<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

CEO Twitter นาย Jack Dorsey วางแผนนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้กับแพลตฟอร์มของตน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

นาย Jack Dorsey ผู้บริหารของบริษัททวิตเตอร์ได้ออกมากล่าวผ่านทางบัญชีทวิตเตอร์ของเขาถึงความต้องการที่จะสร้างมาตรฐานสำคัญสำหรับแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียที่มีความอิสระจากการถูกรวมการควบคุมไว้ที่ส่วนกลางเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยเป้าหมายสูงสุดนั้นคือการที่แพลตฟอร์มของบริษัทตนนั้นสามารถดำเนินการตามมาตรฐานดังกล่าวได้ โดยตัวเขาได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า

“ทางบริษัททวิตเตอร์นั้นกำลังดำเนินให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ทีมนักพัฒนาอิสระที่รวมทั้งเหล่านักสถาปัตยกรรมด้านโปรแกรมแบบ open source วิศวกร และนักออกแบบอยู่ในทีม เพื่อพัฒนามาตรฐานสำหรับแพลตฟอร์มที่ดำเนินการอย่างอิสระจากการควบคุมโดยส่วนกลางและสามารถเปิดให้เหล่านักพัฒนาอื่น ๆ เข้าร่วมในการพัฒนาและใช้งานมาตรฐานดังกล่าวได้ ซึ่งเป้าหมายของการดำเนินการดังกล่าวนั้นคือการที่ทางบริษัทนั้นกลายเป็นลูกค้าผู้ใช้งานมาตรฐานดังกล่าวด้วยนั่นเอง”

ทั้งนี้นาย Parag Agrawal ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัทจะทำหน้าที่เป็นผู้นำของทีมดังกล่าวซึ่งมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า “Bluesky” 

นาย Dorsey ยังได้ออกมากล่าวถึงปัญที่เกิดขึ้นกับระบบซึ่งอาศัยการควบคุมการดำเนินการโดยส่วนควบคุมกลางที่แพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียได้ใช้งานอยู่ในปัจจุบันอย่างเช่นปัญหาการจัดการข้อมูลซึ่งมีท่าทีชวนเชื่อ และชักจูงผู้บริโภคข่าวไปในทิศทางต่าง ๆ โดยตัวเค้าได้กล่าวว่าได้มีบัญชีบนแพลตฟอร์มหลายบัญชีซึ่งเผยแพร่และทำการสนับสนุนข้อมูลข่าวสารที่จะเป็นที่นิยมสนใจมากกว่าข้อมูลหรือการสื่อสารที่มีประโยชน์ โดยตัวอย่างดังกล่าวน่าจะเป็นการสรุปปัญหาโดยย่อของสิ่งที่เกิดขึ้นกับแพลตฟอร์มเว็บไซต์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ หรือสิ่งที่เรียกว่า Web2 

นอกจากนี้ตัวเขายังได้มุ่งเป้าไปที่หลักการพื้นฐานของความเป็นอิสระจากการดำเนินการซึ่งอาศัยส่วนควบคุมกลางเพียงอย่างเดียว (Decentralization) รวมทั้งเทคโนโลยีสำคัญที่เกี่ยวข้องอย่าง Blockchain ในฐานะเครื่องมือที่จะนำมาแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวนั้นจะเป็นส่วนสำคัญสำหรับการสร้างแพลตฟอร์มเว็บไซต์รุ่นต่อไปหรือที่เรียกว่า Web3 โดยนาย Dorsey ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า

“ในที่สุดเทคโนโลยีใหม่ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเข้ามาทำให้การดำเนินการแบบอิสระจากการควบคุมโดยส่วนควบคุมกลาวนั้นสามารถเป็นไปได้ โดยเทคโนโลยี Blockchain นั้นได้แสดงให้เห็นถึงช่องทางสำหรับการแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น การเป็นแม่งานสำหรับการดำเนินการต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ การบริหารจัดการควบคุมระบบ รวมทั้งการบริหารจัดการสร้างมูลค่าทางด้านการเงิน โดยมีคุณสมบัติของความเป็นอิสระดังกล่าวและประสิทธิภาพของการดำเนินการที่มากขึ้น รวมทั้งยังเปิดให้บุคคลภายนอกสามารถใช้งานและร่วมกันพัฒนาได้อีกด้วย และแม้ว่ายังต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมอีกมากก็ตาม แต่เทคโนโลยีดังกล่าวก็ได้ปูทางให้เราเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”

“ทั้งนี้ยังมีอุปสรรคอีกมากระหว่างทางก่อนที่ทางทวิตเตอร์นั้นจะพร้อมที่จะนำมาตรฐานดังกล่าวไปใช้งาน ดังนั้นแล้วสิ่งนี้จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้การดำเนินการนั้นต้องมีความโปร่งใส อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวนั้นยังไม่ควรที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะอีกด้วย เพื่อเป็นการผลักดันและสนับสนุนหลักการสำหรับการมีอินเทอร์เน็ตที่เปิดกว้างให้กับทุกคนและปราศจากการควบคุมจากส่วนควบคุมกลางนั่นเอง”

ในที่สุดแล้ว นาย Dorsey ก็ได้แสดงถึงความหวังว่าการดำเนินการดังกล่าวนั้นจะนำไปสู่อะไรที่มากกว่าการสร้างมาตรฐานที่เปิดกว้างให้แก่บุคคลทั่วไปสำหรับแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียที่มีความเป็นอิสระดังกล่าว โดยตัวเขาหวังว่ามันจะเป็นการสร้างกลุ่มสังคมแวดล้อมการดำเนินการดังกล่าวไปด้วยพร้อม ๆ กัน แม้ว่ามันจะต้องใช้เวลาหลายปีก็ตาม

แพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียแบบใหม่นี้จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้จริงหรือ?

แนวทางสำหรับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแพลตฟอร์มในปัจจุบันโดยอาศัยเทคโนโลยีสำหรับ Web3 อย่างเช่น การนำ Blockchain มาใช้งานนั้นมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน โดยหนึ่งในปัญหาที่เกิดขึ้นคือการที่แพลตฟอร์มแบบเดิมนี้สามารถควบคุมการเข้าถึงข้อมูลโดยผู้ใช้งานได้มากเกินไปโดยอาศัยอัลกอริทึ่มจากส่วนควบคุมกลางในการพิจารณาว่าเนื้อหาใดควรได้รับการเปิดเผย ซึ่งการดำเนินการแบบนี้ได้รับการวิจารณ์อย่างมากถึงการนำเสนอเนื้อหาด้านใดด้านหนึ่งอย่างสุดโต่งเกินไป ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้เกิดแก่บริษัทอย่าง Facebook และ Google นั่นเอง

แต่ด้วยแพลตฟอร์มรูปแบบใหม่นี้ซึ่งจะไม่มีการควบคุมสั่งการจากส่วนกลางรวมทั้งการควบคุมโดยกลุ่มคนกลุ่มใดโดยเฉพาะในการตัดสินว่าเนื้อหาใดควรเปิดให้ใครเข้าถึงได้บ้าง โดยหากเครือข่ายจะมีการนำอัลกอริทึ่มมาใช้งานสำหรับการจัดการเนื้อหานั้น จะเป็นอัลกอริทึ่มซึ่งเปิดให้แก่สาธารณะ เป็นการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมให้แก่ข่าวต่าง ๆ ในการเข้าถึงผู้ชมบนแพลตฟอร์มอีกด้วย

นอกจากนี้แล้วยังมีปัญหาว่าด้วยข้อมูลส่วนบุคคลอีก โดยแพลตฟอร์มรูปแบบใหม่นี้ได้มาพร้อมกับความหวังที่ว่าผู้ใช้งานจะสามารถควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถตัดสินใจในการเปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ได้อย่างเด็ดขาดอีักด้วย ซึ่งหลักการดำเนินการดังกล่าวนั้นเป็นการสวนทางกับการดำเนินการสร้างมูลค่าจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยการดำเนินการบนหลักการดังกล่าวนั้นได้เกิดขึ้นแล้วกับการดำเนินธุรกรรมบนระบบ Blockchain ซึ่งช่วยเพิ่มการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่ผู้ใช้มากขึ้นได้นั่นเอง

อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดคำถามที่ตามมาคือ ใครจะเป็นคนพัฒนาแพลตฟอร์มรูปแบบใหม่นี้? อีกทั้งพวกเขาจะใช้วิธีไหนในการสร้างรายได้จากแพลตฟอร์มแบบใหม่นี้กันแน่?

ทั้งนี้การดำเนินการของทีมนักพัฒนาหลายทีมในวงการคริปโตนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นโครงการที่ไม่ได้มุ่งที่จะสร้างผลกำไร ซึ่งบางทีมนั้นเพียงต้องการที่จะสร้างเทคโนโลยีที่มีความเป็นอิสระจากการควบคุมโดยส่วนกลางเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เกิดขึ้นในสังคมเท่านั้น แต่สำหรับฝั่งของกลุ่มคนที่ต้องการสร้างรายได้นั้น การมาถึงของเทคโนโลยี Blockchain นั้นเป็นการอำนวยความสะดวกให้การดำเนินธุรกรรมทางระบบดิจิทัลนั้นสามารถรวมเข้ากับแอพลิเคชั่นซึ่งเป็นมีคุณสมบัติของความเป็นอิสระดังกล่าวได้ ตัวอย่างเช่น การที่แพลตฟอร์มทวิตเตอร์นั้นก้าวเข้าไปสู่มาตรฐานใหม่นั้นจะเป็นการเปิดโอกาสสำหรับการดำเนินการสร้างมูลค่าเพิ่มเติมได้อีกนั่นเอง

อีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญาขึ้นกับ Web2 นั้นคือการที่ข้อมูลเนื้อหาส่วนใหญ่บนโลกอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเพื่อที่จะเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ โดยการจ่ายเงินเล็กน้อยบางส่วนสำหรับการเปิดเผยเนื้อหาบางชนิดนั้นก็เป็นเพียงการสนับสนุนให้ผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตสร้างข้อมูลเนื้อหาที่มีคุณค่ามากขึ้นนั่นเอง

อีกทั้งในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี้ นาย David Waterhouse ผู้บริหารของบริษัท Orchid ได้กล่าวว่า

“คุณสามารถที่จะเถียงได้ว่าสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ เช่นสแปม ซึ่งกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นเพราะเนื้อหาต่าง ๆ นั้นสามารถถูกเข้าถึงได้อย่างฟรี ๆ ใช่ไหม? ซึ่งจริง ๆ แล้วหากคุณต้องจ่ายเงินเพื่อที่จะส่งอีเมลแล้วล่ะก็ พวกสแปมเหล่านี้ก็คงจะไม่เกิดขึ้น”

นอกจากนี้แล้วแอพลิเคชั่นซึ่งมีการควบคุมโดยส่วนควบคุมกลางนั้นยังได้มีการใช้งานเทคโนโลยีที่มีความเป็นอิสระดังกล่าวเช่น Blockchain เข้าช่วยเพิ่มเนื้อหาที่มีประโยชน์บนแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น หนึ่งในแพลตฟอร์มที่ชื่อ Pepo นั้นเมื่อคุณกดปุ่มถูกใจเนื้อหาใด ๆ จะเป็นการทำธุรกรรมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้สร้างเนื้อหานั้น ๆ ในฐานะเป็นรางวัลสำหรับการสร้างเนื้อหาดี ๆ ขึ้น ดังนั้นแล้วการดำเนินการซึ่งนาย Dorsey ได้ตั้งความหวังไว้นั้นอาจยังมีอีกหลายสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้จากเทคโนโลยีดัวกล่าวอีกด้วย

ในความเป็นจริงแล้วแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ซึ่งเป็นอิสระจากการถูกควบคุมโดยส่วนกลางนั้นได้เคยถูกสร้างขึ้นแล้วครั้งหนึ่งในชื่อ Peepth ซึ่งดำเนินการอยู่บนระบบเครือข่าย Blockchain ของ Ethereum อย่างไรก็ตามนอกจากผู้คนภายในวงการ Ethereum ผู้ก่อตั้งอย่าง Vitalik Buterin ที่ใช้งานแล้ว แพลตฟอร์มดังกล่าวนั้นก็ไม่ได้รับความสนใจมากเท่าไหร่นัก ซึ่งกรณีอาจเปลี่ยนไปสำหรับแพลตฟอร์มของนาย Dorsey ก็เป็นได้ 

ที่มา : Decrypt

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น