติดป้ายฉลาก , ค้นหาแหล่งพลังงาน , การลงนาม , การชำระเงิน , การชาร์จไฟฟ้า และ การซื้อขายพลังงาน ”

รายงานที่ตีพิมพ์โดย Fitch Solutions Macro Research และ Globadata สรุปว่าในทศวรรษหน้าเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายอำนาจอาจแทนที่โซลาร์เซลล์ PV โดยมันจะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตหลักในประเทศญี่ปุ่น ขณะนี้โปรเจคนำร่องการซื้อขายพลังงานแสงอาทิตย์ที่เปิดใช้งานบน blockchain ได้ถูกกำหนดตั้งค่าให้เชื่อมโยงกับแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน 100 แห่งในประเทศ ในขณะที่โปรเจคนำร่องอีกแห่งจะเข้าจัดการกับตลาดการค้าด้านพลังงานโดยใช้เทคโนโลยี blockchain เพื่อเชื่อมต่อกับแหล่งพลังงานในญี่ปุ่น เช่น การสั่งผลิตสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้าน , สำนักงาน , แบตเตอรี่ และยานพาหนะไฟฟ้า 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ home solar japan

Toyota Motor Corp กำลังเริ่มทดสอบโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า พวกเขาได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโตเกียวและร้านค้าปลีกออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทนเพื่อทดสอบการแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าแบบ peer-to-peer โดยใช้เทคโนโลยี blockchain มาช่วยให้ยานพาหนะไฟฟ้าสามารถสื่อสารกับกริดพลังงานสำหรับการซื้อขายเพื่อให้ช่วงเวลาที่มีความต้องการพลังงานสูงได้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ electric car toyota

Marubeni Corp  ของญี่ปุ่นเพิ่งได้สนับสนุนแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานบนรากฐานของบล็อกเชนที่มีชื่อว่า WePower ซึ่งช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กง่ายต่อการซื้อพลังงานจากนักพัฒนาโปรเจคพลังงานแสงอาทิตย์ โดยนำเสนอข้อตกลงการซื้อไฟฟ้าแบบดิจิทัลที่ถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้พื้นที่จัดตั้งโซล่าร์ฟาร์ม PV ถือว่าเป็นหัวข้อที่สำคัญในการพิจารณา เนื่องจากมันเป็นตัวกำหนดผลผลิต ดังนั้นญี่ปุ่นจึงมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสถานีผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ PV แห่งใหม่ทั้งในและต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นทะเล , ทะเลสาบ , ทะเลทรายและ ในอวกาศ

ญี่ปุ่นได้สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งทะเลสาบและอ่างเก็บน้ำของประเทศได้กลายเป็นแหล่งที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยในปัจจุบันญี่ปุ่นมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำครอบคลุมถึง 73 ใน 100 แห่งของโลก ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบโซลาร์บนภาคพื้นดินถึง 16%

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติของมองโกเลีย ประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีส่วนร่วมในโปรเจค “พลังงานจากทะเลทราย” รวมถึงหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ที่ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินที่ครอบคลุมจำนวนครึ่งหนึ่งของต้นทุนค่าใช้จ่าย โดย Marubeni Corp ได้สร้างฟาร์ม PV ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั่นก็คือ โปรเจคผลิตกระแสไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ Noor Abu Dhabi ในทะเลทราย Sweihan ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งมีต้นทุนการใช้จ่ายในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่ 0.024 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง

องค์การอวกาศของประเทศญี่ปุ่น (JAXA) เริ่มโครงการ SPS ในปี 2009 โดยมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งโซลาร์ฟาร์มหนึ่งกิกะวัตต์ในอวกาศที่สามารถส่งพลังงานกลับสู่โลกภายในปี 2030 โดยในปี 2015 ญี่ปุ่นได้เข้าใกล้ถึงช่วงเก็บเกี่ยวพลังงานแสงอาทิตย์จากอวกาศ เมื่อมันได้ส่งพลังงานแสงอาทิตย์ควบแน่นแปลงเป็นคลื่นไมโครเวฟส่งมาถึงเสาอากาศ ซึ่งแปลงกลับมาเป็นพลังงานได้เพียง 5% -10% สำหรับการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน  3 เครื่อง

เพื่อให้การผลิตกระแสไฟฟ้าจากอวกาศกลายเป็นพลังงานในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นพลังงานแสงอาทิตย์ที่สร้างขึ้นในอวกาศกว่า 50% จะต้องถูกส่งกลับมายังโลก JAXA ได้ออกแบบวงโคจรคล้ายว่าวที่จะเดินทางในวงโคจรต่ำของโลก (low-earth) เหนือเส้นศูนย์สูตรด้วยเสาอากาศที่โค้งไปตามพื้นผิวของโลกเพื่อเก็บสะสมพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศและส่งมันกลับมา ในปี 2010 JAXA ประสบความสำเร็จในการเปิดตัว Ikaros ซึ่งเป็นดาวเทียมรูปแบบคล้ายว่าวที่กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์โดยการแล่นผ่านห้วงอวกาศและขับเคลื่อนตัวมันเองด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ดาวเทียมขนาดเล็กนี้จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการขับเคลื่อนพลังงานประเภทนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Ikaros jaxa

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมกฎระเบียบและภาษีในประเทศญี่ปุ่น 

ญี่ปุ่นมีทรัพยากรพลังงานไม่เพียงพอและเป็นประเทศที่นำเข้าพลังงานไฮโดรคาร์บอนสูงถึง 87.4% ซึ่งญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำเข้าก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในโลกและนำเข้าน้ำมันและถ่านหินใหญ่เป็นอันดับสามของโลก

ญี่ปุ่นมีเงินอุดหนุนสำหรับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม G-7 แต่ได้รับเงินอุดหนุนจำนวนมากสำหรับการสำรวจน้ำมัน , ก๊าซและการผลิตถ่านหิน เนื่องจากความพยายามในการผลิตพลังงานเพื่อชดเชยกับสิ่งที่สูญเสียไปในวิกฤตนิวเคลียร์ของฟูกูชิม่า ซึ่งถูกถล่มโดยสึนามิโทโฮคุระดับ 9.1 ริกเตอร์ ในขณะนั้นญี่ปุ่นสั่งให้ปิดเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมด 48 เครื่องเพื่อยุติแผนการจัดหาแหล่งพลังงานที่ใช้กันกว่าครึ่งในประเทศ โดยญี่ปุ่นได้ตระหนักถึงพลังไฟฟ้ากับพลังงานนิวเคลียร์ที่ส่งผลให้มีการใช้งานเชื้อเพลิงฟอสซิลและการปล่อยก๊าซ CO2 เพิ่มขึ้น 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ tsunami tohoku japan

ญี่ปุ่นได้กำหนดให้ประชาชนในประเทศจ่ายภาษีจำนวนกว่าหลายพันล้านดอลล่าร์เพื่อสร้างโรงงานถ่านหินที่มีมลพิษสูงในประเทศและต่างประเทศ ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น MUFG และกลุ่ม SMBC พร้อมกับธนาคารอื่น ๆ รายงานว่ารัฐบาลยังคงจ่ายเงินทุนในเรื่องเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่องมูลค่ากว่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่มีการยอมรับข้อตกลงด้านภูมิอากาศของปารีส ดังนั้นญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศที่เลวร้ายที่สุดเป็นอันดับสองของโลกเมื่อพูดถึงเรื่องการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลตามรายงานของสภาป้องกันทรัพยากรทางธรรมชาติ 

ในเดือนตุลาคม 2012 ญี่ปุ่นได้ดำเนินการจัดเก็บภาษีคาร์บอนไดออกไซด์ จำนวน 289 เยน (ประมาณ 3 ดอลลาร์) ต่อตัน  โดยรัฐบาลวางแผนที่จะใช้เงินจำนวน 2 พันล้านดอลลาร์ที่ได้จากภาษีคาร์บอนเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับโปรเจคพลังงานทดแทนและการประหยัดพลังงาน ไฮโดรคาร์บอนเป็นมลภาวะทางอากาศที่นำไปสู่การใช้พลังงานทดแทน ฝุ่นและมลพิษทางอากาศอื่น ๆ ได้ทำให้การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงจาก 11.5% ไปเป็น 13% หมอกควันได้บดบังแสงแดดไม่ให้ส่งไปถึงแผงโซลาร์และหากฝุ่นเกาะบนพื้นผิวที่ราบเรียบของแผงโซลาร์มันก็จะทำให้ผลผลิตแสงอาทิตย์ลดน้อยลงไปอีกเช่นเดียวกัน 

ญี่ปุ่นยังได้เสนอนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (FIT) ในปี 2012 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ภายในประเทศ ซึ่งทำให้มันมีราคาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับยุโรป จึงส่งผลให้ราคาพลังงานแสงอาทิตย์โดยรวมทั่วโลกเปลี่ยนไปเป็น 2.4 ล้านล้านเยน (ประมาณ 2หมื่น2พันล้านดอลลาร์) ทำให้งบประมาณในปี 2019 เพียงอย่างเดียวมียอดรวมสะสมประมาณ 10 ล้านล้านเยน (เกือบ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) นับตั้งแต่มีเสนอนโยบายภาษีพลังงานในเดือนกรกฎาคม 2012 รัฐบาลได้ปรับลดราคาซื้อ FIT ลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการซื้อขายปี 2019 อยู่ที่ 14 เยน (0.13 ดอลลาร์) ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ส่งผลให้บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศมีกำไรลดลงอย่างมาก ซึ่งมีรายงานว่าตัวเลขการล้มลายของบริษัทในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นเวลาห้าปีติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 2013

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ feed-in tariff

ข้อสรุป

การอุดหนุนและการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อเชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงอยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานปี 2018 การเพิ่มขึ้นเงินทุนในโปรเจคน้ำมันและก๊าซใหม่ ในขณะที่การลงทุนในพลังงานทดแทนทุกชนิดลดลงประมาณ 2% โดยธนาคารโลกยังคงให้เงินทุนแก่อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลมากกว่าพลังงานทดแทนอย่างน้อยสามเท่า 

แม้จะมีความพยายามของรัฐมนตรีการคลังในการประชุม G-20 ที่จะโน้มน้าวให้มีการเปลี่ยนเส้นทางการลงทุนสาธารณะไปสู่พลังงานทดแทนผ่านนโยบายการคลัง และ แม้ว่าสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศรายงานว่าต้นทุนการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้ลดลงกว่า 80% ในปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินถึงสามในสี่ แต่อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

ในการประชุม G-20 ครั้งล่าสุดที่โอซาก้า ญี่ปุ่นได้กล่าวย้ำถึงการอุทิศตนต่อข้อตกลงด้านภูมิอากาศของกรุงปารีสและยุติการจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยรัฐบาลจะอุดหนุนเงินเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การกำหนดนโยบายคาร์บอนเป็นศูนย์ (zero-carbon energy) เป็นภารกิจเร่งด่วนสำหรับรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายที่จะต้องได้รับพลังงาน 44% จากพลังงานทดแทน (7% จากพลังงานแสงอาทิตย์) และพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงให้กับเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตในปี 2030 เงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญสอดคล้องไปกับการใช้พลังงานทดแทนที่เพิ่มมากขึ้น ตามการรายงานของ OECD

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ zero-carbon energy

ตามรายงานทางวิทยาศาสตร์, แผ่นดินไหว , ภูเขาไฟระเบิดและคลื่นสึนามิกลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากภาวะโลกร้อนได้เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก, ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นถล่มประเทศวนลูปซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง (ค่าเสียหายมีมูลค่า 3 แสนล้านไปจนถึง 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนี่เป็นเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ฟูกูชิม่าเพียงอย่างเดียว ซึ่งยังไม่ได้รวมกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ) 

เมื่อวันที่ 12 ส.ค. บริษัทพลังงานเทคโนโลยีของออสเตรเลียนามว่า Power Ledger และ บริษัท Kansai Electric Power ของญี่ปุ่น ได้ประกาศว่าพวกเขาเสร็จสิ้นการทดสอบระบบการแลกเปลี่ยนแบบ peer-to-peer บน blockchain สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินจาก FIT ในโอซาก้า การประกาศของพวกเขามาจากรายงานที่มุ่งเน้นว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถเข้าขัดขวางการซื้อขายพลังงานแสงอาทิตย์แบบ peer-to-peer ระหว่างประเทศได้ ตามรายงาน:

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

“ เทคโนโลยีบล็อคเชนสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีที่ลูกค้าและผู้ผลิตไฟฟ้าโต้ตอบกัน ระบบสาธารณูปโภคไฟฟ้าแบบดั้งเดิมถูกรวมเข้ากับ Blockchain สิ่งนี้อาจเข้าขัดขวางการซื้อขายโดยการให้บริการพลังงานร่วมกับระบบพลังงานแบบกระจาย ตัวอย่างเช่น ลูกค้าสามารถซื้อไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตโดยตรงจากแผงโซลาร์เซลล์ของประเทศเพื่อนบ้านแทนที่จะซื้อไฟฟ้าจากแหล่งอื่น ๆ ” 

ญี่ปุ่นมุ่งมั่นที่จะแทนที่ระบบราคาของ FIT ด้วยการเสนอราคาใหม่และแพลตฟอร์มการซื้อขายแบบ peer-to-peer จาก blockchain สำหรับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินในปี 2020 ซึ่งจะช่วยลดความไม่เท่าเทียมกันและมีราคาที่ถูกกว่า นอกจากนี้พลังงานสะอาดจะช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 และช่วยส่งเสริมการพัฒนาระบบดิจิทัลในญี่ปุ่นและทั่วโลก

ที่มา : cointelegraph

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น