<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ยุคของสกุลเงินดิจิทัลประจำประเทศต่าง ๆ นั้นใกล้จะมาถึงแล้ว

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในขณะที่เหล่าผู้ร่างกฎหมายทั่วโลกต่างกำลังถ่วงเวลาในการอนุมัติให้ Libra เริ่มดำเนินการได้ เหล่าธนาคารกลางของหลายประเทศต่างก็กำลังพยายามแข่งขันกันในการออกสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง และดูเหมือนว่าท่ามกลางเวทีการแข่งขันนี้ มหาอำนาจในเอเชียอย่างประเทศจีนนั้นได้รับการคาดหวังว่าเป็นรายแรกที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมีที่มาจากความพยายามในการลดบทบาทของสกุลเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจโลกลงรวมทั้งเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศนั่นเอง

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการดำเนินการปล่อยเงินสกุลหยวนในรูปแบบดิจิทัลออกมา ประเทศที่เล็กกว่าอย่างประเทศตูนีเซีย หรือประเทศหมู่เกาะเช่นหมู่เกาะมาแชล รวมทั้งประเทศขนาดเล็กอื่นๆ ได้เริ่มต้นดำเนินการทดสอบสกุลเงินดิจิทัลของพวกเขาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวยังเป็นกรณีศึกษาให้แก่กลุ่มประเทศที่มีการความรัดกุมทางด้านกฎเกณฑ์สูงอย่างสหภาพยุโรปสำหรับการวิจัยของพวกเขาก่อนที่จะมีการเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลสำหรับสหภาพอีกด้วย 

การแข่งขันในตลาดเปรียบเสมือนการแข่งม้า

ในช่วงสัปดาห์ก่อน ประเทศตูนีเซียซึ่งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตอนเหนือนั้นได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการถึงสกุลเงินดิจิทัลของพวกเขาในชื่อ “E-dinar” โดยมาจากสกุลเงิน dinar ซึ่งใช้ในประเทศนั่นเอง โดยสกุลเงินดังกล่าวได้อยู่ในระหว่างช่วงของการทดสอบจริงและจะถูกนำไปใช้ในการดำเนินธุรกรรมการชำระเงินในธุรกิจต่างๆ เช่น ร้านค้าชั้นนำ คาเฟ่ และร้านอาหารต่างๆ ทั่วประเทศในเร็วๆ นี้ 

โครงการดังกล่าวของประเทศตูนีเซียนั้นได้รับการสนับสนุนจากบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติรัซเซียซึ่งดำเนินการด้าน ICO ในชื่อบริษัท Universa โดยมีเหตุผลเบื้องหลังคือการที่ประเทศต้องการลดการพึ่งพาสกุลเงินหลักอย่างดอลลาร์สหรัฐฯสำหรับการดำเนินธุรกรรมระหว่างประเทศลง รวมทั้งการลดภาระด้านต้นทุนด้านการคลัง และการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันการปลอมแปลงเงินตราอีกด้วย 

นาย Alexander Borodich ผู้บริหารของบริษัท Universa ได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า

“สกุลเงินดิจิทัลนั้นไม่สามารถถูกปลอมแปลงได้ โดยเงินดิจิทัลนั้นถูกเข้ารหัสไว้โดยเฉพาะเช่นเดียวกับสกุลเงินคริปโตอื่นๆ ซึ่งแต่ละหลักนั้นมีลายน้ำหรือลักษณะของรหัสข้อมูลที่มีความเฉพาะตัวเช่นเดียวกับที่มีในธนบัตรแต่ละใบนั่นเอง นอกจากนี้ต้นทุนในด้านการผลิตเงินดิจิทัลนั้นยังถูกกว่าการจัดพิมพ์ธนบัตรแบบดั้งเดิมกว่าร้อยเท่า ซึ่งสิ้นเปลืองทรัพยากรมากกว่าจากการใช้หมึก กระดาษ และกระแสไฟฟ้าในระหว่างขั้นตอนการผลิต”

ดังนั้นแล้วในขณะนี้ ประเทศตูนีเซียจึงเป็นประเทศแรกที่ดำเนินการนำสกุลเงินดิจิทัลมาใช้จริงเป็นประเทศแรกนั่นเอง อย่างไรก็ตามประเทศอื่นๆก็ต่างได้เริ่มที่จะประกาศถึงการดำเนินการอย่างเป็นทางการตามมาหลักจากนั้นไม่นานเช่นเดียวกัน

หมู่เกาะมาแชลซึ่งอยู่ในพื้นที่ระหว่างฮาวายและประเทศฟิลิปปินส์ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆ นี้ถึงการเปิดจำหน่ายสกุลเงินดิจิทัลของประเทศโดยมีสิ่งที่น่าสนใจคือการที่สกุลเงินดิจิทัลดังกล่าวนั้นจะเป็นเงินตราซึ่งชำระหนี้ได้ตามกฎหมายเป็นครั้งแรกของประเทศซึ่งจะส่งผลให้ประเทศหมู่เกาะมาแชลนั้นไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกต่อไป

นอกจากนี้แล้วประเทศขนาดเล็กอื่นๆ อย่างเช่นในพื้นที่แถบทะเลแคริเบียน ประเทศหมู่เกาะอย่าง St. Kitts and Nevis นั้นยังได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลางของตัวเองแล้วโดยจะนำมาใช้ในพื้นที่ซึ่งใช้สกุลเงินของสหภาพแคริเบียนฝั่งตะวันออกนั่นเอง

อย่างไรก็ตามแม้สกุลเงินหยวนในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัลนั้นจะยังไม่ถูกประกาศใช้จริง แต่ทางประเทศจีนก็ได้มีการดำเนินการเกณฑ์เหล่าผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเพื่อเข้าร่วมในโครงการดังกล่าว โดยล่าสุดนั้นเชื่อว่าโครงการได้อยู่ในระยะสุดท้ายก่อนการใช้งานจริงแล้ว ทั้งนี้รองผู้บริหารธนาคารกลางของประเทศจีนอย่างนาย Mu Changchun ได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวว่าสกุลเงินของพวกเขาจะเป็นแรงผลักดันชั้นดีให้แก่การแข่งขันในตลาดท่ามกลางเหล่าธนาคารกลางและองค์กรต่างๆ เพื่อให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดออกมาได้

เสียงตอบรับจากมหาอำนาจตะวันตก

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา องค์กรความร่วมมือระหว่างธนาคารภายในประเทศเยอรมันนีได้เผยแพร่ร่างเอกสารในการเรียกร้องให้มีการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลซึ่งสามารถใส่ชุดคำสั่งลงไปได้เช่นเดียวกับสกุลเงินคริปโตสำหรับสกุลเงินยูโรซึ่งอาจเป็นการวางรากฐานไปสู่ระบบการชำระเงินสำหรับภูมิภาคยุโรปทั้งหมดได้ โดยการดำเนินการดังกล่าวนั้นจะทำให้การดำเนินธุรกรรมนั้นมีความรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากการดำเนินการบนชุดคำสั่งที่ใส่ไว้บนสกุลเงินเช่นเดียวกับ Smart Contract ได้อีกด้วย โดยส่วนหนึ่งของร่างเอกสารดังกล่าวระบุว่า

“ภูมิภาคยุโรปนั้นควรที่จะเข้าแข่งขันในตลาดนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สถาปัตยกรรมทางการเงินในระดับโลกนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่บีบให้เหลือทางเลือกเพียงระหว่างฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกาและฝั่งประเทศจีนเท่านั้น”

ทางธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศซึ่งทำหน้าที่เสมือนธนาคารกลางระหว่างเหล่าธนาคารกลางของนานาประเทศนั้นยังได้ดำเนินการแต่งตั้งนาย Benoît Cœuré ซึ่งเป็นอดีตสมาชิกของธนาคารกลางประจำสหภาพยุโรป เป็นหัวหน้าโครงการซึ่งให้การสนับสนุนสกุลเงินดิจิทัลอีกด้วย 

นอกจากนี้ในช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายรายได้แสดงการสนับสนุนให้มีการดำเนินการสร้างสกุลเงินดอลลาร์ในรูปแบบดิจิทัล อีกทั้งเหล่าสมาชิกสภาของสหรัฐฯ ยังได้มีการร่วมส่งข้อเรียกร้องให้แก่นาย Jerome Powell ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บริหารกองทุนสำรองของสหรัฐฯ เพื่อแสดงถึงความกังวลว่าการใช้ธนบัตรสกุลเงินดอลลาร์ในระยะยาวอาจตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเสียหายจากการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลในวงกว้างก็เป็นได้

เหล่ามหาอำนาจต่างๆในเวทีโลกรวมถึงเหล่าผู้ริเริ่มใช้งานสกุลเงินดิจิทัลต่างก็ได้มีการทำการวิจัยรวมทั้งสร้างต้นแบบสกุลเงินดิจิทัลของตนเอง โดยทางประเทศอย่างรัสเซีย แคนนาดา และสหราชอาณาจักรนั้นได้มีการเผยแพร่เอกสารอย่างเป็นทางการถึงทิศทางการดำเนินการของสกุลเงินดิจิทัลด้านต่างๆ ที่สามารถเป็นไปได้ นอกจากนี้แล้วทางฮ่องกงและประเทศไทยยังได้ประกาศถึงแผนการเผยแพร่รายงานกรณีศึกษาการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 อีกด้วย 

แม้ว่าสกุลเงินดิจิทัลเหล่านี้นั้นจะไม่ได้อยู่บนฐานของเทคโนโลยี Blockchain ทั้งหมด แต่ก็ได้มีการนำลักษณะสำคัญของเหล่าสกุลเงินคริปโตต่างๆเช่น Bitcoin มาใช้งาน ทั้งนี้ความเห็นและเสียงตอบรับต่อสกุลเงินดิจิทัลนั้นต่างแสดงถึงความกังวลว่าสกุลเงินดังกล่าวนั้นจะยังคงมีข้อเสียเช่นเดียวกับสกุลเงินปกติคือความเสี่ยงต่อการเกิดอัตราเงินเฟ้อ การลดทอนของมูลค่า รวมทั้งความผันผวนของมูลค่านั่นเอง อีกบางส่วนยังได้แสดงความเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวนั้นจะนำไปสู่การสอดแนมโดยรัฐบาลที่เข้มงวดขึ้นก็เป็นได้

ที่มา: Bravenewcoin

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น